สิทธิการรักษาพยาบาลและเปรียบเทียบสิทธิแต่ละประเภท

สิทธิการรักษาพยาบาล

รู้หรือไม่ว่า… แม้ว่าคุณจะเข้ารับรักษาอาการเจ็บป่วยที่คลินิก ก็สามารถใช้สิทธิการรักษามีหลายรูปแบบ ทั้งสิทธิการรักษาพยาบาลที่รัฐจัดหาให้ หรือ สิทธิที่เราซื้อประกันไว้ในรูปแบบต่างๆ

ดังนั้นผู้ป่วยควรตรวจสอบสิทธิการรักษากับคลินิกรักษาโรคทั่วไปใกล้บ้านคุณ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวท่านเองนั่นเอง


สิทธิการรักษาพยาบาลที่คลินิกส่วนใหญ่รองรับ

  1. สิทธิประกันสังคม

  2. สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)

  3. สิทธิประกันสุขภาพ

  4. สิทธิประกันอุบัติเหตุ

  5. ชำระเงินเอง

สิทธิประกันสังคม

สิทธิประกันสังคม

สิทธิประกันสังคม หมายถึง สิทธิที่เกิดจากกองทุนประกันสังคม ให้หลักประกันแก่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม เช่น พนักงานบริษัท หรือ พนักงานของรัฐ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทน หรือ ชดเชย จากการเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ หรือตาย
 
สิทธิประกันสังคมจะใช้บริการที่คลินิก รักษาโรคทั่วไป ก็ต่อเมื่อ คลินิกได้ลงทะเบียนเป็นเครือข่ายกับโรงพยาบาลที่รับบริการผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม คลินิกจะต้องลงทะเบียนใหม่หรือเซ็นต์สัญญากับโรงพยาบาลทุกปี ดังนั้นก่อนเข้ารับบริการควรตรวจสอบคลินิกก่อนเข้ารับบริการเสมอ 
สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)

สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)

สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่รู้จักกันในชื่อสิทธิบัตรทอง คือสิทธิที่รัฐจัดหาให้ตามพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจะครอบคลุมคนไทยทุกคนที่ไม่มีสิทธิราชการและสิทธิประกันสังคม

หากประชาชนไม่มีสิทธิการรักษาของสิทธิราชการและสิทธิประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีหน้าที่ลงทะเบียนสิทธิบัตรทองให้โดยอัตโนมัติ

เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถมีสิทธิการรักษาพยาบาลได้อย่างเท่าเทียมกันทุกคน 

"ผู้ป่วยสิทธิบัตรทองจะใช้บริการที่คลินิกหรือโรงพยาบาลได้ตลอด 24 ชม เมื่อคลินิกได้เข้าร่วมโครงการคลินิกชุมชนอบอุ่น หรือคลินิกปฐมภูมิกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น"


สามารถตรวจสอบ
สิทธิ
บัตรทองได้ที่นี่ คลิกเลย

 


สิทธิบัตรทองครอบคลุมบริการดังนี้


  • การตรวจวินิจฉัยโรคทั่วไป

  • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

  • การฝากครรภ์

  • การบำบัดและการบริการทางการแพทย์

  • ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์การทางการแพทย์

  • การทำคลอด

  • การกินอยู่ในหน่วยบริการ

  • การบริบาลทารกแรกเกิด

  • บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย

  • บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ

  • การพื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ


  • บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ

  • บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่บอร์ด สปสช.กำหนด

  • บำบัดรักษา ฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติด ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดที่มีกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

  • บริการสาธารสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุการประสบภัยจากรถที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

  • รักษาภาวะมีบุตรยาและการผสมเทียม ยกเว้นการดำเนินการที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์แทน

  • การรักษาโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน


บริการที่สิทธิบัตรทองไม่ครอบคลุม

บริการที่สิทธิบัตรทองไม่ครอบคลุมมีดังนี้

  • การบริการทางการแพทย์เพื่อความสวยและความงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

  • การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

  • การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าหรือทดลอง

  • การปลูกถ่ายอวัยวะ ที่ไม่ปรากฏตามบัญชีแนบท้าย

  • การบริการทางการแพทย์อื่น ตามที่บอร์ดสปสช.กำหนด

อ้างอิงจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


สิทธิประกันสุขภาพ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่นิยมใช้สิทธิประกันสุขภาพ โดยผู้ป่วยจะต้องซื้อประกันสุขภาพไว้ล่วงหน้าก่อนเข้ารับการรักษาอย่างน้อย 30 วัน หรือ 60 วัน (แล้วแต่กรณี) การทำประกันสุขภาพนั้นมีประโยชน์คือการลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเจ็บป่วย ทำให้เราสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายเมื่อรักษาพยาบาลได้ บริษัทประกันสุขภาพก็มีให้เลือกหลายบริษัท อีกทั้งยังมีโปรแกรมให้เลือกเพื่อเหมาะสมกับลูกค้าทุกท่าน


การเลือกบริษัทประกันสุขภาพ
ควรจะเลือกให้ครอบคลุม
เพื่อใช้ได้ทั้งโรงพยาบาลและคลินิก 

โดยบริษัทประกันจะมีรายชื่อสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญา เพื่อให้ลูกค้าไม่ต้องสำรองจ่าย สถานพยาบาลสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตรงกับบริษัทประกันได้ ทำให้มีความสะดวกและรวดเร็วในการรับบริการมากขึ้น

 

ตัวอย่างบริษัทประกันสุขภาพที่สามารถใช้บริการที่คลินิก ได้แก่

  • ประกันสุขภาพเอไอเอ (AIA)

  • ประกันซันเดย์ (Sunday Insurance Thailand)

  • ประกันภัยไทยวิวัฒน์  (Thaivivat Insurance) 

  • อาคเนย์ประกันภัย (South East Capital Insurance)

  • พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (Prudential Life Assurance)

  • เจนเนอราลี่ (Generali Life Assurance)


สิทธิประกันอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุ คือ เหตุที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด โดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า ส่งผลกระทบให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย บาดเจ็บ จนถึงเสียชีวิต การมาใช้สิทธิประกันอุบัติเหตุที่คลินิก มีส่วนน้อยที่สามารถมาใช้บริการได้ เพราะอุบัติเหตุจะมีการบาดเจ็บ บาดแผลขนาดใหญ่ ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่เปิด 24 ชม. 

อุบัติเหตุบางอย่างที่สามารถใช้บริการที่คลินิกได้แก่

  • มีดบาด หรือโดนของมีคมบาด

  • หกล้ม หรือ ตกท่อ

  • สุนัขหรือแมวกัด ข่วน

  • มอเตอร์ไซค์ล้ม

  • รถเชี่ยว มีบาดแผลเล็กน้อย

  • ลื่นล้ม

ลูกค้าควรตรวจสอบเบื้องต้นว่าคลินิกรักษาโรคทั่วไปสามารถให้บริการและรับประกันอุบัติเหตุที่ลูกค้าถือก่อนเข้ารับบริการเพื่อความสะดวกและสบายใจ 

 

สำหรับการประกันอุบัติเหตุมีได้หลายรูปแบบได้แก่

  1. การประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

  2. การประกันอุบัติเหตุจากการทำงาน

  3. การประกันอุบัติเหตุจากการเดินทาง

  4. การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล


สิทธิชำระเงินเอง

สิทธิชำระเงินเอง

สิทธิในการรักษาด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นสิทธิที่ไม่ยุ่งยากที่สุด  เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการเซ็นเอกสารต่างๆ เพื่อขอใช้สิทธิให้ยุ่งยาก และส่วนใหญ่ท่านจะได้รับบริการที่ดีเลิศมากกว่าสิทธิอื่นๆ 

เพราะสถานพยาบาลส่วนใหญ่มีการแข่งขันสูง และมีความต้องการลูกค้ากลุ่มนี้มาใช้บริการมากที่สุด



เปรียบเทียบการบริการของสิทธิการรักษาแต่ละชนิด

การบริการของสิทธิบัตรทอง (บัตรทอง 30 บาท)

  • การคุ้มครอง : เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทย ได้รับการคุ้มครองการรักษาและค่าใช้จ่ายจากภาครัฐ โดยคนไข้ต้องเข้ารับบริการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลของทางภาครัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินไม่จำเป็นต้องเป็นหน่วยบริการที่ขึ้นสิทธิก็ได้ ใช้ระยะเวลารับบริการนานกว่าสิทธิแบบอื่น 

