โรคเริม (Herpes) เกิดจากอะไร อาการของโรคเริม และวิธีการรักษา

โรคเริม เกิดจากอะไร

โรคเริมเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ง่าย เมื่อเป็นเริมแล้วยากที่จะหายขาด เพราะเป็นแล้วมักจะกลับมาเป็นซ้ำใหม่ได้อีก เพราะเชื้อจะแฝงอยู่ในร่างกาย แฝงอยู่ในเซลล์ประสาท เป็นเชื้อที่สามารถหลบระบบภูมิคุ้มกันได้นานเป็นหลายปี

เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับเริมที่คุณควรรู้


พบแพทย์ ที่อินทัชเมดิแคร์

โรคเริมเกิดจากอะไร

เริม (Genital herpes) เป็นติดต่อทางผิวหนังและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส ซิมเพล็กซ์ ไวรัสชนิดนี้จะติดต่อเข้าสู่เยื่อบุ เช่น อวัยวะเพศ ช่องปาก หรือเยื่อบุตาโดยตรง หรือผ่านเข้าทางรอยถลอกของผิวหนังก็ได้ ระยะฝักตัว 3-7 วัน


โรคเริมเป็นได้ที่ไหนบ้าง

เริมเป็นได้ที่ไหนบ้าง

  • เริมที่รอยต่อของผิวหนังกับเยื่อเมือก (mucous membrane) เช่น เริมที่ริมฝีปาก เริมที่ปาก เริมที่รูจมูก 

  • เริมเกิดโดยตรงที่เยื่อเมือก เช่น เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุตา กระจกตา ช่องคลอดทวารหนักและรอบ ๆ ปากทวารหนัก ปลายอวัยวะเพศชายหรือบริเวณใกล้เคียง

  • เริมบริเวณอวัยวะเพศทั้งหญิงและชาย เช่น ที่ภายนอกของลำก้านลึงค์ ที่แคมของอวัยวะของหญิง ทั้งแคมใหญ่และแคมเล็ก ในเพศหญิงมักจะพบบ่อยกว่าชาย และมีอาการแสบร้อนมากกว่า


 

เชื้อเริมมีกี่ชนิด

เชื้อเริม หรือ Herpes มี 2 ชนิด คือ

โรคเริมมักเกิดบริเวณปากและผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไป พบได้ในเด็กและผู้ใหญ่ เชื้อตัวนี้ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ติดต่อโดยการสัมผัส เมื่อมีการร่วมเพศทางปากมากขึ้น เชื้อชนิดนี้ก็สามารถทำให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศได้

เชื้อเริมมักเกิดบริเวณอวัยวะเพศ และติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์


เริมที่ปาก เริมที่ริมฝีปาก

เริมที่ปาก

เริมที่ปาก เป็นการติดเชื้อบริเวณช่องปาก, ริมฝีปาก และบริเวณหน้าปาก เป็นบริเวณมีการติดเชื้อเริมบ่อยกว่าอวัยวะอื่น ๆ การติดเชื้อครั้งแรกส่วนใหญ่จะพบในเด็กเล็ก อายุระหว่าง 1-4 ขวบ มีน้อยที่จะพบการติดเชื้อในผู้ใหญ่ ส่วนมากจะเกิดจากเชื้อเฮอร์ปีส ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 1 (HSV-1)

เริมอวัยวะเพศหญิง

เริมที่อวัยวะเพศหญิง

เริมที่อวัยวะเพศหญิงมักจะรุนแรงกว่าในผู้ชาย  เพราะความเปียกขึ้นของอวัยวะเพศ ตุ่มเริมไม่ได้เกิดเฉพาะที่อวัยวะเพศหญิงภายนอกเท่านั้น จะมีอาการบวมด้วยและมักจะลามเข้าไปในช่องคลอด ลามเข้าไปจนถึงปากมดลูกและคอมดลูก อันจะนำไปสู่การกลายเป็นมะเร็งของปากมดลูกต่อไปในอนาคต

เริมอวัยวะเพศชาย เป็นตุ่ม

เริมที่อวัยวะเพศชาย

เริมที่อวัยวะเพศชาย เป็นตุ่มแบบกลุ่มๆ จะมีจำนวนประมาณ 5-10 ตุ่ม บริเวณขอบหนังหุ้มปลายองคชาติ กระจายอยู่ทั่วผิวหนังหรือตลอดความยาวขององคชาติ และหากอาการรุนแรงจะกินเข้าไปในบริเวณท่อปัสสาวะทำให้เป็นแผล ทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ ถ่ายปัสสาวะขัดและมีอาการเจ็บแสบ อาจจะมีหนองจาง ๆ หรือไม่มีหนองเลยก็ได้

รับบริการที่อินทัชเมดิแคร์คลินิก

อาการของโรคเริม

อาการเริ่มต้นของโรคเริม จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่ได้รับเชื้อ อาการติดเชื้อที่ปากและที่อวัยวะเพศจะเหมือนๆ กันเพียงแต่ขึ้นกันคนละที่ อาการจะแบ่งเป็น การเป็นครั้งแรก ระยะปลอดอาการ และอาการกลับเป็นช้ำ  อาการของโรคเริมเป็นอย่างไร

อาการของโรคเริมเป็นอย่างไร

การเป็นครั้งแรก

หากไม่เคยเป็นเริมมาก่อน อาการมักรุนแรงและเป็นระยะเวลายาวนาน อาการเริ่มต้นของเริมคือระคายเคือง แสบผิวหนัง เป็นปื้นแดง และจะมีตุ่มแดงเกิดขึ้น ตุ่มน้ำใสอยู่เป็นกระจุกอย่างรวดเร็ว และจะกลายเป็นตุ่มหนอง เมื่อตุ่มแตกเป็นแผลจะมีอาการแสบและเจ็บมาก

