ตรวจคัดกรองเบาหวาน รู้ทัน ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน

ตรวจคัดกรองเบาหวาน รู้ทัน ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน

ตรวจคัดกรองเบาหวานถือเป็นอีกหนึ่งในทางเลือกที่ช่วยป้องกันคุณเองจากการเป็นโรคเบาหวาน โรคเรื้อรังที่พบมากในประชากรไทย หากตรวจพบว่าเป็นเบาหวานก็ยังสามารถรักษาได้ทันเพื่อไม่ให้เกิดปัจจัยเสี่ยงอย่างโรคเรื้อรัง อย่างโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เส้นประสาทเสื่อม ไตเสื่อม ไตวาย หรือเบาหวานขึ้นจอตาซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้เลย ซึ่งโรคเหล่านี้ถือเป็นโรคที่อันตรายมาก

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองเบาหวาน


ตรวจคัดกรองเบาหวาน

ตรวจคัดกรองเบาหวาน ตรวจอะไรบ้าง?

การตรวจคัดกรองเบาหวานนั้นสามารถทำได้มีหลายวิธี โดยแพทย์จะทำการซักประวัติและสอบถามเพื่อประเมินความเสี่ยงจากประวัติสุขภาพ ประวัติครอบครัว และตรวจร่างกาย จากนั้นอาจจะพิจารณาการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธี การเจาะเลือดวัดระดับตาลที่ปลายนิ้ว หรือการเจาะระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดน้ำ งดอาหาร ซึ่งการตรวจคัดกรองเบาหวานเพิ่มเติมจะมี 3 วิธี ดังต่อไปนี้


สนใจเข้ารับบริการ

 

1. การตรวจระดับน้ำตาลสะสม หรือ ระดับน้ำตาลเฉลี่ย

น้ำตาลสะสม หรือน้ำตาลเฉลี่ย หรือฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C) คือ ระดับน้ำตาลในช่วง 2-3 เดือน ที่ผ่านมา ค่าน้ำตาลเฉลี่ยจะช่วยให้แพทย์ในการเฝ้าระวังติดตามผู้ป่วยเบาหวานว่าสามาถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพียงใด ควบคู่ไปกับการดูระดับน้ำตาลหลังงดอาหาร 6 - 8 ชั่วโมง ในผู้ป่วยเบาหวานแนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลสะสมอย่างน้อย ปีละ 2 - 4 ครั้ง โดยสามารถพิจารณาค่าน้ำตามได้ ดังนี้

  • ค่าปกติ ต้องมีค่าน้ำตาลเฉลี่ยน้อยกว่า 5.7 %

  • ผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน จะมีค่าน้ำตาลเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 5.7 - 6.4 % (หากค่ายิ่งสูงจะยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น)

  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน จะมีค่าน้ำตาลเฉลี่ย มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 %

2. การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar)

การตรวจวิธีนี้เป็นวิธีการวัดระดับน้ำตาลในเลือดมีค่า หลังงดน้ำและงดอาหาร อย่างน้อย  8 ชั่วโมง

การตรวจคัดกรองเบาหวานด้วยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar)
  • ผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดในเกณฑ์ปกติ จะมีค่าน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 

  • ผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 100 - 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร พบว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน

  • ผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน


สนใจตรวจคัดกรองเบาหวาน ทักแชท


3. การทดสอบความทนทานต่อระดับน้ำตาล (Glucose Tolerance Test)

โดยวิธีการตรวจ ผู้ป่วยจะต้องงดรับประทานอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล ในวันที่เข้ารับการตรวจ เจ้าหน้าที่จะเจาะเลือดผู้ป่วยเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด จากนั้นจึงให้ดื่มสารละลายน้ำตาลกลูโคส หลังรับประทานสารละลายกลูโคส 75 กรัม และรอตรวจระดับน้ำตาลอีกครั้งเมื่อครบ 2 ชั่วโมง โดยทั่วไประดับน้ำตาลในเลือดจะกลับสู่ระดับปกติ คือ ค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตรภายใน 2 ชั่วโมง

  • ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 140-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน

  • ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะถือว่าเป็นโรคเบาหวาน

*ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานและโรคเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติ แม้จะตรวจหลังผ่านไป 2 ชั่วโมงแล้ว


ราคาตรวจคัดกรองเบาหวาน

ราคาตรวจคัดกรองเบาหวาน ที่อินทัชเมดิแคร์

ค่าบริการตรวจคัดกรองเบาหวาน ราคา 850 บาท ซึ่งราคานี้จะมีรายการตรวจคือ

1. ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ / Physical Examination

2. ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด  Glucose / FBS

ราคาตรวจคัดกรองเบาหวานตามรายการข้างต้นรวมค่าแพทย์และบริการทางคลินิกแล้ว

หมายเหตุ : ทั้งนี้ราคาตรวจคัดกรองเบาหวานอาจแตกต่างกันไปในคนไข้แต่ละคน ขึ้นกับดุลยพินิจแพทย์

