อาการ ‘เวียนหัวบ้านหมุน’ อาการที่เหมือนจะคล้ายกับอาการเวียนหัวแบบปกติ แต่อาจแฝงอันตรายแบบไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นเราจึงควรแยกความแตกต่างของอาการเวียนหัว กับ เวียนหัวบ้านหมุน ให้ออกเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงได้ทัน
หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับ เวียนหัวบ้านหมุน
อาการเวียนศีรษะ รู้สึกมึนๆ งงๆ รู้สึกไม่โล่ง ไม่สบาย สามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น โรคทางกาย โรคทางใจ โรคประจำตัว การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น โดยจะต้องคำนึงถึงอาการอื่นๆร่วมด้วย เพื่อใช้ในการระบุสาเหตุให้เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น ได้แก่
มีอาการหน้ามืด คล้ายจะเป็นลม (Fainting) อาจมีอาการมาจากโรคทางระบบหลอดเลือดและหัวใจ
มีอาการรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมหมุน หรือตัวเองหมุนหรือโคลงเคลง ในขณะที่สิ่งแวดล้อมนั้นอยู่นิ่ง (Vertigo) จะเป็นความผิดปกติที่มาจาก ระบบการทรงตัวภายในหู และระบบประสาท เป็นต้น
ภายในหูของเรานั้นเป็นที่อยู่ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว อาการจึงมักจะมีลักษณะฉับพลัน รุนแรง ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย โดยจะเป็นๆหายๆ บางรายอาจหายช้า หรือเร็ว (สามารถพบได้ร้อยละ 80 ในผู้ป่วยที่เวียนหัวบ้านหมุน) โดยโรคที่พบบ่อย ได้แก่
มักจะมีลักษณะอาการที่ค่อยๆเป็น ค่อยๆไป อาการจะไม่รุนแรงเท่าโรคภายในหู และมักจะมีอาการคงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ในบางรายอาจจะมีอาการของระบบประสาทอื่นๆประกอบอยู่ด้วย ซึ่งโรคทางสมอง ได้แก่
อาการเวียนหัวบ้านหมุน จะเป็นนานหรือไม่ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ เช่น ถ้าสาเหตุเกิดจากโรคทางหู โดยทั่วไปนั้นอาการจะเป็นตั้งแต่หลักวินาทีไปจนถึงหลักวัน หรือหากอาการเป็นหลายวัน ก็มักจะเป็นๆหายๆ แต่ถ้าเป็นจากระบบประสาท อาการมักจะคงตัว และจะมีระยะเวลาของอาการที่ยาวนานกว่า
การป้องกันไม่ให้ตัวเองเกิดอาการปวดหัวบ้านหมุนที่เราสามารถทำได้ง่ายที่สุดนั่นก็คือ ต้องเริ่มจากการสังเกตพฤติกรรมของตัวเอง และพยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเชิงลบเหล่านั้น ได้แก่
หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด วิตกกังวล
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การบริโภคสารคาเฟอีน
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนบริเวณหู รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงเสียงดัง
เรียบเรียงโดย นพ.จิตรทิวัส อำนวยผล
แก้ไขล่าสุด : 23/11/2023