ยาเพร็พ (Pre-Exposure Prophylaxis) ในปัจจุบันเป็นยาป้องกันเชื้อเอซไอวี HIV ก่อนการสัมผัสเชื้อ เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยงได้มีแนวทางในการป้องกันตนเองมากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับยา prep วันนี้อินทัชเมดิแคร์รวมข้อควรรู้ วิธีกินยา การหยุดยา และประสิทธิภาพการป้องกัน เพื่อไขข้อสงสัยกัน
สำหรับคนที่อยากรู้ในกรณีที่ตัวเองได้รับเชื้อมาแล้ว จะมีอาการอะไรบ้าง สามารถอ่านบทความ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณได้รับเชื้อ HIV เพิ่มเติมได้เลย แต่ขอบอกไว้ก่อนนะว่าป้องกันได้แค่เอชไอวี (HIV) เท่านั้น ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆได้ ที่สำคัญที่สุดต้องมีวินัย กินยาให้ตรงเวลาและไม่ควรลืมเด็ดขาด
ก่อนเริ่มกินยาเบื้องต้นผู้รับบริการต้องทำการปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติ เช่น โรคประจำตัว และต้องตรวจเลือด HIV เพื่อหาเชื้อไวรัส HIV ก่อนเริ่มยาทุกราย , ตรวจค่าไต ก่อนเริ่มยาในบางราย รวมถึงตรวจการตั้งครรภ์ในรายที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ แนะนำตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบีและซี ซิฟิลิส และหนองใน ร่วมด้วยเพื่อการรักษา
PrEP สามารถกินได้ 2 รูปแบบ คือ การกินเพร็พแบบทุกวันและการกินเพร็พเฉพาะช่วง โดยจะแนะนำให้กินเพร็พแบบทุกวัน มากกว่าเนื่องจากทำได้ง่ายกว่า
PrEP ไม่สามารถหาซื้อตามร้านขายยาทั่วไปได้ ต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้น ซึ่งก่อนกินยาจะต้องได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อ HIV ก่อน เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและรับคำแนะนำในการกินยา เนื่องจากเป็นยาที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยได้ สามารถรับบริการได้ที่คลินิกเอกชนใกล้บ้าน และโรงพยาบาล
สามารถหยุดยาได้เมื่อไม่มีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมเสี่ยงแล้ว หรือมีผลข้างเคียงมาก และไม่ต้องการทานยาต่อ โดยแนะนำกินยาจนถึง 7 วัน หลังความเสี่ยงครั้งสุดท้ายจึงหยุด และสามารถกลับมาปรึกษาเพื่อกินยาใหม่ได้หากเริ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงอีก และก่อนหยุดกินทุกครั้งต้องตรวจเลือดเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อทุกครั้ง
แพทย์จะมีการนัดตรวจติดตามในระหว่างกินยาเพร็พ ทุก 1-3 เดือน เพื่อตรวจเลือดหาเชื้อไวรัส HIV ให้มั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อ และอาจมีติดตามค่าไต ทุก 3-6 เดือนในบางราย รวมถึงติดตามอาการข้างเคียงที่เกิดได้จากการกินยา
สามารถใช้เพร็พร่วมกับการคุมกำเนิดได้ ไม่ว่าจะเป็น ยากินคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด และห่วงคุมกำเนิด โดยไม่เกิดอันตราย
การกินยา PrEP ป้องกันเพียงการติดเชื้อไวรัส HIV แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคอื่นๆ และไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้
ยาเพร็พ เป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้น จึงสามารถติดต่อรับยาได้ที่โรงพยาบาลและคลินิกใกล้บ้านที่มีบริการ
ถึงแม้ว่าการทานยา PrEP จะช่วยสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อเอขไอวีได้มีประสิทธิภาพสูง แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ ควรใช้วิธีทานยาควบคู่กับถุงยางร่วมกัน เพื่อป้องกันโอกาสในการได้รับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และควรมีวินัยทานยา PrEP ให้ตรงเวลาเสมอ เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ
เอกสารอ้างอิง
Centers for Disease C, Prevention.PREEXPOSURE PROPHYLAXIS FOR THE PREVENTION OF HIV INFECTION IN THE UNITED STATES – 2021 UPDATE,Clinical practice guideline
Centers for Disease C, Prevention. Interim guidance for clinicians considering the use of preexposure prophylaxis for the prevention of HIV infection in heterosexually active adults. MMWR Morbidity and mortality weekly report. 2012;61(31):586-9.
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการตรวจวินิจฉัย รักษา และป้องกัน การติดเชื้อ HIV ประเทศไทย ปี 2564/2565
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการจัดการบริการยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
แก้ไขล่าสุด : 13/10/2023