  • ค่าใช้จ่าย : ค่าธรรมเนียม 30 บาท (กรณีใช้บริการโรงพยาบาล และหากมียานอกบัญชี อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม)

  • การชำระเงิน : ภาครัฐเป็นผู้จ่ายค่ารักษาให้คนไข้ตามสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรทอง

การบริการของสิทธิประกันสังคม

  • การคุ้มครอง : คนไข้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองที่แตกต่างกันแล้วแต่กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย, กรณีคลอดบุตร, กรณีทุพพลภาพ, กรณีเสียชีวิต, กรณีสงเคราะห์บุตร, กรณีชราภาพ, กรณีว่างงาน โดยค่ารักษาพยาบาลจะมาจากกองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน

  • ค่าใช้จ่าย : ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบประจำทุกเดือน 5 % ของเงินเดือน

  • การชำระเงิน : กรณีเจ็บป่วยเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ กรณีรับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นแล้วมีการสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนก็สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนด

การบริการของสิทธิประกันสุขภาพ

การคุ้มครอง : เมื่อคนไข้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยจากโรคภัย คนไข้หรือผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากบริษัทประกันชีวิต ที่คนไข้ได้ทำการซื้อประกันไว้และการประกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยให้ได้ค่าเบี้ยประกันที่ถูก เข้าถึงการรักษาเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ครอบคลุมโรคร้ายแรงครบถ้วน และได้รับการบริการที่รวดเร็วเมื่อเทียบกับสิทธิบัตรทองและสิทธิประกันสังคม 

ค่าใช้จ่าย : ตามจำนวนเงินทุนประกันของกรรมธรรม์ที่ได้ซื้อไว้

การชำระเงิน : บริษัทประกันส่วนใหญ่จะรับภาระค่าใช้จ่ายโดยตรงกับสถานพยาบาล โดยอำนวยความสะดวกให้กับคนไข้ โดยคนไข้ไม่ต้องสำรองจ่ายเอง ทั้งนี้ขึ้นกับเงื่อนไขของแต่ละสถานพยาบาล ค่ารักษาพยาบาลจะขึ้นอยู่กับความคุ้มครองของกรมธรรม์ รวมทั้งเงื่อนไขที่บริษัทประกันชีวิตและสถานพยาบาลกำหนด ในกรณีมีส่วนต่างของค่ารักษาคนไข้จะเป็นผู้ชำระเพิ่มเติมเอง

การบริการของสิทธิเงินสด (ชำระเงินเอง)

  • การคุ้มครอง : คนไข้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วยตนเอง  โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของโรคที่ต้องการรักษา สามรถเข้ารักการตรวจรักษาได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งยังได้รับการบริการที่สะดวก สบาย  ไม่ต้องรอคิวนานๆ ถือว่าเป็นสิทธิการรักษาพยาบาลที่รวดเร็วที่สุด 

  • ค่าใช้จ่าย : คนไข้ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเต็มจำนวน ตามค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริง หรือตามโปรแกรมตรวจสุขภาพของสถานพยาบาลกำหนด สิทธิชำระเงินเองถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าทุกสิทธิที่กล่าวมาแต่ก็เป็นความคุ้มค่าในด้านการดูแลสุขภาพที่ได้มาตรฐานและครบวงจร

  • การชำระเงิน : คนไข้สามารถชำระเองได้เลย ทั้งเงินสดหรือบัตรเครดิตตามแต่คลินิกหรือสถานพยาบาลนั้นให้บริการ


 

เช็คสิทธิ์รักษาพยาบาลยังไง

  1. ตรวจสอบสิทธิการรักษาผ่าน Application สปสช.

  2. ตรวจสอบสิทธิผ่านไลน์ @nhso แล้วเลือกเมนูตรวจสอบสิทธิ

  3. ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลด้วยตนเองผ่านลิงก์ คลิกที่นี่

  4. โทร 1330 กด 2 กดเลข 13 หลักบัตรประจำตัวประชาชน (ระบบการตรวจสอบสิทธิอัตโนมัติ)


บทความที่น่าสนใจ


 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
  แก้ไขล่าสุด : 18/11/2024 
  อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com

web counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้