การพ่นยาขยายหลอดลมเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด หรือโรคปอด โดยการใช้เครื่องพ่นจะช่วยเปลี่ยนยาจากของเหลวให้กลายเป็นละอองขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถสูดดมเข้าไปสู่ปอดได้ง่ายและตรงจุด ทำให้ยาทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการพ่นยา
ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจเหนื่อย หายใจเร็วกว่าปกติ หายใจหอบลึก หรือมีการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง หากพ่นด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ควรรีบไปสถานพยาบาลโดยเร็วเพื่อรับการพ่นยาแบบละอองฝอย ส่วนมากจะมีอาการในผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น หอบหืด ปอดอุดกลั้นเรื้อรัง เป็นต้น
พ่นยา สำหรับเด็ก ราคาเริ่มต้น 1,440 บาท
พ่นยา สำหรับผู้ใหญ่ ราคาเริ่มต้น 1,510 บาท
เครื่องทำความชื้น (Humidifier)
Micronebulizer กระเปาะสำหรับใส่ยาพ่น
สายยางเชื่อมต่อ micronebulizer กับหัวต่อออกซิเจนจาก pipeline หรือถังออกซิเจน
Mask พร้อมสายรัดใบหน้า
ยาที่ใช้ตามแผนการรักษา
ยากลุ่ม Beta2 agonist เช่น Salbutamol เหมาะสำหรับผู้ป่วยหอบหืด
ยากลุ่ม Anticholinergic เช่น Ipratropium, Tiotropium เหมาะสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกลั้นเรื้อรัง
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : โรคหอบหืด รู้เท่าทันอาการ ลดความเสี่ยงให้ชีวิต
ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ เช่น หอบหืด ปอดอุดกลั้นเรื้อรัง เป็นต้น
ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรังที่ไม่มีอาการกำเริบ แต่แพทย์มีการนัดพ่นยาต่อเนื่อง
ผลข้างเคียงขึ้นกับชนิดของยาที่ใช้ ซึ่งอาการที่พบบ่อย ได้แก่
ประสบการณ์การรักษาของแพทย์
เคสผู้ชายอายุประมาณ 15 ปี มีประวัติเดิมมารักษาด้วยอาการหอบหลายครั้งในช่วง 1 ปี ทุกครั้งที่มารักษาก็จะได้พ่นยาขยายหลอดลมแบบละอองฝอย พ่นเสร็จเมื่ออาการดีขึ้นก็กลับบ้าน แล้วก็มีอาการหอบอีกและกลับมาพ่นเหมือนเดิมแบบนี้ทุกครั้ง จากนั้นมีครั้งหนึ่งเมื่อซักประวัติพบว่าขณะอยู่บ้าน ผู้ป่วยใช้ยาพ่นด้วยตนเองแบบไม่ถูกวิธีและผู้ป่วยมีเพียงยาพ่นฉุกเฉินสำหรับบรรเทาอาการเพียงตัวเดียว ซื้อยาเองและไม่ได้พบแพทย์ ไม่เคยได้รับยาพ่นเพื่อควบคุมอาการไปใช้ที่บ้านเลย
ผู้ป่วยสามารถพ่นยาแบบละอองฝอยได้ทันทีเมื่อมีอาการกำเริบ สามารถพ่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
พยายามหลีกเลี่ยงการทานอาหาร เมื่อมีอาการหายใจเหนื่อยเพื่อป้องกันการสำลัก
แจ้งข้อมูลการแพ้ยาและโรคประจำตัวให้แก่คลินิกหรือสถานพยาบาลทราบ หากมีประวัติการรักษาเดิมให้ผู้ป่วยนำข้อมูลมาด้วย
ก่อนรับการพ่นยาขยายหลอดลม หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือยาสูบ
บทความที่น่าสนใจ
เอกสารอ้างอิง
แนวทางวินิจฉัยและบำบัดโรคหืดในผู้ใหญ่ สำหรับอายุรแพทย์และแพทย์ทั่วไปในประเทศไทย พ.ศ.2566 สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
เอกสาร Administering inhaler medications สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤตระบบการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
เอกสาร Administering medication via aerosol therapy มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงนลพรรณ พิทักษ์สาลี
แก้ไขล่าสุด : 08/10/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com