อาหารลดไขมันในเลือด คนไขมันในเลือดสูงห้ามกินอะไรบ้าง

อาหารลดไขมันในเลือด คนไขมันในเลือดสูงห้ามกินอะไรบ้าง

อาหารลดไขมันในเลือดได้เพียงแค่เราเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมการกิน ซึ่งหลายๆคนอาจไม่เคยสังเกตุตัวเองอาจจะเนื่องจากความเคยชิน ความเร่งรีบ จึงไม่ได้ใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหารเท่าที่ควร บวกกับไม่เคยตรวจไขมันในเลือดเลย รู้ตัวอีกทีไขมันในเลือดก็สูงทะลุเพดานไปแล้ว วันนี้อินทัชเมดิแคร์เลยเอาเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารลดไขมันในเลือด มาฝากกันค่ะ จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย 

หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาหารลดไขมันในเลือด


ปริมาณไขมันที่ควรได้รับต่อวันคือเท่าไหร่?

ปริมาณไขมันและน้ำมันที่ควรได้รับในแต่ละวันไม่ควรรับประทานเกิน 6 ช้อนชา (30 มิลลิลิตร) หากร่างกายของเรามีการรับประทานไขมันที่มาเกินไปทำให้เราเสี่ยงเกิดโรคอ้วนได้ โดยทางสำนักโภชนาการ ได้กำหนดไว้ว่าในแต่ละช่วงวัยควรบริโภคไขมันต่อวัน ดังนี้

การบริโภคน้ำมันและการรับประทานอาหารลดไขมันในเลือด
  • เด็กทารกแรกเกิด-เดือน ควรบริโภคน้ำนมแม่ ประมาณร้อยละ 40-60 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน

  • เด็กทารก 6-11 เดือน ควรบริโภคไขมันในปริมาณร้อยละ 35-40 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน

  • เด็กอายุ 1-2 ปี ควรบริโภคไขมันในปริมาณร้อยละ 35-40 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน

  • เด็กอายุ 2-8 ปี ควรบริโภคไขมันในปริมาณร้อยละ 25-35 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน

  • เด็กวัยรุ่น 9-18 ปี ควรบริโภคไขมันในปริมาณร้อยละ 25-35 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน

  • ผู้ใหญ่ สตรีมีครรภ์ ผู้ให้นมบุตร และผู้สูงอายุ ควรบริโภคไขมันในปริมาณร้อยละ 20-35 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน


การเลือกอาหารลดไขมันในเลือด โดยคำนึงถึงคำโฆษณาบนฉลาก

หากสังเกตุที่ฉลากของอาหารแต่ละประเภทเรามักจะพบคำโฆษณาข้างฉลาก เช่น นมไขมันต่ำ แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคำเหล่านั้นสามารถบริโภคได้มากหรือน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้นก่อนจะพลาดเราลองมาเช็คกันดีกว่าว่าความหมายจริงๆของคำโฆษณาเหล่านั้นมันคือออะไร เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลือกอาหารลดไขมันในเลือด

1. พลังงานต่ำ (Low Calorie)

คือ มีการให้ปริมาณของพลังงานที่มากกว่า 40 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 หน่วยบริโภค หรือก็คือคุณสามารถบริโภคได้ไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

2. ปราศจากพลังงาน (Calorie Free)

คือ มีการให้ปริมาณของพลังงานที่น้อยกว่า 5 กิโลแคลอรี่ ต่อ 1 หน่วยบริโภค ไม่ใช่ไม่ได้รับพลังงานเลย

อาหารปราศจากไขมัน (Fat Free)

3. เป็นแหล่งของโปรตีน (Source of protien)

คือ มีปริมาณของโปรตีนที่ไม่น้อยกว่า 5 กรัม ต่อ 1 หน่วยบริโภค

4. โปรตีนสูง (High Protein)

คือ มีปริมาณของโปรตีนไม่น้อยไปกว่า 10 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค

5. ปราศจากไขมัน (Fat free)

คือ มีไขมันที่น้อยกว่า 0.5 กรัม ต่อหน่วยบริโภค ซึ่งก็หมายความว่ายังมีไขมันอยู่นั่นเอง เวลาที่จะบริโภคก็ต้องระวังนิดนึง

6. ปราศจากไขมันอิ่มตัว (Saturated fat free)

คือ มีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 3 กรัมต่อ 1 หน่วย บริโภค

นมไขมันต่ำ

7. ลดไขมัน (Reduced fat or less fat)

คือ มีไขมันลดลงอย่างน้อย 25% ต่อ 1 หน่วยบริโภค

8. ไขมันต่ำ (Low fat)