อาจมีความรู้สึกไม่สบาย มีใข้ต่ำ ๆ ในบางคนจะมีอาการของระบบประสาทด้วย เช่น ปวดร้าวตามขา ปัสสาวะไม่ออก ชาบริเวณกันกบ แผลจะเป็นอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์จึงหาย

ระยะปลอดอาการ

ช่วงนี้เชื้อจะอยู่ในร่างกายที่ไม่เกิดอาการอะไร เรียกว่า ระยะสงบ (Latent phase) ไวรัสจะไม่แสดงตนว่าทำให้ติดเชื้อ แต่เชื้ออาจจะแบ่งตัวและสามารถติดต่อได้ โดยเฉพาะเชื้อที่อวัยวะเพศแม้ว่าจะไม่มีผื่น

อาการกลับมาเป็นซ้ำ

การกลับมาเป็นซ้ำของโรคเริม จะมีอาการน้อยกว่าและบริเวณที่เป็นพื้นที่จะน้อยกว่าในครั้งแรกๆ ไม่ค่อยมีไข้และมักเป็นบริเวณใกล้กับที่เดิม โดยเฉพาะที่อวัยวะเพศอาจจะกลับเป็นช้ำได้ง่าย


อ่านเพิ่มเติม : 
การกลับมาเป็นซ้ำของเริม!
เกิดจากอะไร 
ทำไมเป็นแล้วไม่หาย!


 

วิธีรักษาโรคเริม

  • แพทย์จะให้ยารับประทานเพื่อลดความรุนแรง ลดความถี่ และลดระยะเวลาที่เป็น โดยให้ยาลักษณะ คือการให้ยาตั้งแต่เริ่มมีอาการปวดแสบ ปวดร้อน โดยที่ยังไม่มีผื่นขึ้น และการให้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นช้ำในรายที่เป็นซ้ำบ่อย หรือมีโรคประจำตัว

  • ให้ยาต้านไวรัส ช่วยเร่งการฟื้นฟูผิวหนังแผลจากเริม บรรเทาความรู้สึกเจ็บปวด คัน หรือแสบ 

  • ให้ยาบรรเทาอาการปวด และลดไข้

  • วิธีการรักษาอื่นที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ตามที่แพทย์พิจารณาเฉพาะบุคคลไป


พบแพทย์ ดีกว่าซื้อยากินเอง

เมื่อสงสัยว่าเป็นเริม ควรทำอย่างไร

การตรวจรักษาเร็วจะเป็นประโยชน์ต่อคนไข้เพื่อช่วยยับยั้งไม่ให้โรคเริมลุกลาม อีกทั้งยังช่วยลดอาการคัด แสบ เจ็บบริเวณที่เป็น หากผู้ที่เคยเป็นโรคเริมหากมีอาการแม้เพียงนิดเดียว ควรรีบเข้ารับการตรวจรักษา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ


หมอเคยพบเคสคนไข้ มาหาหมอด้วยอาการรู้สึกแสบๆ และมีแผลที่อวัยวะเพศ ซักประวัติพบว่าไปร้านขายยาได้ยาเหน็บกับยาสเตียรอยด์มาทา 1 สัปดาห์ อาการไม่ดีขึ้น แผลลาม เลยมาตรวจ ภายใน ลักษณะของแผลเหมือนโรคเริมอวัยวะเพศ หมอจึงให้ตรวจยืนยันด้วยการตรวจ STD พบเป็นเชื้อเริมจริง

หมอรักษาอาการด้วยการจ่ายยากินและยาทาไป อาการค่อยๆ ดีขึ้น จนแผลหายค่ะ 

และได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่าปกติแล้วโรคเริมห้ามทายาสเตียรอยด์จะทำให้แผลลุกลามมากกว่าเดิมและไม่หายค่ะ

- แพทย์หญิงวรางคณา วิวัลย์ศิริกุล แพทย์ประจำอินทัชเมดิแคร์คลินิก -


ผู้ที่เคยเป็นโรคเริมหรือเป็นอยู่ จะมีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายโดยอาจจะไม่แสดงอาการใดๆ และสามารถแพร่เชื้อให้ ลูกหลาน ญาติ คนที่คุณรักได้ตลอดเวลา 


คลินิกรักษาโรคเริม

คลินิกรักษาโรคเริม

อินทัชเมดิแคร์เป็นคลินิกรักษาโรคเริม รักษาเริมที่อวัยวะเพศ รักษาเริมที่ปาก  เมื่อเป็นเริมแล้วก็ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีรักษาเริมให้หายขาดก็ตาม

คลินิกที่รักษาด้านนรีเวชหรือคลินิกรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เปิดให้บริการโดยแพทย์เป็นผู้หญิงที่มีความเชี่ยวชาญ เป็นกันเอง คนไข้ไม่ต้องกังวลใจหรือเขินอายเมื่อมารับการรักษาค่ะ

คนไข้สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับคลินิกโรคเริม ใกล้ฉัน พร้อมประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นได้ ผ่านทางแชทบนหน้าเว็ปไซต์ หรือ โทรสายด่วน 081-562-7722 ตลอดเวลาทำการของคลินิก ข้อมูลของคนไข้เป็นความลับ ให้บริการทุกเพศทุกวัยอย่างใส่ใจ สามารถโทรนัดหมายก่อนเข้ารับบริการหรือ walk in ได้เลยค่ะ


 

บทความที่น่าสนใจ


 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

 


เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
  แก้ไขล่าสุด : 14/11/2024
  อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com

free website counter

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้