วัคซีนบาดทะยักเป็นวัคซีนที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย วัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนที่อยู่ในโปรแกรมพื้นฐานที่ต้องมีการฉีดให้กับเด็กทารก เป็นผลให้การระบาดของบาดทะยักน้อยลง นอกจากนั้นวัคซีนบาดทะยักจำเป็นต้องมีการรักษาภูมิคุ้มกันไว้ตลอดทำให้ต้องมีการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับผู้ใหญ่ หรือหลังจากที่ได้รับวัคซีนจนครบขนาดของยาในวัยเด็กแล้ว โดยในวัยผู้ใหญ่จะต้องมีการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุกๆ 10 ปี
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจและรู้จักกับโรคบาดทะยักกันก่อนนะคะ เพื่อที่จะได้ทราบอาการและสาเหตุ รวมไปถึงความรุนแรงของบาดทะยักด้วย เมื่อเรารู้ที่มาที่ไปแล้วก็จะได้หาวิธีป้องกันที่ถูกต้องไว้ได้ทันท่วงที
บาดทะยัก (Tetanus) คือ โรคติดเชื้อที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคทางประสาทและกล้ามเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Clostidium tetani ซึ่งผลิต exotoxin ที่มีพิษต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
ทำให้มีการหดเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา เริ่มแรกกล้ามเนื้อขากรรไกรจะเกร็ง ทำให้อ้าปากไม่ได้ โรคนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคขากรรไกรแข็ง (lockjaw)
(อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข)
แผลสดที่มีสิ่งแปลกปลอมค้างเช่น ฝุ่น อุจาระ น้ำลาย
แผลที่มีวัตถุค้างเช่น ตะปูดำ เข็มตำ หรือกิ่งไม้ดำ หรือ
อาจจะเกิดจากของมีคมบาด
แผลไฟไหม้
แผลบดทับทำให้เกิดเนื้อตาย
สัตว์กัดเช่น สุนัข แมว ค้างคาว หนู
แผลเรื้อรังมีเนื้อตายหรือออกซิเจนเข้าไม่ถึงได้แก่
แผลเบาหวาน ฟันผุ หูชั้นกลางอักเสบ
เช้าเข้าผ่านทางสายสะดือ
ไม่ทราบสาเหตุ
ปวด คล้ายปวดกล้ามเนื้อ
มีปัญหาในการกลืนอาหาร การอ้าปาก หรือการหายใจ
มีไข้สูง มีเหงื่อออก หงุดหงิดง่าย
มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเป็นระยะๆ คอเกร็ง หลังเกร็ง
มีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น เหงื่อแตก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
มีอาการเกร็งรุนแรงจนกล้ามเนื้อสลายตัว หรือจนถึงขั้นกระดูกหัก
กล้ามเนื้อหลังหดจนทำให้หลังค่อม
เป็นตะคริว เป็นลมชัก
" บางรายมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ ทำให้ผู้ป่วยหายใจเองไม่ได้ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อ หรือมีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติที่รุนแรง "
ดังนั้น หากเคยฉีดวัคซีนครบมาก่อนแล้ว และได้ฉีดกระตุ้นไป 1 เข็มในช่วงนี้ หลังจากนี้ หากเกิดบาดแผลเล็กๆ แผลไม่สกปรก แผลไม่ลึก ก็ไม่ต้องฉีดวัคซีนไปได้อีกนานเป็น 10 ปี
2. แต่หากในสมัยเด็ก ได้รับวัคซีนไม่ครบตามกำหนด ควรฉีดวัคซีนบาดทะยักให้ครบ 3 เข็ม และหลังจากนั้น จะฉีดกระตุ้นตามลักษณะของบาดแผลดังข้อ 1
อ้างอิงข้อมูล : แพทย์หญิงสลิล ศิริอุดมภาส, การพิจารณาฉีดวัคซีนบาดทะยัก (ถามแพทย์)
1. หญิงมีครรภ์ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยักมาก่อน ควรฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง ครั้งละ 0.5 มล. โดย
เข็มที่ 1ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ จะเป็นระยะตั้งครรภ์เดือนไหนก็ได้
เข็มที่ 2 ฉีดห่างจากเข็มที่ 1 อย่างน้อย 1 เดือน
เข็มที่ 3ฉีดห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 6 เดือน แต่หากฉีดไม่ทันในขณะตั้งครรภ์ให้ฉีดหลังคลอด
สรุป คือ ฉีด 3 เข็ม ระยะห่าง 0, 1, 6 เดือนและให้วัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี
อ้างอิงข้อมูล : ธีราพร ชนะกิจ.คำถามที่พบบ่อยในการให้วัคซีนในหญิงมีครรภ์ FAQs: Vaccination in pregnancy. อาจารย์กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นอกจากนี้ก่อนการฉีดวัคซีนบาดทะยัก ต้องมีบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ดูแล ตรวจความพร้อมของร่างกาย หลังการฉีดวัคซีนควรพักบริเวณจุดให้บริการเป็นเวลา 30 นาที เพื่อเฝ้าดูอาการให้แน่ใจว่าไม่มีการแพ้รุนแรง จึงกลับบ้านได้ค่ะ
หากต้องการฉีดวัคซีนบาดทะยักหรือสอบถามรายละเอียด
ทักแชทมาได้ทุกช่องทาง เรายินดีให้บริการค่ะ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 26/06/2024