โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ ที่เรียกสั้นๆว่า PCOS กับอาการที่พบบ่อย เช่น ขนดก ผมร่วง สิวขึ้น หน้ามัน อ้วนหรือน้ำหนักจนผิดปกติ เป็นเรื่องที่สามารถเกิดได้หากคุณมี 'ภาวะฮอร์โมนแอนโดรเจน' หรือก็คือ 'ฮอร์โมนเพศชายเยอะเกินไป' แล้วโรคนี้มีผลต่อร่างกายของสาวๆอย่างไร หากใครอยากรู้ ก็สามารถไปทำความเข้าใจกันได้ในบทความนี้เลยนะคะ
หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับถุงน้ำรังไข่หลายใบ
การวินิจฉัยโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS แพทย์จะใช้วิธีการตรวจหลายๆอย่างร่วมกัน ได้แก่
ซึ่งหมายถึงภาวะตกไข่ที่ผิดปกติ โดยลักษณะของประจำเดือนผิดปกตินั้น คือ รอบประจำเดือนนานกว่า 35 วัน หรือน้อยกว่า 21 วัน , ประจำเดือนไม่มาติดต่อกัน 3 เดือน ขึ้นไป หรือ ประจำเดือนมาน้อยกว่า 8 รอบใน 1 ปี
โดยการตรวจเบื้องต้น เช่น
ขนดกผิดปกติ บริเวณหนวด เครา หน้าอก หัวหน่าว แขนและขา เป็นต้น
หน้ามัน รูขุมขนกว้าง
สิวขึ้นเยอะผิดปกติ
ผมร่วงเยอะ
โดยในวัยรุ่นจะพบอาการสิวขึ้นเยอะกับขนดก มากกว่าวัยผู้ใหญ่
หากผู้รับบริการตรวจมีประวัติหรือการตรวจร่างกายที่ไม่ชัดเจน แพทย์อาจมีการตรวจเลือด หรือตรวจอัลตราซาวน์เพิ่มเติม
การรักษา PCOS นั้น เพื่อต้องการให้ผู้ป่วยมีภาวะตกไข่ที่ปกติและสม่ำเสมอ ปรับรอบประจำเดือน ลดอาการของฮอร์โมนเพศชายเกิน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ไขมันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงในอนาคต
การรักษาหลักประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้ยา ขึ้นอยู่กับ อาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจแพทย์ และตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ
"หากเป็นกรณีเคสที่ตัวของหมอเองที่เป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปตรวจพบอาการของคนไข้ ที่มีอาการของประจำเดือนผิดปกติ หรือเข้าข่ายอาการของ PCOS ก็จะทำการส่งต่อเคสนี้ให้ผู้รับบริการเข้ารับการตรวจนรีเวช โดยมีสูตินรีแพทย์เป็นผู้รับดูแลเคสต่อค่ะ"
ควรควบคุมน้ำหนัก โดยขอแนะนำในผู้ป่วยทุกราย เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนที่ทำให้โรค PCOS ดีขึ้น การศึกษาพบว่าการลดน้ำหนักลง 5% จากน้ำหนักตัวเดิม มีประโยชน์ในหลายๆระบบ
ควบคุมการรับประทานอาหาร แนะนำให้มีการควบคุมอาหาร เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลซึ่งส่งผลทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินได้มากยิ่งขึ้น
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อช่วยปรับรอบประจำเดือน ลดอาการของฮอร์โมนเพศชายเยอะเกิน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
กลุ่มยาที่สามารถนำมาใช้รักษา PCOS นั้นมีหลายชนิด ได้แก่ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม, ยาลดภาวะดื้ออินซูลิน และยาลดฮอร์โมนเพศชาย เป็นต้น
"ทั้งนี้การใช้ยาแต่ละตัว ขึ้นกับอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายและดุลยพินิจแพทย์ แนะนำปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยา"
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น PCOS ควรจะได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ เนื่องจาก PCOS ส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆตามมาได้ เช่น ภาวะก่อนเป็นเบาหวานหรือเบาหวาน, ไขมันในโลหิตสูง, ความดันโลหิตสูง และภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ เป็นต้น
นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเรื่องเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติเพิ่มเติม ซึ่งอาการนี้จะสัมพันธ์กับ PCOS เช่นกัน โดยการตรวจจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจแพทย์ด้วยค่ะ
แต่อย่างไรก็ตาม แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินตัวโรคและวางแผนการรักษาอีกครั้ง เนื่องจากการดูจากอาการเพียงอย่างเดียวว่าตัวโรคดีขึ้นแล้วหรือไม่อาจทำได้ยาก อาจต้องให้แพทย์ช่วยประเมินหรือตรวจเพิ่มเติม
"ดังนั้น จึงแนะนำให้ผู้หญิงทุกคนสังเกตอาการ และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเสี่ยงอื่นๆที่เป็นอันตรายในอนาคต"
ยกเว้น กรณีที่มีอาการหรืออาการแสดงที่สงสัยโรคอื่น และมีความจำเป็นต้องตรวจภายในเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการตรวจภายในเป็นการตรวจที่ละเอียดอ่อน โดยปกติแพทย์จะต้องขอความยินยอมจากผู้ป่วยทุกครั้ง หากผู้ป่วยไม่ต้องการตรวจภายใน แนะนำปรึกษาแพทย์ผู้ตรวจเพื่อวางแผนการรักษาร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม มีการแนะนำให้หญิงไทยทุกคนมีการตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ ซึ่งหากมาพบแพทย์ ผู้ป่วยจะได้รับการซักประวัติเพื่อคัดกรอง PCOS เบื้องต้นร่วมด้วย
เอกสารอ้างอิง
Recommendations from the 2023 international evidence-based guideline for the assessment and management of polycystic ovary syndrome, European Journal of Endocrinology
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์, แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 19/04/2024