ฝากครรภ์ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่จะต้องทำ เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างเรียบร้อย ลดความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งกับตัวคุณแม่และลูกในท้อง ซึ่งการฝากครรภ์คุณภาพที่คลินิกสูตินรีเวชจะยิ่งช่วยให้ทราบถึงพัฒนาการของการตั้งท้องในแต่ละช่วงเวลาเพื่อปรับตัวให้เหมาะสม ส่วนต้องทำอย่างไรและช่วงไหนบ้างเรามาดูไปพร้อมๆ กันเลย
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการฝากครรภ์คุณภาพ
ฝากครรภ์คุณภาพ หมายถึง การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์และฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้งตลอดระยะการตั้งท้อง เพื่อให้มารดาและทารกได้รับการบริการทางสุขภาพที่ครบถ้วนและดีที่สุด ระหว่างตั้งท้องซึ่งก็จะส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงหลังคลอดลูกด้วย
ตามปกติ หญิงตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์คุณภาพ อย่างน้อย 5 ครั้ง ตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ ดังนี้คือ
ฝากครรภ์ครั้งแรกเป็นระยะที่สำคัญมาก โดยอันดับแรกควรได้รับการตรวจว่า การตั้งครรภ์ปกติหรือไม่ อย่างไร เกิดตำแหน่งใด มีตัวอ่อนหรือไม่ แม่มีการใช้ยาอะไรอยู่ก่อนหรือป่าว มีภาวะหรือโรคประจำตัวใดที่ต้องเฝ้าระวัง และเนื่องจากระยะนี้อยู่ระหว่างการเริ่มสร้างตัวอ่อนและเริ่มสร้างอวัยวะสำคัญๆ จึงควรได้รับการจ่ายวิตามิน หรือกรดโฟลิกเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการในปริมาณที่เหมาะสม
|
การดูแลและให้คำแนะนำ : ให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก (dT หรือ TT) ครั้งที่ 1 เมื่ออายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และให้คำแนะนำเรื่องภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น อาการคลิ่นไส้อาเจียน เลือดออกทางช่องคลอด ปัสสาวะบ่อย/แสบขัด สามารถมาพบแพทย์ที่คลินิกฝากครรภ์ได้เมื่อมีอาการผิดปกติ
การฝากครรภ์คุณภาพครั้งนี้ เป็นระยะเฝ้าดูการเจริญเติบโตของทารก ต้องตรวจติดตามการสร้างอวัยวะ พัฒนาการ ขนาดและน้ำหนัก
การดูแลและให้คำแนะนำ : ในไตรมาสนี้หากมีความเสี่ยงแพทย์จะให้คุณแม่ตรวจเบาหวาน (กลืนน้ำตาล) และให้คำแนะนำเรื่องภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น การแท้ง การคลอดก่อนกำหนด
เป็นระยะเฝ้าระวังการคลอดลูก จะต้องตรวจเช็ครก น้ำคร่ำ การกลับหัวของทารก เพื่อแพทย์ที่รับฝากครรภ์จะได้ทำวางแผนการคลอดให้เหมาะสม
การดูแลและให้คำแนะนำ : แนะนำอาการสำคัญที่ต้องไปสถานพยาบาลเพื่อคลอดหรือควรไปพบแพทย์ทันที่ เช่น เจ็บครรภ์จริง มีน้ำเดินหรือมีมูกเลือก เลือดออกทางช่องคลอด ทารกดิ้นน้อยลง ตาพร่ามัว มีไข้ เจ็บจุกใต้ชายโครงขวา เป็นต้น
ข้อดีของการฝากครรภ์คุณภาพ ไปตรวจครรภ์ครบทั้ง 5 ครั้ง คือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ทั้งในแม่และทารกในครรภ์ รวมทั้งช่วยให้แพทย์สามารถติดตามพัฒนาการการเจริญเติบโตของทารกและสุขภาพร่างกายมารดาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมด้วย
เอกสารอ้างอิง
คู่มือ/แนวทางการปฏิบัติงานบริการฝากครรภ์ เพื่อครรภ์คุณภาพ พื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2558, สำหนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
รองศาตราจาร์ ดร.มาลีวัล เลิสสาครศิริ. (2565), การพยาบาลสตรีในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด,โครงการตำราวิทยาลัยเซนต์หลุยส์
บทความที่น่าสนใจ
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ เรื่องที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม
วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ หรือเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ควรทําอย่างไร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 16/05/2024