วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ หรือเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ควรทําอย่างไร

วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ

วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ ไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อทราบว่าตัวเองตั้งท้อง นอกจากต้องไปฝากครรภ์แล้ว คุณแม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีอะไรบ้างที่ควรทำหรือเป็นข้อห้ามที่ไม่ควรทำ  


ทั้งเรื่องการกินอาการ การกินยา
รวมถึงการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆ
ก็จะต้องปรับเปลี่ยน 
เพื่อไม่ให้กระทบกับครรภ์ของคุณแม่ค่ะ 

ซึ่งในบทความนี้อินทัชเมดิแคร์ก็มีวิธีดูแลตัวเองตอนตั้งครรภ์มาฝากคุณแม่มือใหม่ด้วยค่ะ


วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ ที่คุณแม่ต้องรู้


สิ่งที่ควรปฏิบัติระหว่างตั้งครรภ์

สิ่งที่ควรปฏิบัติระหว่างตั้งครรภ์

  • ควรเข้ารับการฝากครรภ์ทันที เมื่อทราบว่าตัวเองตั้งท้อง

  • ก่อนหยุดใช้ยาหรือเริ่มใช้ยาตัวใหม่ควรปรึกษาแพทย์ที่ตัวเองฝากท้องด้วยทุกครั้ง

  • รับประทานวิตามินที่มีกรดโฟลิกวันละ 0.4-0.8 มิลลิกรัม ตามคำแนะนำของแพทย์ที่รับฝากครรภ์

  • เมื่ออายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ ผู้ตั้งครรภ์ควรสังเกตการเคลื่อนไหวของทารกทุกวัน โดยจะพบว่าทารกมีการดิ้นในช่วงกลางคืนมากกว่าช่วงอื่นของวัน หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปฏิบัติ

  • ระหว่างตั้งท้องควรรับประทานอาหารหลากหลาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพและดื่มน้ำให้เพียงพอ

  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติในระหว่างตั้งครรภ์

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ทั้งแม่และลูกในท้องมีสุขภาพกายและใจที่ดีทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด

  • ไปตามนัดของแพทย์ทุกครั้ง เพื่อจะได้ทราบถึงพัฒนาการของลูกในท้อง ซึ่งเมื่อถึงเวลาคุณหมอจะอัลตร้าซาวน์ครรภ์เพื่อให้ทราบเพศของลูกซึ่งถือเป็นความตื่นเต้นอย่างหนึ่งในชีวิตก็ว่าได้

ฝากครรภ์ ฝากท้อง ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิก
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติระหว่างตั้งครรภ์

สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติระหว่างตั้งครรภ์

  • ไม่ควรสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติดทุกชนิด รวมถึงอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่ด้วย ซึ่งหากคุณพ่อสูบบุหรี่ก็ควรจะเลี่ยงไปสูบไกลๆ หรือหากเลิกได้ก็จะเป็นผลดีมากไม่ว่าจะเป็นระหว่างตั้งครรภ์หรือว่าหลังคลอดออกมาแล้ว

  • ไม่ควรรับประทานเนื้อปลาที่ผสมสารปรอท

  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนและทำซาวน่า

  • งดใช้สารเคมีทุกอย่าง 


  
การใช้ยาใดๆ ในช่วงที่ตั้งครรภ์นั้นควรต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะเป็นระยะที่ทารกกำลังมีพัฒนาการของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายทั้งในแง่ของโครงสร้างและการทำงาน

ยาหรือสารต่างๆ ที่คุณแม่รับประทานไปนั้นสามารถผ่านไปสู่ทารก ซึ่งอาจก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิดได้

ข้อแนะนำการใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์

ข้อแนะนำการใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์

ในช่วงตั้งท้องคุณแม่ควรจะรับประทานยาเท่าที่จำเป็น   อาการบางอย่าง เช่น แพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว นอนไม่หลับ อาการเหล่านี้อาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่ถ้าจำเป็นต้องรับประทานยาชนิดใด ควรใช้ยาในปริมาณที่น้อยที่สุด

ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง  หากไม่แน่ใจว่ายาตัวนั้นจะมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่ ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งในการซื้อยาหรือรับบริการทางการแพทย์ รวมถึงปรึกษาแพทย์ที่รับฝากครรภ์ด้วย


  ฝากครรภ์ ฝากท้อง กับอินทัชเมดิแคร์ สอบสอบได้เลยค่ะ


วิธีดูแลตัวเองช่วงตั้งครรภ์

  1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 

  2. เลือกการบริโภคที่ดี 

  3. ใส่ใจกับการออกกำลังกาย

  4. การพักผ่อน

  5. เช็คความรู้สึกคุณพ่อ 

  6. เริ่มเตรียมการสำหรับทารก

  7. บันทึกความรู้สึกของคุณ


ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

วิธีดูแลตัวเองช่วงตั้งครรภ์ อย่างแรกคือการฟังคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้บริการดูแลก่อนคลอด โดยคุณต้องเลือกคนที่คุณไว้วางใจในเรื่องสุขภาพของคุณและลูก ดังนั้นให้ทำตามคำแนะนำอย่างจริงจังและปฏิบัติตามแนวทางที่ทีมแพทย์ให้ไว้ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย โภชนาการ และสุขภาพ

ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

ควรเข้ารับการตรวจก่อนคลอดตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอและพูดคุยกับคุณหมอประจำคลินิกฝากครรภ์ หากคุณมีคำถามหรือข้อกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของคุณ


ควรถามกับทีมแพทย์ที่ดูแลคุณเป็นหลัก
เพราะจะเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีและถูกต้อง
ที่คุณควรนำไปใช้และมีประโยชน์


  บทความที่คุณควรอ่านเพิ่มเติม : คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝากครรภ์


เลือกการบริโภคที่ดี

การกินอาหารที่ประกอบด้วยคุณค่าทางโภชนาการครบครันจะมีประโยชน์มาก เพราะสารอาหารจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการแก่ลูกน้อย คุณจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อกินผัก ผลไม้ โปรตีนไร้มัน ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ และธัญพืชเต็มเมล็ดในปริมาณที่มากพอ

ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณปฏิบัติตามคำแนะนำด้านอาหารที่แพทย์ให้ครบถ้วนไหม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษหรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษค่ะ


ใส่ใจกับการออกกำลังกาย

ใส่ใจกับการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญของการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และควรเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรของคุณ ไม่ว่าคุณจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม


สตรีมีครรภ์ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิก
ระดับความเข้มข้นปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ 

การออกกำลังกายสามารถช่วยให้สดชื่นแจ่มใสและช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น เพียงแต่ต้องปรึกษากับแพทย์ก่อนและควรอยู่ในระดับความปลอดภัย อาจให้แพทย์ช่วยประเมินภาวะร่างกายของคุณด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณไม่ได้เคลื่อนไหวมากนักก่อนตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์จึงไม่ควรหักโหม ค่อยเป็นค่อยไป ให้ร่างกายปรับตัวได้


การพักผ่อน

การพักผ่อนเป็นส่วนสำคัญของการดูแลตัวเองตอนท้อง สตรีมีครรภ์จำนวนมากเผชิญกับความอ่อนล้าระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งทำให้รู้สึกร่างกายทรุดโทรม


หากทำได้ให้ลองกำหนดเวลา
งีบระหว่างวัน 
เพื่อให้นอนหลับได้มากขึ้น
และฟื้นฟูพลังงาน

การออกกำลังกายอาจช่วยให้คุณหลับได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ควรออกกำลังกายใกล้เวลานอนมากเกินไป ฝึกสุขอนามัยในการนอนหลับที่ดี และให้แน่ใจว่าคุณเข้านอนเร็วพอที่คุณจะได้นอน 7-9 ชั่วโมงก่อนตื่นนอน


เช็คความรู้สึกคุณพ่อ

เช็คความรู้สึกคุณพ่อ

อย่าลืมตรวจสอบความรู้สึกของคุณพ่อบ่อยๆ คุณอาจเป็นคนตั้งครรภ์ก็จริง แต่คุณพ่อก็มีความรู้สึก ความคิด และความกังวลเกี่ยวกับเด็กที่กำลังจะเป็นสมาชิกใหม่

คุณและคู่ของคุณสามารถทำหน้าที่เป็นระบบสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับตัวและการดูแลหลังคลอดประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วย


ฝากครรภ์ ฝากท้อง ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิก

เริ่มเตรียมการสำหรับทารก

คุณแม่และคุณพ่อต้องเริ่มจัดเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงลูกน้อย รวมไปถึงของใช้เด็ก และอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกน้อยง่ายขึ้น


เป็นวางแผนล่วงหน้า
ซึ่งสามารถช่วยลดความวุ่นวาย
และลดความวิตกกังวล 
ในช่องใกล้คลอดได้

แต่ก็อย่าเครียดกับการตรวจสอบทุกรายการ ให้ความสำคัญกับสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน


บันทึกความรู้สึกของคุณแม่

บันทึกความรู้สึกของคุณ

ผู้หญิงหลายคนพบว่าการเขียนความรู้สึกลงในบันทึกส่วนตัวมีประโยชน์ในการจัดการความเครียดและอารมณ์ นอกจากนี้ยังทำให้เป็นของที่ระลึกที่ดีอีกด้วย

คุณสามารถมองย้อนกลับไปและอ่านว่าคุณแม่รู้สึกอย่างไรในช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นนี้ของชีวิต

การจดบันทึกสามารถช่วยให้คุณติดตามอาการต่างๆ เช่น แพ้ท้องหรือความเมื่อยล้า การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อให้คุณสามารถบอกข้อกังวลของคุณกับแพทย์ได้


เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับวิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ หรือวิธีดูแลตัวเองช่วงตั้งครรภ์ หากปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องตามที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งคุณแม่และลูกน้อยก็จะมีสุขภาพที่ดี ความเสี่ยงน้อย เมื่อตรวจหลังคลอดก็มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาด้านสุขภาพน้อยกว่าหรือไม่มีเลย รู้แบบนี้แล้วอย่าลืมดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ


บทความที่น่าสนใจ


เรียบเรียงโดย อินทัเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
  แก้ไขล่าสุด : 15/05/2024

free counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้