โรคไทรอยด์ เป็นโรคที่เกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ควบคุมการเต้นของหัวใจ ชีพจร ให้อยู่ในเณฑ์ปกติ ควบคุมการเผาผลาญอาหารและควมคุมน้ำหนักตัว
หากฮอร์โมนตัวนี้ทำงานผิดปกติจะส่งผลต่อระบบเผาผลาญภายในร่างกาย รวมถึงส่งผลโดยตรงต่อหัวใจและสมองได้
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไทรอยด์
โรคไทรอยด์ คือภาวะผิดปกติของต่อมไทรอยด์หรือปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย โดยฮอร์โมนไทรอยด์ผลิตมาจากต่อมไทรอยด์ซึ่งอยู่บริเวณลำคอด้านหน้าใต้ต่อลูกกระเดือก ขนาดต่อมยาวประมาณ 4 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร โดยปกติจะคลำไม่ได้ชัดเจน
ฮอร์โมนไทรอยด์มีหน้าที่ควบคุมระบบการเผาผลาญและการทำงานของร่างกายทุกระบบ ทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบสมอง ระบบลำไส้ ระบบกล้ามเนื้อและระบบสืบพันธุ์ ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
โรคไทรอยด์ สูงผิดปกติหรือไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่มีปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ ในร่างกายมากเกินไป ส่งผลให้ระบบการเผาผลาญและการทำงานของระบบต่างๆมากเกินผิดปกติ
คอโตผิดปกติ หรือคลำได้ก้อนบริเวณคอ
น้ำหนักลดผิดปกติ แต่ทานอาหารได้ปกติหรือทานเยอะขึ้น
เหงื่อออกเยอะ ขี้ร้อน อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
ใจสั่น ใจเต้นแรง
ตาโปน
ท้องเสียบ่อย ประจำเดือนมาผิดปกติ
ไทรอยด์ เป็นพิษนั้น มีสาเหตุได้จากหลายโรค โดยเมื่อคนไข้มาพบแพทย์แล้ว แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่ถูกต้องและรับการรักษาแตกต่างกันไปในแต่ละโรค
โรคเกรฟส์ (Graves’ disease) เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของไทรอยด์เป็นพิษ เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดหนึ่งที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป
โดยสาเหตุของการเกิดโรคเกรฟส์หรือไทรอยด์เป็นพิษนั้นส่วนใหญ่เป็นขึ้นมาเอง และสัมพันธ์กับพันธุกรรมแค่ประมาณ 30% และอาจมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้นในคนไข้ที่สูบบุหรี่ , ทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไป,ความเครียด และคนไข้ตั้งครรภ์
ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าผู้ชาย
ยังมีสาเหตุอื่นๆที่พบได้แต่เจอน้อยกว่า เช่น ก้อนที่ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Toxic adenoma , Toxic multinodular goiter) , มะเร็งไทรอยด์ (CA thyroid) , ไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis) เป็นต้น
อาจเกิดจากการทานยาหรือทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนไทรอยด์ เช่น อาหารเสริมลดน้ำหนัก
ในรายที่มีอาการสงสัยภาวะไทรอยด์เป็นพิษ สามารถยืนยันได้ด้วยการตรวจเลือดดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งประกอบด้วยผลเลือดหลายตัวเพื่อใช้แปลผลร่วมกัน
ผลเลือดจะพบว่า ปริมาณไทรอยด์สูงผิดปกติ
ในโรคเกรฟส์ สามารถรักษาได้ด้วยการทานยา การกลืนแร่ หรือการผ่าตัด โดยการตอบสนองค่อนข้างดีและสามารถหายขาดได้ แต่ต้องตรวจเลือดดูปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ทุกปี
ส่วนสาเหตุจากโรคอื่นวิธีการรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นกับการวินิจฉัย
โรคไทรอยด์ ต่ำผิดปกติ (Hypothyroidism) เป็นภาวะที่มีปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายน้อยเกินไปส่งผลให้ระบบการเผาผลาญและการทำงานของระบบต่างๆ ลดลงผิดปกติ
