"ผลข้างเคียงฝังยาคุมกำเนิดเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและควรรู้"
เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถตัดสินใจก่อนเข้ารับบริการ อย่างไรก็ตามการฝังยาคุมกำเนิดก็มีผลข้างเคียงบางอย่างที่ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าเหมาะสมกับตนเองมากน้อยเพียงใด อินทัชเมดิแคร์ขอแนะนำให้ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนฝังยาคุมนะคะมีเลือดประจำเดือนมาผิดปกติโดยเฉพาะช่วงแรก แต่ต่อมาประจำเดือนจะค่อยๆ น้อยลงและจะหายไป โดยไม่มีอีกเลยตลอดช่วงที่ฝังยา
อาจทำให้กังวลว่าอาจตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว เกิดความไม่ชอบหรือเลิกใช้" |
ดังนั้นผู้ที่สนใจอยากฝังยาคุมจึงควรทำความเข้าใจก่อนมารับบริการฝังยาคุมกับคลินิก
เป็นผลข้างเคียงฝังยาคุมที่พบได้น้อยมากหลังฝังยาคุม ประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ เช่น ประจำเดือนกะปริดปะปรอย ประจำเดือนมาทุกวัน ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องประจำเดือน : ประจำเดือนหลังจากฝังยาคุม ใครเป็นแบบนี้อ่านเลย
เมื่อฝังยาคุมกับอินทัชเมดิแคร์แล้วอาจจะมี ผลข้างเคียงฝังยาคุมที่พบได้บ้างในบางราย อาจพบว่ามีรอยฟกช้ำและรู้สึกเจ็บแขนเล็กน้อยบริเวณรอบแท่งฮอร์โมน โดยรอยช้ำจะค่อยๆ หายไปเอง หลัง 7 วัน หากฝังยาคุมมาเกิน 7 วันแล้ว ถ้ามีอาการปวดมากโดยเฉพาะเวลาที่มีการเคลื่อนไหวของแขนข้างที่ฝังยาคุม
" แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมว่ายาฝังคุมกำเนิดมีการเคลื่อนที่ไปไกลจากจุดที่ฝังยาไว้หรือเคลื่อนที่ลึกลงไปในชั้นกล้ามเนื้อหรือเปล่า (ซึ่งเป็นไปได้ยากมากที่จะเกิดปัญหาเหล่านี้) "
มีผู้หญิงที่ฝังยาคุมแล้วเกิดอารมณ์แปรปรวน และเป็นซึมเศร้า แต่เป็นผลข้างเคียงฝังยาคุมที่พบได้น้อยมาก และความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อย ในบางรายรบกวนความรู้สึกทางเพศด้วย
อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจากผลของยาฝังคุมกำเนิด หรืออาจเกิดการมีการอักเสบของเต้านม หากอาการเจ็บเต้านมเป็นไม่มาก
แนะนำควรสังเกตอาการไปก่อนในเบื้องต้น ไม่ควรไปบีบนวดคลึงเต้านม ใส่ชุดชั้นในที่พอดี ไม่แน่นจนเกินไป
อาการปวด หรือเวียนศีรษะ เกิดโอกาสที่จะพบผลข้างเคียงน้อย และส่วนใหญ่จะค่อยๆ หายไปเอง
ผลข้างเคียงฝังยาคุมทำให้บางรายน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น พบได้ค่อยข้างน้อย และส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักขึ้นเพียงไม่มาก คือประมาณ 1-3 กิโลกรัม และมักเป็นในเพียงช่วงแรก อาจต้องสังเกตพฤติกรรมในการทานอาหารของตนเองด้วย
บทความที่แนะนำสำหรับคุณ
คำถาม-คำตอบยอดฮิต! เรื่องฝังยาคุมที่ถามบ่อย
ยาฝังคุมกำเนิดมีกี่ชนิด พร้อมข้อมูลที่ควรอ่าน!
ผลข้างเคียงฝังยาคุม อีกหนึ่งข้อคือมีการอักเสบของหลอดเลือดดำร่วมกับมีลิ่มเลือด (thrombophlebitis) หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด (thromboembolic disorders) พบได้น้อย แต่ส่งผลต่อสุขภาพมาก ควรรีบไปพบแพทย์
เมื่อใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะบางประเภท จะทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลง และมีข้อควรระวังคือ ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม โรคตับที่รุนแรง และโรคหลอดเลือดดำอุดตัน
อ้างอิงข้อมูลจาก
การฝังยาคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงและมีระยะเวลาเวลาคุมกำเนิดนานที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังมีผลข้างเคียงของการฝังยาคุมบางอย่างที่ผู้รับบริการควรเข้าใจและพิจารณาก่อนตัดสินใจคุมกำเนิดด้วยวิธีการนี้ และแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนรับบริการนะคะ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 10/01/2024