กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัญหาสุขภาพทางระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อย ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะในกลุ่มสาวๆ อาการที่น่ารำคาญใจ เช่นปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด หรือปวดท้องน้อย อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกถึงสาเหตุและวิธีการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ พร้อมด้วยคำแนะนำในการป้องกันสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคนี้
ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในเบื้องต้นช่วงเริ่มแรกผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปัสสาวะแบบต่างๆ อาการปัสสาวะแสบขัด ตามมาด้วยอาการปวดท้องน้อยหน่วงๆ ปัสสาวะบ่อย กะปริบกะปรอย ปัสสาวะปนเลือด (อาจมองเห็นเป็นสีชมพูหรือเป็นเลือด) ปัสสาวะขุ่น ซึ่งปกติปัสสาวะของคนเราจะใส และปัสสาวะไม่สุด
หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม หรือมีการติดเชื้อรุนแรง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ไม่ว่าจะเป็น
กรวยไตอักเสบ ซึ่งเป็นโรครุนแรง รักษายากขึ้น อาจถึงขั้นไตวายเฉียบพลัน และติดเชื้อในกระแสเลือด
ในผู้ป่วยที่มีกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยและได้รับยาฆ่าเชื้อบ่อย อาจเกิดการดื้อยาฆ่าเชื้อได้ ทั้งนี้ควรตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุอื่นๆร่วมด้วย ที่พบบ่อยเช่น นิ่วในท่อไต เป็นต้น
หากรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบช้าอาจทำให้เกิดกรวยไตอักเสบ ซึ่งเป็นโรครุนแรง การรักษาก็จะยากขึ้น อาจถึงขั้นไตวายเฉียบพลัน และติดเชื้อในกระแสเลือด
หากสังเกตพบอาการที่แสดงถึงการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไม่ว่าจะเป็น ปัสสาวะแสบขัด (ปวดหรือแสบขณะปัสสาวะ) ปวดท้องน้อย ปัสสาวะขุ่น หรือปัสสาวะบ่อย (ทั้งนี้การปัสสาวะบ่อยอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้เช่นกัน) หรือปัสสาวะมีเลือดปน
แต่ไม่ควรมากจนเกินไป การดื่มน้ำจะช่วยทำให้เราปัสสาวะบ่อยขึ้น และช่วยขับแบคทีเรียออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ โดยสามารถคำนวณปริมาณน้ำที่ร่างกายควรได้รับ ตามน้ำหนักตัวได้โดยคิดตามสูตรนี้
|
หากรู้สึกอยากปัสสาวะ ควรไปปัสสาวะทันทีอย่ากลั้นไว้ เพราะอาจเป็นการสะสมแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ
วิธีนี้ไม่ได้ช่วยป้องกันการท้องอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และช่วยขับแบคทีเรียที่อาจเข้าสู่ท่อปัสสาวะให้ออกไป
*ควรมาพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ควรซื้อยากินเอง
หมายเหตุ: อาจมีปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากปัจจัยเหล่านี้ หากเป็นซ้ำควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกวิธี และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
แก้ไขล่าสุด : 01/08/2024
อนุญาติให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com