ตรวจนิฟตี้ nifty test คืออะไร? ทำไมต้องตรวจและขั้นตอนการตรวจ

ตรวจนิฟตี้ ตรวจ nifty

โรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมนั้นมีหลายโรค ที่รู้จักกันดีและพบบ่อย คือ โรคดาวน์ซินโดรม โดยปัจจุบันเราสามารถตรวจคัดกรองเพื่อทราบความเสี่ยงก่อนที่ทารกจะกำเนิดขึ้นมาได้

การตรวจคัดกรองความผิดปกติโรคทางพันธุกรรมของทารกในครรภ์นั้นมีความสำคัญและแนะนำตรวจในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย

เพราะความผิดปกติของโครโมโซมหรือสารพันธุกรรมเพียงเล็กน้อยในทารก อาจส่งผลให้การตายของทารกในครรภ์ หรือเกิดโรคที่รุนแรง มีความพิการ และมีปัญหาอื่นๆตามมา เช่น อวัยวะผิดปกติ การเจริญเติบโตของร่างกายและสติปัญญาผิดปกติ อายุขัยสั้นลง และบางโรคยังไม่สามารถรักษาได้


เลือกอ่านหัวข้อที่น่าสนใจเรื่องการตรวจ NIFTY

ตรวจนิฟตี้ คืออะไร

ตรวจนิฟตี้ nifty test คืออะไร

NIFTY test หรือ Non-Invasive Fetal TrisomY (NIFTY) test คือ วิธีการตรวจคัดกรองหาความผิดปกติของสารพันธุกรรมของทารกในครรภ์ที่ตรวจได้ง่าย โดยใช้เลือดของมารดาปริมาณเพียง 10 ซีซี

ซึ่งเป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อทารก สามารถตรวจได้เร็วตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์และ เป็นการตรวจคัดกรองที่มีความแม่นยำสูงสุด โดยมีความแม่นยำมากถึง 99%

 

"หลักการการตรวจ NIFTY
คือการตรวจวิเคราะห์ DNA
ของทารกที่หลุดออกมาอยู่ใน
กระแสเลือดของมารดา"

ซึ่งการตรวจ NIFTY จะสามารถบอกได้ ว่าทารกเป็นโรคที่มีความผิดปกติของสารพันธุกรรมหรือไม่ โดยเฉพาะโรคที่พบบ่อย เช่น โรคดาวน์ซินโดรม โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม พาทัวซินโดรม เป็นต้น และ เป็นการตรวจคัดกรองวิธีเดียวที่สามารถยืนยันเพศของทารกและตรวจความผิดปกติของโครโมโซมเพศได้


ตรวจ NIFTY เหมาะสำหรับใครบ้าง

  • หญิงตั้งครรภ์ทุกคนสามารถเจาะ NIFTY ได้ คำแนะนำในปัจจุบันคือหญิงตั้งครรภ์ทุกคน ควรได้รับการตรวจคัดกรองความผิดปกติของสารพันธุกรรม แม้ว่าโอกาสเกิดโรคทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ในทารกจะเพิ่มขึ้นตามอายุของมารดาก็ตาม แต่ในหญิงตั้งครรภ์อายุน้อยยังสามารถพบได้บ่อย

  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีข้อจำกัดหรือไม่สามารถตรวจด้วยการเจาะน้ำคร่ำได้ เช่น รกเกาะต่ำ มีภาวะแท้งง่าย ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น

  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติเคยมีบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมมาก่อน

อัลตราซาวน์ครรภ์แล้วพบทารกผิดปกติ
  • หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการอัลตราซาวน์โดยแพทย์เฉพาะทางแล้วพบลักษณะทารกที่สงสัยจะมีความผิดปกติทางพันธุกรรม

  • หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการยืนยันผลตรวจ หลังจากตรวจคัดกรองด้วยวิธีอื่นมาแล้ว

  • หญิงตั้งครรภ์ที่ทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF

  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติแท้งซ้ำซาก และหาสาเหตุไม่ได้


NIFTY ไม่เหมาะสำหรับใครบ้าง

  • ตรวจ NIFTY อาจจะให้ผลที่ไม่แม่นยำและคลาดเคลื่อนในหญิงตั้งครรภ์บางราย

  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติได้รับเลือดในช่วง 1 ปีก่อนตรวจ

