หลายคนอาจไม่รู้ว่า 'ใบรับรองแพทย์ 10 โรค' คืออะไร และอาจคุ้นเคยกับใบรับรองแพทย์ 9 โรคมากกว่า วันนี้อินทัชเมดิแคร์จะพาทุกคนมารู้จักกับใบรับรองแพทย์ 10 โรค หลักฐานรับรองสุขภาพที่คนทำงานประกอบอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับอาหารจำเป็นต้องรู้ แล้วเจ้าใบรับรองแพทย์นี้ต่างจาก 9 โรคยังไง ไปดูกันเลย
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์ 10 โรค
สำหรับการออกใบรับรองแพทย์ ผู้รับบริการจำเป็นต้องรับการตรวจสุขภาพ 10 โรค ที่เกิดจากอาหารดังนี้
วัณโรค (Tuberculosis)
อหิวาตกโรค (Cholera)
ไข้รากสาดน้อย หรือโรคไทฟอยด์ (Typhoid fever)
โรคบิด (Dysenter)
ไข้สุกใส / อีสุกอีใส (Chickenpox)
โรคคางทูม (Mumps)
โรคเรื้อน (Leprosy)
โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (Dermatitis)
โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (Hepatitis) เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ
โรคอื่นๆ (Other) ที่ผู้รับบริการต้องการตรวจเพิ่มเติม เช่น โรคอันตรายที่มาจากน้ำและอาหาร, ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคที่แพทย์หรือทางสาธาณสุขพิจารณาให้หยุดทำงาน อย่างโรคที่อาจระบาดในช่วงนั้นๆ เป็นต้น
หมายเหตุ: ในกรณีที่มีรายการตรวจคัดกรองนอกเหนือจากในแพ็กเกจจะมีการคิดค่าบริการเพิ่มเติม สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับบริการได้
แบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ 10 โรค จะระบุรายละเอียดของผู้รับบริการ รวมถึงการยืนยันว่าผู้รับบริการไม่ได้มีอาการป่วยหรือจิตฟั่นเฟือนจาก 10 โรคที่เกิดจากอาหาร และที่ท้ายใบรับรองแพทย์ แพทย์ผู้ตรวจอาจมีการใส่ความเห็นหรือข้อเสนอแนะ ตามผลการตรวจของผู้เข้ารับบริการเพิ่มเติม
ตัวอย่าง แบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ 10 โรค
ผู้รับบริการไม่จำเป็นต้องงด การดื่มน้ำและรับประทานอาหาร
ควรสวมเสื้อที่สะดวก ต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรอดนอนก่อนวันตรวจ
ถ้ามีฟิล์มเอกซเรย์เก่า กรุณานำมาด้วยทุกครั้ง
หากสงสัยว่าตั้งครรภ์ กรุณาแจ้งแจ้าหน้าที่ล่วงหน้าก่อนตรวจ
หมายเหตุ : เนื่องจากมีการตรวจการเพาะเชื้อจากอุจจาระ (Stool C/S) ต้องรอผลการตรวจประมาณ 3 วัน
เอกสารอ้างอิง
สํานักสุขาภิบาลอาหารและน้ํา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,ผู้สัมผัสอาหาร
บทความที่น่าสนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย นายอัชวิน ธรรมสุนทร
แก้ไขล่าสุด : 10/09/2024
อนุญาติให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาตเฉพาะในเชิงให้ความรู้หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com