คือ มีไขมันน้อยกว่า 3 กรัม ต่อหน่วยบริโภค หรือก็คือควรบริโภคไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ ( 30 กรัม)

9. ปราศจากคอลเรสเตอรอล (Cholesterol free)

คือ มีคอเลสเตอรอลน้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค อันนี้ต้องระวังเช่นกันเพราะว่ายังคงมีคอเรสเตอรอล

10. ลดคอเรสเตอรอล (Reduced or less cholesterol)

คือ มีคอเลสเตอรอลที่ลดลงอย่างน้อย 25% ต่อ 1 หน่วยบริโภค (โดยเทียบกับอาหารที่ทำการอ้างอิง)

11. คอลเรสเตอรอลต่ำ (Low cholesterol)

คือ มีคอเลสเตอรอลน้อยกว่า 20 มิลลิกรัม ต่อ 1 หน่วยบริโภค หรือไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)


ไขมันทรานส์ คืออะไร?

ไขมันทรานส์ (Trans fat) คือ ไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งไขมันชนิดนี้สามารถพบได้จากทางธรรมชาติ และผ่านกรรมวิธีการเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) เข้าไปในน้ำมันบางส่วนซึ่งของชนิดนั้นก็จะมีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งของเหลว เพื่อให้หน้าตาของอาหารดูดีขึ้นหรือยืดอายุของอาหาร อาหารที่เป็นไขมันทรานส์ เช่น เนย นมข้นหวาน มาการีน เป็นต้น ซึ่งการเลือกทานอาหารลดไขมันในเลือด ควรคำนึงถึงไขมันทรานส์ด้วยเพราะเป็นตัวการอีกตัวที่ทำให้ค่าไขมันร้ายสูงขึ้น

ไขมันทรานส์มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร?

ไขมันทรานส์มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร?

  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์มากๆสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และโรคเส้นเลือดอุดตันในสมอง

  • หากทานมากไปจะเป็นลดไขมันดี (HDL) แล้วยังไปเพิ่มไขมันร้าย (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ให้มากขึ้น

  • ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคอ้วน เนื่องจากน้ำหนักที่มากขึ้นและการสะสมของไขมัน และโรคมะเร็ง

ตรวจไขมันในเลือด (Lipid Profile) ทักแชท

อาหารที่มีไขมันทรานส์

ปัจจุบันอาหารที่เรารับประทานนั้นแฝงไปด้วยไขมันทรานส์นั้นมีอยู่มากมาย โดยเฉพาะในขนมขบเคี้ยวที่ยิ่งรับประทานก็ยิ่งหยุดไม่ได้ รู้ตัวอีกทีไขมันร้ายก็พุ่งสูงขึ้นไปแล้ว ซึ่งอาหารที่พบไขมันทรานส์ได้บ่อย ได้แก่

  • มาร์การีน เนยขาว ครีม ครีมเทียม และครีมเทียมข้นหวาน

  • ขนมหวานเบเกอรี่ เช่น เค้ก แยมโรล โดนัท คุ้กกี้ พาย บราวนี่ ขนมปังเนยสด

  • อาหารฟาสฟู้ด เช่น ไก่ทอด เฟรนซ์ฟรายด์ แฮมเบอร์เกอร์

  • ในเนื้อวัวก็สามารถพบไขมันทรานส์ได้บ้างเช่นกัน ซึ่งจะเป็นไขมันทรานส์จากธรรมชาติ รวมไปถึงในนมด้วย


การกินอาหารลดไขมันในเลือดต้องเริ่มยังไง?

เราสามารถเริ่มต้นโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินทีละเล็กทีละน้อย โดยการเลือกรับประทานอาหารลดไขมันในเลือดโดยการเพิ่มความระมัดระวังในการรับประทานอาหารดังนี้

กะทิมีไขมันอิ่มตัวสูง

1. ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกะทิ เนื่องจากกะทิเป็นไขมันอิ่มตัว หากทานมากไปไขมันร้ายในร่างกายอาจมีจำนวนที่สูงขึ้นนั่นเอง ซึ่งปริมาณที่ควรบริโภคต่อวันควรไม่เกิน 65 กรัมต่อวัน

2. บริโภทเนื้อสัตว์โดยหลีกเลี่ยงการรับประทานในส่วนที่ติดหนัง หรือติดมัน ซึ่งหากรับประทานมากไปอาจทำให้ไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้

3. การใช้น้ำมันประกอบอาหารควรหลีกเลี่ยงน้ำมัน 3 ประเภท คือ น้ำมันปาล์ม น้ำมันจากไขมันสัตว์ และน้ำมันมะพร้าว แนะนำให้เลือกใช้เป็นน้ำมันรำข้าวแทนซึ่งในน้ำมันรำข้าวนั้นมีไขมันดีอยู่

