ฝี พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย เกิดขึ้นได้ทุกส่วนในร่างกาย ทั้งอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายใน แต่ส่วนมากเราจะพบฝีบนผิวหนังภายนอกได้มากกว่า ซึ่งฝีมักจะมีขนาดเล็กและสามารถรักษาได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการกินยา , การผ่าฝี หรือ กรีดระบายหนอง
แต่สำหรับฝีที่เกิดกับอวัยวะภายในนั้น ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมและรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม
เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับฝี
เป็นตุ่ม ก้อนบวมแดง ปวด กดเจ็บ มีผม หรือขนอยู่ตรงกลาง ขึ้นใหม่ๆ จะแข็ง ตุ่มนี้จะขยายโตขึ้นและเจ็บมาก ต่อมาค่อยๆ นุ่มลงและกลัดหนอง เมื่อฝีเป่งมากๆ อาจแตกเองได้ (หลังฝีขึ้นไม่กี่วันหรือ 1-2 สัปดาห์) ซึ่งอาการเจ็บปวดจะทุเลา
|
มักมีอาการเจ็บป่วยส่งผลทำให้เกิดฝี ฝีจะก่อตัวและเกิดขึ้นที่อวัยวะหรือพื้นที่ว่างระหว่างอวัยวะภายในร่างกาย ตำแหน่งที่เกิดฝีประเภทนี้ เช่น ฝีต่อมทอนซิลในช่องปากและผนังในลำคอ เกิดจากการติดเชื้อเป็นหนองที่เหงือกและฟัน ฝีในปอด ฝีในสมอง ฝีในตับ ซึ่งถือเป็นจุดที่อันตราย เป็นต้น
อาการของฝีนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของฝีและตำแหน่งที่เกิดฝี ซึ่งโดยอาการส่วนใหญ่ที่พบ แบ่งตามตำแหน่งได้ ดังต่อไปนี้
เบื้องต้นมีฝีขนาดเล็ก น้อยกว่า 1 เซนติเมตร และไม่เจ็บปวดรุนแรง ฝีจะสามารถหายได้เอง และสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นที่บ้านได้ โดยการใช้ผ้าประคบอุ่นบนบริเวณฝี ครั้งละ 30 นาที ทำ 3-4 ครั้งต่อวัน เพื่อช่วยลดอาการบวม ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ฝีระบายหนองออกเองตามธรรมชาติ
ไม่ควรบีบ กด หรือใช้เข็มเจาะฝีด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้แบคทีเรียแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นได้
ในกรณีที่ฝีมีขนาดใหญ่เกินกว่า 1 เซ็นติเมตร มีอาการป่วยที่รุนแรง มีไข้สูง ขนาดฝีขยายโตขึ้น บวม เจ็บมากขึ้นเมื่อสัมผัสโดน ควรรีบไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการรักษาตามขั้นตอนและลักษณะของฝี ดังนี้
แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อจำกัดเชื้อและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับยาเม็ดรับประทาน และยาแบบฉีดในรายที่มีอาการป่วยรุนแรง เช่น มีไข้สูง และหากเมื่อฝีกลายเป็นหนองให้ผ่าออก
ในขั้นแรกแพทย์จะให้ยาชากับผู้ป่วยก่อนเพื่อระงับความรู้สึกบริเวณรอบฝี แล้วทำการกรีดหนองและเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออก ต่อมาแพทย์จะยังเปิดแผลไว้ให้หนองระบายออกมา ซึ่งอาจจะต้องใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือสอดไว้เพื่อระบายหนองออกมาให้หมด
|
การรักษาจะพิจารณาตามตำแหน่งฝีภายในที่พบ ซึ่งได้จากการตรวจหาตำแหน่งโดยการส่งตรวจ ทำอัลตราซาวนด์ หรือ การตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์เพิ่มเพื่อระบุตำแหน่งของฝีให้ชัดเจนและดูลักษณะอวัยวะรอบข้างว่ามีการอักเสบร่วมด้วยหรือไม่
ซึ่งการรักษาอาจจะใช้เข็มเจาะระบายหนองและใส่ท่อระบายหนองจนกว่าหนองจะหมดและในบางครั้งอาจจำเป็นต้องผ่าตัดอวัยวะที่มีการอักเสบและติดเชื้อทิ้งด้วย เพื่อลดการแพร่กระแสเข้าสู่กระแสเลือดและลดอาการรุนแรง ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคและตำแหน่งของฝี
ควรงดการดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ขณะทำการรักษา เพราะจะทำให้ร่างกายฟื้นตัวช้าได้
ควรเลี่ยงอาหารประเภทหมักดองและสุกๆดิบๆ ได้แก่ ปลาร้า กะปิ ผลไม้ดองต่างๆ หน่อไม้ดอง เป็นต้น เพราะเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อของโรคอย่างอื่นได้
หลังผ่าฝี แผลมักหายสนิทภายใน 2 - 4 สัปดาห์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฝีและการดูแลทำความสะอาดแผลด้วย
ฝีเมื่อเป็นแล้วมักนำความเจ็บปวดมาให้ บางคนสามารถที่จะหายเองได้หากฝีมีขนาดเล็กแต่ในบางคนที่มีอาการรุนแรงจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกวิธีจากแพทย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติม
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงสุพิชชา บึงจันทร์
แก้ไขล่าสุด : 26/03/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com