ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงลายที่ทุกๆบ้านต่างเฝ้าระวัง โดยเฉพาะหน้าฝนที่มีน้ำขัง ฝนตก ยุงชุม หากโดนยุงกัดก็อาจทำให้ติดเชื้อได้ อาการไข้เลือดออกนั้นค่อนข้างรุนแรง และทำให้เสียชีวิตได้ ไปดูกันเลยว่าอาการเป็นอย่างไร ระยะไหนที่อันตรายต่อชีวิต
ความรู้โรคไข้เลือดออกที่น่าสนใจ
ไข้เลือดออก (dengue hemorrhage fever : DHF) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue fever : DF) ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ พบระบาดมากในช่วงฤดูฝน แต่ก็พบการติดเชื้อนี้ได้ตลอดทั้งปี ในแต่ละปียังมีคงผู้ติดเชื้อจำนวนมาก
โรคไข้เลือดออกไม่ได้เป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน แต่สามารถติดต่อได้จากยุงลายตัวเมียที่เป็นพาหะนำโรค คือ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้ ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย พร้อมที่จะเข้าสู่คนที่ถูกกัดต่อไป
เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีไปกัดคนอื่น |
เราสามารถสังเกตได้ว่าไข้เลือดออกจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อาจมีเลือดกำเดาไหล และเลือดออกเป็นจุด ๆ ตามร่างกาย ในขณะที่โรคไข้หวัดจะมีอาการไข้สูงติดต่อกัน และมีอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ อย่างเช่น มีอาการไอ หรือมีอาการน้ำมูกร่วมด้วย
เมื่อไข้ลง ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถพบภาวะช็อกหรือเลือดออก อาจถึงแก่ชีวิตได้
|
การรักษาโรคไข้เลือดออกเป็นการรักษาตามอาการและประคับประคอง เพราะในปัจจุบันยังไม่มียาต้าน ไม่มีการรักษาเฉพาะ แต่หากผู้ป่วยรับการตรวจโรคตั้งแต่ระยะแรกและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ก็จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ โดยมีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิดดังนี้
เช็ดตัวเพื่อลดไข้และให้ยาลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้ คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เพราะทำให้เกล็ดเลือดผิดปกติและระคายกระเพาะอาหาร
ให้สารน้ำชดเชยอย่างเหมาะสม เพราะผู้ป่วยมักมีภาวะขาดน้ำเนื่องจากไข้สูง และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ แต่หากขาดน้ำมาก มีภาวะเลือดออก อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล
ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่อาการรุนแรงไปจนถึงทำให้เสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างทันท่วงที ซึ่งการรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
เนื่องจากยังไม่มียาต้านโรคนนี้ มีเพียงการฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกเท่านั้นที่ช่วยป้องกันได้
ดังนั้น หากใครที่มีอาการเข้าข่าย โดยเฉพาะในเด็กและผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว
ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที
บทความที่น่าสนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงสุพรรษา เหนียวบุบผา
แก้ไขล่าสุด : 28/06/2023
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com