โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเป็นเบาหวานหรือผู้ที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควรมาตรวจประจำปี ปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และรับคำปรึกษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจเบาหวานที่ควรทราบ
- โรคเบาหวานส่งผลยังไงกับร่ายกาย
- ทำไมต้องตรวจสุขภาพโรคเบาหวาน
- โปรแกรมตรวจเบาหวาน ตรวจอะไรบ้าง
- ราคาโปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวาน
- ความถี่ในการตรวจสุขภาพเมื่อเป็นเบาหวาน
- การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
โรคเบาหวานส่งผลยังไงกับร่ายกาย
- ภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดชนิด macrovascular เกิดจากภาวะโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)
- ภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดชนิด microvascular เป็นการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดขนาดเล็ก เกิดกับอวัยวะ 3 ระบบ คือ ตา (บริเวณจอประสาทตา), ไต ทำให้เกิดไตเสื่อมหรือไตวาย และระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral neuropathy)
- แผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวาน (aiabetic foot ulcers) แผลที่เท้าเป็นสิ่งที่สำคัญในผู้เป็นเบาหวานเพราะอาจลุกลามจนทำให้สูญเสียนิ้วเท้าหรือขาได้
ทำไมต้องตรวจสุขภาพโรคเบาหวาน
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานแล้ว เมื่อมาตรวจโปรแกรมตรวจเบาหวานเป็นประจำจะช่วยให้แพทย์มีแนวทางในการให้ยารักษา การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี การควบคุมเรื่องการกินอาหารและการออกกำลังกาย
ที่สำคัญชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังได้ เช่น ตามัว เบาหวานขึ้นตา การเกิดแผลที่เท้า เป็นต้น และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงกับคนปกติ
โปรแกรมตรวจเบาหวาน ตรวจอะไรบ้าง
โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวานของอินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม มีการตรวจสุขภาพครอบคลุมรายการที่เกี่ยวข้องต่างๆ ดังนี้
- ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ / Physical Examination
- ตรวจปัสสาวะ / Urine Examination
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด / CBC
- ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด / Glucose
- ตรวจระดับคลอเลสเตอรอล / Cholesterol
- ตรวจระดับไตรกีเซอร์ไรด์ / Triglyceride
- ตรวจระดับไขมันดี / HDL
- ตรวจระดับไขมันร้าย / LDL
- ตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด / HbA1C
- ตรวจระดับยูเรีย / BUN
- ตรวจไมโครอัลบูมิลในปัสสาวะ / Microalbumin Urine
- ตรวจการทำงานของไต / Creatinine
- ตรวจหาโรคเกาต์ / Uric Acid
- ตรวจการทำงานของตับ / ALT (SGPT)
- ตรวจการทำงานของตับ / AST (SGOT)
- ตรวจระดับเอนไซม์ในตับ / ท่อน้ำดี ALP
ราคาโปรแกรมตรวจสุขภาพโรคเบาหวาน
ราคาตรวจสุขภาพคัดกรองโรคเบาหวานและความดัน 2,650 บาท
ความถี่ในการตรวจสุขภาพเมื่อเป็นเบาหวาน
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานจะต้องหมั่นเข้ารับการตรวจประเมินร่างกายสม่ำเสมอ ดังต่อไปนี้
- ประเมินอาการ hyper/hypoglycemia ทุกครั้ง
- ตรวจวัดความดันโลหิตทุกครั้ง
- ตรวจ HbA1c อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
- ตรวจประเมินโรคแทรกซ้อน โรคไต เช่น serum creatinine , urine examination , urine microalbumin/ creatinine ratio ปีละ 1 ครั้ง
- ตรวจ Eye ground ปีละ 1 ครั้ง โดยจักษุแพทย์ (ยกเว้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ใน 5 ปีแรก)
อ่านเพิ่มเติม : โรคเบาหวานและชนิดของโรคเบาหวานที่เราควรรู้
- ตรวจประเมินโรคแทรกซ้อนทาง macrovascular เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular), โรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular) ปีละ 1 ครั้ง
- ตรวจประเมิน diabetic foot เช่น neuropathy, peripheral vascular disease แผลที่เท้า ปีละ 1 ครั้ง
- ตรวจประเมินระดับ choesterol, triglyceride, HDL cholesterol และคำนวณ LDL cholesterol อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (ในผู้ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี)
การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพเบาหวาน
- พักผ่อนให้เพียงพออย่างต่ำ 8 ชั่วโมง
- งดอาหารและน้ำ 6 – 8 ชั่วโมง ก่อนทำการเข้าห้องตรวจ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ในปริมาณที่ปกติและป้องกันผลคลาดเคลื่อน
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
- ใส่เสื้อแขนสั้นที่สะดวกต่อการเจาะเลือด
โรคเบาหวานยังคงเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ควรวางใจ เพราะเป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากมาย
จึงควรต้องมีการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
อินทัชเมดิแคร์มีบริการโปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวาน ในราคาสบายกระเป๋า สะดวก ไม่ต้องรอคิวนาน มีความแม่นยำสูง มีการเยี่ยมบ้านติดตามผลการรักษาให้ได้ผลดีมากขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งแพคเก็จสุขภาพที่ไม่ควรพลาด
ผู้สนใจสามารถใช้บริการได้จากทุกสาขาใกล้บ้าน โดยค้นหาจาก คลินิกเบาหวาน คลินิกความดัน คลินิกใกล้ฉัน ใน Google หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากช่องทางติดต่อบนหน้าเว็บไซต์ค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
- คลินิกเบาหวานและคลินิกความดันโลหิตสูง ใกล้บ้าน
- โรคเบาหวานและชนิดของโรคเบาหวานที่เราควรรู้
- วิธีง่ายๆ ในการควบคุมเบาหวาน ที่คุณก็ทำได้
- เช็คลิสต์ 9 อาการเบาหวาน สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเป็นเบาหวาน
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 26/10/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com