เหนื่อยง่าย ทำอะไรเชื่องช้า ไม่กระปรี้กระเปร่า ง่วงนอนบ่อย หลงลืมบ่อย
น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ แต่ทานอาหารเท่าเดิมหรือลดลง
ขี้หนาว ผิวและผมแห้งผิดปกติ
ท้องผูก ประจำเดือนมาผิดปกติ
ใจสั่น หัวใจเต้นช้าผิดปกติ
หากเป็นในเด็ก อาจทำให้ตัวเตี้ย และเรียนรู้ช้าได้
การอักเสบของต่อมไทรอยด์ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง และเป็นขึ้นมาเอง (Hashimoto’s thyroiditis)
การขาดสารไอโอดีน หรือทานอาหารที่มีไอโอดีนต่ำ
หลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์หรือหลังจากรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
เป็นแต่กำเนิด
ในรายที่มีอาการสงสัยภาวะไทรอยด์เป็นพิษ สามารถยืนยันได้ด้วยการตรวจเลือดดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งประกอบด้วยผลเลือดหลายตัวเพื่อใช้แปลผลร่วมกัน
ผลเลือดจะพบว่า ปริมาณไทรอยด์ต่ำผิดปกติ
โรคไทรอยด์ โตหรือคอพอกไม่เป็นพิษ (Euthyroid goiter) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์โต แต่ปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์อยู่ในระดับปกติ
มักจะมีอาการคอโต หรือคลำได้ก้อนบริเวณคอเพียงอย่างเดียว ไม่มีอาการผิดปกติของระบบอื่นๆในร่างกาย
การอักเสบของต่อมไทรอยด์ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง และเป็นขึ้นมาเอง (Hashimoto’s thyroiditis)
การขาดสารไอโอดีน หรือทานอาหารที่มีไอโอดีนต่ำ
ก้อนของไทรอยด์ หรือมะเร็งไทรอยด์
ในเบื้องต้น แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ผลเลือดจะพบว่าระดับฮอร์โมนไทรอยด์อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ในบางรายอาจจะเป็นต้องตรวจเพิ่มเติม เช่น อัลตราซาวน์ หรือเจาะต่อมไทรอยด์ตรวจชิ้นเนื้อแนะนำปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้อีกครั้ง
ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ Physical Examination
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ Free T3
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ Free T4
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ TSH
ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ Physical Examination
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ Free T3
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ Free T4
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ T3 Total
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ T4 Total
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ TSH
โปรแกรม 1 สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็น อาการไม่ชัดเจน และต้องการตรวจเพื่อวินิจฉัยเบื้องต้น
โปรแกรม 2 สำหรับผู้ที่มีอาการเยอะหรือรุนแรง หรือต้องการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ครบทุกตัว
สามารถคลำต่อมไทรอยด์ของตัวเองได้ง่ายๆ โดยส่องกระจก ขั้นตอนดังนี้
ยืนหรือนั่งตัวตรงไม่เอียงหรือบิดคอ
มองตรงไปที่กระจก มองตรงตำแหน่งของไทรอยด์ ซึ่งอยู่กึ่งกลางคอ อยู่ระหว่าง ลูกกระเดือกกันกระดูกไหปลาร้า
ให้กลืนน้ำลาย ถ้าคอแห้ง ให้ดื่มน้ำช่วย จะสั่งเกตต่อมไทรอยด์ได้ชัดขึ้นขณะกลืน เพราะต่อมไทรอยด์จะเคลื่อนที่ตามการกลืน
คลำเบาๆ ตรงตำแหน่งไทรอยด์ว่ามีก้อนโตหรือมีคอพอกไหม เจ็บหรือไม่? ถ้ามองไม่เห็นและคลำต่อมไทรอยด์ไม่ได้แปลว่ามีขนาดปกติ ไม่โต วิธีนี้สามารถนำไปตรวจต่อมไทรอยด์ให้ผู้อื่นได้เช่นกัน แต่ถ้าตรวจแล้วไม่แน่ใจควรไปปรึกษาแพทย์