นัดหมายเข้ารับบริการ

การตรวจคัดกรองเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์

หลายคนอาจไม่ทราบว่าการตั้งครรภ์ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดโรคเบาหวาน เนื่องจากฮอร์โมนของรกนั้นสามารถทำการต้านอินซูลินได้ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ คุณแม่จึงต้องให้ความสำคัญกับการตรวจคัดกรองเบาหวาน โดยการตรวจจะใช้ 2 วิธี ดังนี้ คือ

  1. 50g glucose challenge test (50g GCT)

  2. 100-gram oral glucose tolerance test (OGTT)

ตรวจคัดกรองเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์

การตรวจคัดกรองเบาหวานในคุณแม่ตั้งครรภ์จะใช้วิธี 50g glucose challenge test (50g GCT) โดยจะต้องทำตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ารับการฝากครรภ์ ซึ่งหากอยากทราบว่าตัวของคุณแม่นั้นมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะสามารถพิจารณาได้จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) หากวัดแล้วได้มากกว่า 23 อาจต้องพิจารณาต่อจากปัจจัยเสี่ยง

หากไม่ได้มีความเสี่ยงจะให้ทำการตรวจคัดกรองที่อายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ (ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์) โดยเริ่มจากการทดสอบ 50-gram glucose challenge test ตามด้วยการทดสอบ 100-gram oral glucose tolerance test เฉพาะในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ


สนใจเข้ารับบริการ

เบาหวานเป็นโรคทางพันธุกรรมไหม?

เบาหวานที่ส่งต่อทางพันธุกรรม

โรคเบาหวาน ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่สามารถส่งต่อทางพันธุกรรมได้ ซึ่งที่สามารถพบได้จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หากตัวพ่อหรือแม่เองมีอาการป่วยเป็นโรคเบาหวานก็มีโอกาสสูงที่ลูกจะเป็นโรคเบาหวานด้วย โดยเฉพาะในฝาแฝดหากใครคนใดคนหนึ่งเป็นโอกาสที่อีกคนจะเป็นเบาหวานด้วยก็สูงถึงร้อยละ 90 เลยทีเดียว ซึ่งการเกิดเบาหวานทางพันธุกรรม นั้นอาจรวมไปถึงปัจจัยทางสภาพแวดล้อมด้วย หรือพฤติกรรมของผู้ป่วยเองด้วย เช่น การรับประทานอาหาร หรือไม่ชอบขยับตัวจึงเกิดการสะสมไขมันมากเกินความจำเป็น

  ถึงแม้ว่าเบาหวานจะสามารถส่งต่อผ่านพันธุกรรมได้ แต่หากคุณดูแลสุขภาพของตนเองอย่างดี ก็มีโอกาสลดความเสี่ยงของการเกิดเบาหวานได้เช่นกัน  


กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน สามารถพิจารณาจากปัยจัยต่างๆได้ดังนี้

การตรวจคัดกรองเบาหวานในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะอ้วนหรือลงพุง
  • เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป

  • อ้วนหรือลงพุง (*อ้วนเป็นภาวะที่ร่างกายหรือไขมันมากกว่าปกติ โดยวัดจากค่าดัชนีมวลกาย)

  • มีพ่อแม่พี่น้อง ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

  • คุณแม่ที่เคยเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรที่น้ำหนักตัวเกิน 4 กิโลกรัม

  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือ กำลังรับประทานยาควบคุมความดันโลหิต

  • มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิเมตร และ ต่อเอชดีแอลคอเลสเตอรอลน้อยกว่า 35 มิลลิกรัมต่อเดซิเมตร

ผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • มีประวัติของโรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) เช่น โรคหลอดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดของแขนและขาตีบตัน

  • เคยได้รับการตรวจพบว่า ความทนทานต่อกลูโคสผิดปกติ (Impaired Glucose Tolerance : IGT) หรือ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติในขณะที่มีการงดอาหาร (Impaired Fasting Glucose : IFG)

  • ผู้หญิงที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Poly Cystic Ovarian Syndrome)

  • ผู้ที่มีความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น เป็นโรคอ้วนรุนแรง (Morbid obesity) หรือโรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans)

  • ผู้ที่ป่วยเป็นเอชไอวีหรือโรคเอดส์


ตรวจคัดกรองเบาหวาน งดอาหารกี่ชั่วโมง?

การตรวจคัดกรองเบาหวาน หรือตรวจระดับพลาสมากลูโคส จะต้องงดอาหารข้ามคืน 8-12 ชั่วโมง ซึ่งมักจะตรวจในช่วงตอนเช้าก่อนที่ร่างกายจะรับประทานอาหาร ซึ่งค่าน้ำตาลควรจะไม่เกิน 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร


ควรตรวจคัดกรองเบาหวาน กี่ครั้งต่อปี?

คุณควรมารับการตรวจคัดกรองเบาหวานซ้ำอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นเบาหวานแล้วก็ยิ่งไม่ควรละเลยที่จะมาตรวจสุขภาพซ้ำ 


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย พ.ญ.สุพิชชา  บึงจันทร์
 แก้ไขล่าสุด : 23/01/2024

free web counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้