การเลือกอาหารลดไขมันในเลือด

4. เน้นรับประทานอาหารที่ผ่านวิธีการปรุง ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ย่าง และหลีกเลี่ยงของผัดของทอดที่เป็นเมนูสะสมน้ำมัน

5. ควรอ่านฉลากสินค้าก่อนซื้อเพื่อเช็คส่วนประกอบทุกครั้ง

6. สถาบันการแพทย์ของสหรัฐอเมริกาได้แนะนำว่าควรบริโภคไขมันทรานส์น้อยกว่า 1% ของพลังงานที่ต้องการทั้งหมด (อ้างอิง : ไขมัน, ศูนย์เบาหวานศิริราช)


ไขมันในเลือดสูง ห้ามกินอะไรบ้าง

การกินอาหารลดไขมันในเลือดนอกจากจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่กินได้แล้ว ยังควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ควรกินด้วยเช่นกัน เพราะไม่อย่างนั้นต่อให้พยายามลดแค่ไหนไขมันก็มีโอกาสที่ไขมันในเลือดจะเพิ่มขึ้นมาอีก ซึ่งอาหารที่เป็นศัตรูกับคนที่มีไขมันในเลือดสูง ได้แก่

กินอาหารลดไขมันในเลือดควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อแดง

1. เนื้อแดง

เพราะในเนื้อหมู เนื้อวัว นั้นจะมีไขมันอิ่มตัวสูง และในเนื้อนั้นยังมีพวกไขมันที่แทรกอยู่แล้วด้วย ทางที่ดีหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรรับประทานแต่พอดี ซึ่งไม่ควรเกิน 85 กรัม โดยเลือกรับประทานในส่วนที่บางและย่อยได้ง่าย เช่น เนื้อในส่วนสันนอก หรือสันใน

ผู้มีไขมันในเลือดสูงควรระวังการรับประทานโบโลน่าและเนื้อสัตว์แปรรูป

2. เนื้อสัตว์แปรรูป

ไม่ว่าจะเป็นแฮม เบคอน ไส้กรอก แหนม โบโลน่า ไส้อั่ว ของพวกนี้ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากเนื้อแดง ซึ่งตามที่กล่าวมาในเนื้อแดงนั้นก็มีไขมันอิ่มตัวสูงอยู่แล้วด้วย

อาหารทอด

3. ของทอด

หากพูดถึงอาหารที่เรียกไขมัน ของทอดถือเป็นเมนูอันดับต้นๆเลยเพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าเมนูของทอดนั้นอุดมไปด้วยน้ำมัน ซึ่งเป็นตัวเพิ่มคอเรสเตอรอลชั้นดี แถมยังไปเพิ่มแคลอรี่ภายในอาหารอีกต่างหาก แต่หากอยากกินของทอดจริงๆควรปรุงอาหารในหม้อทอดไร้น้ำมันแทน

ขนมอบ ขนมเค้ก

4. ขนมอบ

พวกขนมอบต่างๆ เบเกอรี่ เค้ก ของหวาน นั้นมีหลายเมนูที่ใช้เนย หรือมาการีน เป็นส่วนประกอบซึ่งนอกจากจะมีไขมันทรานส์แล้วยังมีคอเรสเตอรอลสูงอีกด้วย

หอย อาหารทะเลที่มีคอเรสเตอรอลสูง

5. อาหารทะเลบางชนิด

คุณยังสามารรับประทานประทานเนื้อปลาได้บางชนิด แต่สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือของมันๆ อย่างหัวกุ้ง มันปู ไข่ปู รวมไปถึงหอยและหมึกที่มีคอลเรสเตอรอลสูง

การรับประทานไข่ในผู้ที่ไขมันในเลือดสูง

6. ไขมันในเลือดสูงกินไข่ได้ไหม?

สามารถรับประทานได้แต่ไม่ควรรับประทานไขเกิน 4-5 ฟอง/อาทิตย์ และอาจหลีกเลี่ยงการรับประทานไขแดง เพราะเป็นส่วนที่มีคอเรสเตอรอลสูง (ในไข่แดง 1 กรัม มีคอเลสเตอรอล 1,085 มิลลิกรัม)


อาหารเป็นเพียงหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้น เพราะฉะนั้นหากต้องการให้ตัวของคุณเองอยู่ห่างไกลจากความเสี่ยงก็อย่าลืมหมั่นดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และอย่าลืมมาตรวจสุขภาพประจำปีและตรวจไขมันในเลือดโดยเฉพาะคนที่ตรวจพบว่ามีไขมันสูง เพื่อป้องกันตัวเองจากโรคแทรกซ้อน


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโด อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
 แก้ไขล่าสุด : 11/12/2023

page counter


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้