วัณโรคเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ง่าย วัณโรคปอดจะพบได้บ่อยที่สุดและอาการของผู้ป่วยมักป่วยเรื้อรังมานาน ซึ่งการจะรู้ว่าเป็นวัณโรคหรือไม่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ทำโดยวิธีการทางห้องปฏิบัติการ
ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองเป็นวัณโรคหรือไม่ วัณโรคอันตรายอย่างไร และวิธีการรักษาให้หายจากวัณโรค ในบทความนี้มีคำตอบค่ะ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม Mycobacterium tuberculosis complex
เชื้อวัณโรคสามารถติดต่อได้จากคนสู่คนผ่านทางอากาศ โดยเมื่อผู้ที่มีเชื้อวัณโรคในปอด มีการไอ จาม พูด หัวเราะ หรือตะโกน จะมีการปล่อยละอองฝอยออกมาในอากาศและเมื่อผู้อื่นหายใจเอาละอองฝอยเข้าไปในปอดก็จะมาสามารถติดเชื้อได้
โดยการติดต่อของวัณโรคนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณเชื้อที่ผู้ติดเชื้อมี หากมีเชื้ออยู่มากก็จะสามารถติดต่อได้มากขึ้น , ภูมิคุ้มกันของผู้ได้รับเชื้อ หากมีโรคประจำตัว เด็ก หรือผู้สูงอายุ ก็จะสามารถติดเชื้อได้ง่ายขึ้น , สภาพแวดล้อมบางอย่างที่ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น เช่น ห้องปิดหรือห้องอับอากาศ เป็นต้น
ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการติดต่อของวัณโรคอยู่บ่อยๆ เช่น ผู้ป่วยวัณโรคสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ไหม นอนกับคนเป็นวัณโรคจะติดเชื้อไหม ดื่มน้ำแก้วเดียวกับผู้ป่วยวัณโรคได้ไหม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ตอบคำถามเรื่องวัณโรค ทุกข้อสงสัยที่คุณอยากรู้!
วัณโรคปอด เป็นวัณโรคที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์ เบื่ออาหารน้ำหนักลด มีไข้และเหงื่อออกช่วงกลางคืน อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย บางรายจะมีไอเสมหะปนเลือดได้
วัณโรคที่อวัยวะอื่นนั้นพบได้น้อยและมีอาการไม่จำเพาะ เช่น วัณโรคเยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น หากสงสัยแนะนำปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
วัณโรคแบ่งเป็น 2 ระยะ เป็นการแบ่งตามระยะเวลา คือ ระยะแฝง (Latent TB infection) และระยะลุกลาม (Active TB infection)
เมื่อเราได้รับเชื้อมาทางการหายใจ หากร่างกายเราสามารถกำจัดเชื้อไปได้หมดก็จะไม่เกิดการติดเชื้อวัณโรค แต่ถ้าหากปริมาณเชื้อที่ได้รับมีมาก หรือภูมิคุ้มกันไม่สามารถกำจัดไปได้หมด เซลล์ภูมิคุ้มกันจะมารวมตัวกันและล้อมรอบเชื้อวัณโรคไว้ในปอดหรืออวัยวะอื่นๆ เรียกว่า การติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (Latent TB infection)
คนไข้อาจจะไม่มีการผิดปกติเลยและหากร่างกายสามารถคุมเชื้อได้ก็สามารถติดเชื้ออยู่ในระยะนี้ได้หลายปีและไม่สามารถแพร่เชื้อได้
เมื่อเชื้อวัณโรคมีการแบ่งตัวมากขึ้น หรือ ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่สามารถคุมเชื้อไว้ได้ เชื้อจะแพร่กระจายออกมาและไปก่อโรคในปอดและอวัยวะต่างๆ เรียกว่าการติดเชื้อวัณโรคระยะลุกลาม (Active TB infection) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้และไอเรื้อรัง มีเสมหะปนเลือด น้ำหนักลดได้
ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ / Physical examination
ใบรับรองแพทย์ / Medical certificate
เอกซเรย์ปอด / Chest X-ray
ตรวจเชื้อวัณโรค / Anti TB
ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ / Physical examination
ใบรับรองแพทย์ / Medical certificate
เอกซเรย์ปอด / Chest X-ray
ตรวจเสมหะ / AFB STAIN
ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ / Physical examination
ใบรับรองแพทย์ / Medical certificate
เอกซเรย์ปอด / Chest X-ray
ตรวจผลเลือด / T-SPOT
ราคารวมค่าแพทย์และค่าบริการทางคลินิกแล้ว
โปรแกรมที่ 3 สามารถตรวจได้ ทั้งผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคแบบแฝงและแบบมีอาการ
แนะนำผู้ที่จะตรวจวัณโรค พักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำเปล่าเยอะๆเพื่อให้สามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหารก่อนตรวจ
หากมีอาการที่สงสัยวัณโรค หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจติดเชื้อวัณโรค เช่น สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อวัณโรค ทำงานในสถานที่ที่ปิดและมีคนจำนวนเยอะแออัด เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือบุคลากรทางการแพทย์ แนะนำตรวจเพื่อหาเชื้อวัณโรค
วัณโรคสามารถรักษาได้ด้วยการทานยาฆ่าเชื้อ แต่ด้วยตัวเชื้อโรคที่ค่อนข้างรุนแรงจึงใช้เวลารักษาค่อนข้างนาน โดยมักต้องทานยาฆ่าเชื้อหลายตัวร่วมกันเป็นระยะเวลานานอย่างน้อย 6 เดือน แม้ว่าอาการจะดีขึ้นหรือไม่มีอาการแล้ว รวมทั้งต้องอาศัยการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นวัณโรคควบคู่ไปด้วยเพื่อให้การรักษาประสบความสำเร็จ
สูตรยาและระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย โรคประจำตัวและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยแต่ละราย และต้องพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง
วัณโรค เป็นโรคทีมีอาการไม่ชัดเจนและใช้ระยะเวลานานกว่าจะเกิดอาการรุนแรงโดยระหว่างนั้นอาจจะแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ชิดได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นหากมีอาการเริ่มต้นหรือมีความเสี่ยง ควรคัดกรองเพื่อเริ่มการรักษาให้เร็วที่สุดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและลดการแพร่กระจายเชื้อ
วัณโรค หากมีอาการรุนแรงและไม่รักษาหรือรักษาช้าสามารถถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัว เด็ก และผู้สูงอายุ ที่มีโอกาสติดเชื้อง่ายและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้ เช่น หายใจลำบาก หายใจล้มเหลว วัณโรคแพร่กระจายนอกปอด ระบบร่างกายล้มเหลว เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
บทความที่น่าสนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
แก้ไขล่าสุด : 08/09/2023