อินทัชเมดิแคร์สรุปการเปรียบเทียบยาคุมแบบฝังกับวิธีการคุมกำเนิดทั้งราคา ประสิทธิภาพ และความถี่ที่ต้องรับบริการมาเพื่อใช้พิจารณาทั้งนี้การจะเลือกใช้ยาคุมแบบไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งสิ่งที่เราต้องทราบในเบื้องต้นก็คือวิธีการใช้งานและการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดแต่ละชนิด
เปรียบเทียบ 5 วิธีคุมกำเนิด กับยาคุมแบบฝัง
ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด (Birth Control Pills) เมื่อเทียบกับยาคุมแบบฝัง
ยาคุมแบบฝังจะมีลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ ภายในมีฮอร์โมนโปรเจสตินบรรจุอยู่ เมื่อฝังยาคุมแล้ว ตัวยาช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไข่ทำให้ไข่ฟ่อ ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกข้นหนืดขัดขวางการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิจนไม่สามารถปฏิสนธิได้ จึงทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์นั่นเอง ฝังยาคุมถือเป็นวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก ทั้งยังออกฤทธิ์นานสามารถป้องกันได้ 3 หรือ 5 ปี (ขึ้นกับประเภทที่ฝังยาคุม) ไม่ต้องกังวลว่าจะลืมกินยาเหมาะกับคนขี้ลืม มีอาการข้างเคียงน้อย
หากต้องการถอดยาคุมออกเมื่อไหร่ก็สามารถทำได้ง่าย และยังไม่มีผลต่อการผลิตน้ำนมสำหรับผู้ที่เลี้ยงดูบุตรอีกด้วย
เปรียบเทียบกับยาคุมแบบอื่นๆ
ราคา : สูง
ประสิทธิภาพการคุมกำเนิด : สูง
ความถี่ : ทุก 3 ปี หรือ 5 ปี
ยาคุมชนิดเม็ด (Birth Control Pills)สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการกินยาเข้าไปเพื่อยับยั้งการตกไข่ ทำให้ผนังมดลูกหนาขึ้นจนตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวได้ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ยาเม็ดแบบธรรมดา ในหนึ่งแผงใช้กินเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ใน 1 รอบเดือน
ชนิดที่ 2 ก็คือ ยาเม็ดแบบฉุกเฉิน ซึ่งใน 1 แผง จะมีเพียง 2 เม็ดเท่านั้น ใช้ในกรณีฉุกเฉินที่เกิดการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่คาดคิดขึ้น ข้อเสียของยาคุมชนิดนี้คือหากลืมกินยาก็มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดการตั้งครรภ์ได้ หากเทียบกับการใช้ยาคุมแบบฝัง จะมีความเสี่ยงการตั้งครรภ์สูงกว่า
เปรียบเทียบกับยาคุมแบบฝัง
ราคา : ต่ำ
ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด : ปานกลาง
ความถี่ : ต้องรับประทานยาทุกวัน
การใช้ยาคุมแบบฉีด เป็นอีกวิธีที่ได้รับความนิยม เพราะไม่ต้องกลัวว่าจะลืมกินยา จึงเหมาะกับคนขี้ลืม และยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูง เป็นการยับยั้งการตกของไข่ ที่ทำให้เยื่อบุมดลูกบางจึงไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่ และยังทำให้มูกที่ปากมดลูกมีความเหนียวข้น จนอสุจิไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ แต่สามารถคุมกำเนิดได้ในระยะสั้นเพียง 1 -3 เดือนเท่านั้น
หากไม่ฉีดยาอย่างต่อเนื่องก็มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้เช่นกัน ซึ่งการใช้ยาคุมแบบฝังมีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์น้อยกว่า
เปรียบเทียบกับยาคุมแบบฝัง
ราคา : ต่ำ
ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด : ปานกลาง
ความถี่ : 1 เดือน และ 3 เดือน
คือการใส่ห่วงอนามัย (IUD) เข้าไปในช่องคลอด โดยนิยมใช้อยู่สองแบบคือ แบบเคลือบทองแดง และแบบเคลือบฮอร์โมน ต้องใส่โดยแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ยาคุมแบบฝังสามารถฝังได้ง่ายและรวดเร็วกว่า (ไม่เกิน 1ชั่วโมง) ทั้งนี้ห่วงอนามัยมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูง ประหยัดมีความปลอดภัย แต่ยุ่งยากในการตรวจดูว่าห่วงยังปกติดีหรือไม่ เพราะมีโอกาสที่ห่วงจะหลุดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการตั้งครรภ์ได้ จึงต้องหมั่นสังเกตอยู่เสมอ
เปรียบเทียบกับยาคุมแบบฝัง
ราคา : สูง
ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด : สูง
ความถี่ : 5 - 10 ปี
ดูราคาใส่ห่วงอนามัย คลินิกที่นี่
ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะ คือการแปะแผ่นยาคุมที่มีตัวยาเป็นฮอร์โมนประเภทเดียวกับยาคุมชนิดเม็ดและยาคุมแบบฉีด จึงมีกลไกการป้องกันการตั้งครรภ์ที่คล้ายกัน สามารถใช้แปะบริเวณผิวหนังตามส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อให้ตัวยาดูดซึมตัวเข้าในกระแสเลือด อาจจะสามารถมองเห็นจากภายนอกได้ แต่ยาคุมแบบฝัง ไม่สามารถมองเห็นได้ เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบกินยาหรือฉีด ไม่เหมาะกันคนท้วมหรือมีน้ำหนักตัวเยอะ
เปรียบเทียบกับยาคุมแบบฝัง
ราคา : ต่ำ
ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด : ปานกลาง
ความถี่ : ทุกสัปดาห์
*คลินิกยังไม่มีให้บริการค่ะ
ยาคุมแบบฝังเป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวชนิดนึง บทความนี้เปรียบเทียบยาคุมแบบฝังกับการคุมกำเนิดชนิดอื่นๆ หากใครยังไม่มั่นใจว่าตัวเองเหมาะกับการใช้ยาคุมแบบไหน ก็ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะได้วางแผนอย่างเหมาะสม เพราะการฝังยาคุมนั้นก็จะมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงไม่ว่าจะเป็นผลข้างเคียงฝังยาคุมกำเนิด และวิธีการปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุมกำเนิดที่สาวๆต้องรู้
สำหรับท่านที่สนใจคุมกำเนิดด้วยฝังยาคุม อินทัชเมดิแคร์พร้อมที่จะให้คำแนะนำโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมพยาบาลและสหวิชาชีพด้านต่างๆ ที่มีประสบการณ์ รอให้บริการเพื่อให้คุณมั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากที่สุด โดยสามารถค้นหาได้จาก คลินิกฝั่งยาคุมใกล้ฉัน ใน google ได้เลยค่ะ
เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 10/07/2023