  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือรับการรกัษาด้วยเสต็มเซลล์

  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติเป็นโรคทางพันธุรกรรมอยู่ก่อนแล้ว

  • หญิงตั้งครรภ์แฝดสามคนขึ้นไป

ทั้งนี้หากหญิงตั้งครรภ์มีโรคประจำตัวหรือมีการทานยาบางตัวเป็นประจำ อาจต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการตรวจอีกครั้ง

ทำไมต้องเลือกตรวจ NIFTY

ทำไมต้องเลือกตรวจ NIFTY

  • เป็นการตรวจคัดกรองที่มีความแม่นยำสูงสุด โดยมีความแม่นยำมากถึง 99%

  • ตรวจได้ง่าย โดยใช้เลือดของมารดาปริมาณเพียง 10 ซีซี

  • เป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อทารกและมารดา

  • สามารถตรวจได้เร็วตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์

  • ตรวจคัดกรองได้หลายโรค ตามแพ็คเกจที่เลือก

  • เป็นการตรวจคัดกรองวิธีเดียวที่สามารถยืนยันเพศของทารกและตรวจความผิดปกติของโครโมโซมเพศได้


ตรวจนิฟตี้มีกี่แบบ

ตรวจ NIFTY Twin

  • เหมาะสำหรับครรภ์แฝด ในครรภ์แฝดอาจมีข้อจำกัดที่อาจทำให้ไม่สามารถตรวจได้ความแม่นยำและจำนวนโรคเยอะได้เท่าครรภ์เดี่ยว แต่ยังสามารถตรวจคัดกรองโรคที่พบบ่อยได้ โดย NIFTY Twin สามารถตรวจได้ดังนี้

  • ความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 21 หรือ ดาวน์ซินโดรม (Trisomy 21/Down syndrome)

  • ความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 18 หรือ เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Trisomy 18/Edward syndrome)

  • ความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 13 หรือ พาทัวซินโดรม (Trisomy 13/Patau syndrome)

  • ตรวจหาโครโมโซม Y ที่บ่งบอกถึงเพศชายได้

ตรวจ NIFTY PRO

  • ความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 21 หรือ ดาวน์ซินโดรม (Trisomy 21/Down syndrome)

  • ความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 18 หรือ เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Trisomy 18/Edward syndrome)

  • ความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 13 หรือ พาทัวซินโดรม (Trisomy 13/Patau syndrome)

  • ความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 9,16, 22 (Trisomy 9,16,22)

  • โรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ( Turner syndrome , Klinefelter syndrome , Triple-X , Jacob’s syndrome )

  • โรคความผิดปกติของโครโมโซมอีกกว่า 100 โรค ( Chromosome 1-23 Aneuploidies , Deletion/duplication syndrome 92 types )

  • ระบุเพศของทารก

ตรวจ NIFTY Focus

  • ความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 21 หรือ ดาวน์ซินโดรม (Trisomy 21/Down syndrome)

  • ความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 18 หรือ เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Trisomy 18/Edward syndrome)

  • ความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 13 หรือ พาทัวซินโดรม (Trisomy 13/Patau syndrome)

  • โรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ( Turner syndrome , Klinefelter syndrome , Triple-X , Jacob’s syndrome )

  • ระบุเพศของทารก

ตรวจ NIFTY Lite

  • ความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 21 หรือ ดาวน์ซินโดรม (Trisomy 21/Down syndrome)

  • ความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 18 หรือ เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Trisomy 18/Edward syndrome)

  • ความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 13 หรือ พาทัวซินโดรม (Trisomy 13/Patau syndrome)