การคลำไทรอยด์ สามารถคลำได้ตัวเองได้หากไทรอยด์โตจะสามารถคลำได้ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม หากมีอาการอื่นๆที่สงสัยว่าเป็นโรคไทรอยด์แนะนำปรึกษาแพทย์ เนื่องจากคนไข้ที่เป็นโรคไทรอยด์บางรายอาจจะไม่มีอาการไทรอยด์โตได้
ไทรอยด์เป็นพิษ
มีปัญหาสายตา กระดูกพรุน หัวใจเต้นผิดปกติ โรคหลอดเลือดสมอง
หากอาการรุนแรงจนไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤติ (Thyroid storm) อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย ขาดน้ำ ช็อค โอกาสเกิดน้อย แต่อัตราการเสียชีวิตสูงมาก
โดยภาวะแทรกซ้อนมักเจอในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาช้า
โรคไทรอยด์ต่ำ
พัฒนาช้าหรือพิการในเด็ก ซึมเศร้า ความรู้สึกที่แปรปรวน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ไขมันในเลือดสูง หากปล่อยไว้จนเกิดภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำอย่างรุนแรงที่เรียกว่า myxedema coma อาจทำให้เกิดภาวะหายใจช้า ความดันโลหิตต่ำ หัวใจวาย เสียชีวิตได้
โรคไทรอยด์โตหรือคอพอก
หากก้อนมีขนาดใหญ่มาก อาจกดเบียดเส้นเสียงและทางเดินหายใจ
หากไม่รักษา และเป็นมะเร็งไทรอยด์จะทำให้มะเร็งเข้าสู่ระยะแพร่กระจายและเสียชีวิตได้
อ่านเพิ่มเติม การปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด! เมื่อเป็นโรคไทรอยด์ตามคำแนะนำของแพทย์
การตรวจไทรอยด์มีวิธีการตรวจหลายแบบ ขึ้นอยู่กับอาการและการวินิจฉัย โดยการเจาะเลือดดูระดับฮอร์โมนเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด และสามารถตรวจได้ที่คลินิก
การตรวจเพิ่มเติมวิธีอื่น เช่น อัลตราซาวน์ เจาะชิ้นเนื้อ หรือตรวจทางกัมมันตรังสี นั้นจะมีความยุ่งยากมากกว่า จำเป็นต้องตรวจที่โรงพยาบาลและปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง และไม่ได้ใช้เพื่อตรวจคัดกรองเบื้องต้น
หากสงสัยว่าเป็นโรคไทรอยด์ ไม่ว่าจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะไทรอยด์ต่ำ ต่อมไทรอยด์โตหรือคอพอกไม่เป็นพิษ รวมไทรอยด์ในหญิงตั้งครรภ์ แนะนำตรวจคัดกรองโดยการเจาะเลือดดูระดับฮอร์โมนเพื่อยืนยัน ไม่ควรรักษาด้วยตนเอง ควรมาปรึกษาแพทย์เสมอ เนื่องจากไทรอยด์เป็นโรคที่ซับซ้อนและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้
สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจคัดกรองไทรอยด์ หรือรักษาไทรอยด์ ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม คลินิกตรวจรักษาไทรอยด์ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ - อาทิตย์
สามารถนัดหมายผ่านช่องทางออนไลน์ หรือโทรศัพท์ก็ได้ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำทั้งก่อนและหลังเข้ารับบริการ
เอกสารอ้างอิง
2018 European Thyroid Association Guideline for the Management of Graves’ Hyperthyroidism , George J. Kahalya Luigi Bartalenab Lazlo Hegedüsc Laurence Leenhardtd Kris Poppee Simon H. Pearcef
สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย (The endocrine society of Thailand)
การดูแลรักษาโรคของต่อมไทรอยด์และข้อผิดพลาดที่พบบ่อย , Ambulatory medicine 2023 , สมาคมอายุรศาสตร์ผู้ป่วยนอก
บทความที่น่าสนใจ
การปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด! เมื่อเป็นโรคไทรอยด์ตามคำแนะนำของแพทย์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย พญ.ณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
แก้ไขล่าสุด : 28/08/2023