  • ระบุเพศของทารก


ตรวจนิฟตี้ ราคาเท่าไร

ราคาตรวจนิฟตี้

ชุดการตรวจ NIFTY Twin ราคา 19,900 บาท

  • ตรวจ Chromosome คู่ที่ 21, 18, 13 และ Y detected

ชุดการตรวจ NIFTY Pro ราคา 18,500 บาท

  • ตรวจทุกโครโมโซม ในร่างกาย 84 ชนิด และรายงานผลเพศ

ชุดการตรวจ NIFTY Focus 13,500 บาท

  • ตรวจโรคที่พบได้บ่อยทั้ง 7 โรค ดาวน์ซินโดรม, เอ็ดเวิร์ดซินโรม และรายงานผลเพศ

ชุดการตรวจ NIFTY Lite ราคา 9,990 บาท

  • ตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ของทารกในครรภ์และรายงานผลเพศ


ขั้นตอนการตรวจนิฟตี้

  • หญิงตั้งครรภ์ปรึกษาแพทย์ก่อนตรวจอีกครั้ง เพื่อทราบถึงความสำคัญ รายการโรคที่ตรวจ และข้อมูลที่ถูกต้อง

  • หญิงตั้งครรภ์รับการเจาะเลือด โดยใช้ปริมาณเลือดประมาณ 10 ซีซี

  • รอผลตรวจประมาณ 7 - 10 วัน

  • แนะนำฝากครรภ์และอัลตราซาวน์ก่อนการตรวจ Nifty เพื่อเป็นการตรวจสุขภาพมารดาและทารกโดยรวม ทั้งนี้สามารถปรึกษาแพทย์ก่อนตรวจได้


ประโยชน์จากการตรวจ nifty

ประโยชน์จากการตรวจ nifty

  • การตรวจ Nifty ช่วยให้หญิงตั้งครรภ์สามารถทราบความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ และสามารถวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์ได้ก่อนที่ทารกจะกำเนิดขึ้นมา

  • เพราะความผิดปกติของโครโมโซมหรือสารพันธุกรรมเพียงเล็กน้อยในทารก อาจส่งผลให้การตายของทารกในครรภ์ หรือเกิดโรคที่รุนแรง มีความพิการ และมีปัญหาอื่นๆตามมา เช่น อวัยวะผิดปกติ การเจริญเติบโตของร่างกายและสติปัญญาผิดปกติ อายุขัยสั้นลง และบางโรคยังไม่สามารถรักษาได้

  • เป็นการตรวจคัดกรองที่สามารถระบุเพศทารกได้เร็วและแม่นยำที่สุด


หญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องตรวจนิฟตี้ไหม

ในปัจจุบัน มีคำแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมทุกราย โดยการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมมีหลายวิธีซึ่งมีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันไป เช่น อัลตราซาวน์ การตรวจหาสารทางเคมีบางชนิด เป็นต้น

รวมถึงวิธี Nifty test ซึ่งเป็นวิธีที่แม่นยำสูงสุด หญิงตั้งครรภ์สามารถเลือกวิธีที่ต้องการตรวจได้และสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมและปรึกษากับแพทย์ประจำตัวก่อนได้


ตรวจนิฟตี้ รู้เพศไหม

ตรวจนิฟตี้ รู้เพศไหม

เป็นการตรวจคัดกรองวิธีเดียวที่สามารถยืนยันเพศของทารกและตรวจความผิดปกติของโครโมโซมเพศได้


ตรวจนิฟตี้ กี่วันรู้ผล

การตรวจนิฟตี้ รอผลตรวจประมาณ 7 - 10 วัน 


ตรวจ NIFTY ไม่ควรตรวจเมื่ออายุครรภ์เกินกี่สัปดาห์

ตรวจ NIFTY สามารถตรวจได้ทุกอายุครรภ์ แต่หากตรวจเมื่ออายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ขึ้นไป อาจมีข้อจำกัดในเรื่องการยุติการตั้งครรภ์หากพบความเสี่ยงในการเป็นโรคที่รุนแรง


ตรวจ nifty ที่ไหนดี

อินทัชเมดิแคร์ให้บริการตรวจ nifty สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์เพื่อตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ซึ่งมีโปรแกรมการตรวจให้เลือกหลากหลาย ตรวจโดยแพทย์และพยาบาลประจำคลินิก สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่เคยตรวจจึงไม่ต้องกังวลนะคะ เจ้าหน้าที่พร้อมอำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำค่ะ


ข้อมูลอ้างอิง


บทความที่น่าสนใจ


 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
  แก้ไขล่าสุด : 13/02/2024

hit counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้