ข้อดีฝังยาคุมมีหลายอย่าง มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงที่สุดก็ว่าได้ ทั้งแบบที่เป็นฮอร์โมนเดี่ยวและฮอร์โมนรวม สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 3 ปี และ 5 ปี ตามชนิดของฮอร์โมนที่เลือกใช้ นอกจากนี้สาวๆก็ยังต้องรู้ข้อเสียของการฝังยาคุมด้วยว่ามีอะไรบ้าง อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้ค่ะ
ในบรรดาวิธีการคุมกำเนิดทั้งหมดยาฝังคุมกำเนิดถือว่ามีประสิทธิภาพสูงที่สุดก็ว่าได้ ทั้งแบบที่เป็นฮอร์โมนเดี่ยวและฮอร์โมนรวม โดยประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งท้องสูงถึง 99% ตรงกันข้ามกับการกินยาคุม ที่หากลืมกินหรือกินผิดโอกาสพลาดนั้นมีถึง 9% เรียกว่าแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน เป็นข้อดีฝังยาคุมที่อยู่อันดับต้นๆเลยค่ะ
เรื่องผลข้างเคียง เมื่อเทียบกับการฉีดยาคุมหรือกินยาคุมแล้ว การฝังยาคุมจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า โดยผู้ที่ได้รับการฝังเข็มยาคุม ข้อดี คือส่วนใหญ่มักไม่พบอาการเวียนศีรษะ, อาเจียน, คลื่นไส้ หรือเกิดฝ้า ซึ่งอาการข้างเคียงเหล่านี้พบได้บ่อยหากคุมกำเนิดด้วยการกินยาคุมและฉีดยาคุมแล้วเกิดอาการแพ้
อ่านเพิ่มเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ : ผลข้างเคียงฝังยาคุม! มีอะไรบ้าง อ่านด่วน!
การฝังยาคุมกำเนิด นอกจากจะฝังได้ง่ายแล้วยังสามารถถอดยาคุมได้สะดวกอีกด้วย โดยหากต้องการถอดเข็มยาคุมเพื่อยุติการคุมกำเนิดและเข้าสู่ภาวะตั้งครรภ์หรือต้องการเปลี่ยนยาคุมกำเนิดชนิดฝังครั้งต่อไป ก็สามารถทำได้เพียงแค่ฉีดยาชาเฉพาะที่เท่านั้น
หลังจากถอดยาออกแล้วสามารถเข้าสู่ภาวะเจริญพันธุ์ได้ในเวลาไม่นาน ต่างจากวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการมีบุตรหลังใช้ยา นอกจากนี้ยาฝังคุมกำเนิดยังมีข้อกำหนดในการใช้งานน้อย หากต้องการฝังยาคุมหรือถอดยาคุมก็สามารถปรึกษาแพทย์และรับการบริการได้ตลอดเวลาที่ต้องการ
สตรีที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตรก็สามารถเลือกวิธีการคุมกำเนิดด้วยการฝังยาคุม ได้ เนื่องจากตัวยาที่ใช้ไม่มีผลต่อปริมาณการหลั่งน้ำนมรวมถึงไม่ส่งผลต่อสารอาหารในน้ำนมแม่ด้วย
บางคนไม่สามารถใช้การกินยาคุมได้ เนื่องจากมีฮอร์โมนเอสโทรเจนเป็นส่วนประกอบ อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและการดำเนินชีวิตทั่วไป ยาคุมกำเนิดชนิดฝังจึงเหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถใช้ยาคุมแบบเม็ดซึ่งมีฮอร์โมนเอสโทรเจนผสมอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ว่าควรต้องเลือกใช้วิธีไหนในการคุมกำเนิด
ฝั่งยาคุม มีข้อเสียที่คุณผู้หญิงควรศึกษาข้อมูลและพิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจเข้ารับบริการ เพื่อให้การคุมกำเนิดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดปัญหาผลข้างเคียงฝังยาคุมกำเนิด เราได้รวบรวมข้อเสียฝังยาคุมมาให้ประกอบพิจารณก่อนตัดสินใจฝังยาคุมค่ะ
ฝังยาคุมมีข้อเสียอะไรบ้าง
ฝังยาคุม ข้อเสีย คือค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดแบบฉีด ห่วงคุมกำเนิดหรือห่วงอนามัย ฯลฯ
ปัจจุบันผู้หญิงชาวไทยที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี มีสิทธิ์เข้ารับการฝังยาคุมกำเนิดได้ฟรีและไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ตามสิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ในกรณีที่อายุมากกว่า 20 ปี สามารถรับสิทธิ์ฝังยาคุมกำเนิดได้ฟรีเฉพาะกรณีหลังยุติการตั้งครรภ์เท่านั้น)
อ่านเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติม : วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี คุมกำเนิดแบบไหนได้บ้าง?
ปัจจุบันในประเทศไทยมียาคุมกำเนิดชนิดฝังให้เลือกใช้ค่อนข้างน้อย โดยมียาฝังคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมอยู่ด้วยกัน 2 ยี่ห้อ ได้แก่
ยาฝังคุมกำเนิดอิมพลานอน (Implanon) ชนิดฝัง 1 แท่ง ตัวยา Etonogestrel 68 mg. ออกฤทธิ์คุมกำเนิดได้นาน 3 ปี
ยาฝังคุมกำเนิดจาเดล (Jadelle) ชนิดฝัง 2 แท่ง ตัวยา Levonorgestrel 75 mg. ออกฤทธิ์คุมกำเนิดได้นาน 5 ปี
|
สถานพยาบาลที่ให้บริการค่อนข้างน้อยสำหรับการฝังยาคุม ข้อเสียคือไม่สามารถเริ่มหรือยุติการใช้ได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องทำโดยแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น แต่หลายพื้นที่ก็ไม่มีสถานพยาบาลให้บริการจึงทำให้คุณผู้หญิงเข้าถึงบริการนี้ได้น้อย
เมื่อฝั่งยาคุม ผลเสียคือบางรายอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมา เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ (ประจำเดือนมาบ่อยมาก มาแบบกะปริบกะปรอยหรือในบางรายอาจมีปัญหาประจำเดือนขาดช่วงติดต่อกันหลายเดือน)
|
และยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ผู้ฝังยาคุมบางรายอาจรู้สึกปวดแขนข้างที่ฝังยาคุมมากผิดปกติ รอยแผลในบริเวณที่ฝังยาคุมเกิดการอักเสบ มีรอยฟกช้ำ รอยห้อเลือดหรือเกิดรอยแผลเป็นที่บริเวณท้องแขน
จริงอยู่ว่าการฝังยาคุมเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เลือกใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ แต่อย่างไรก็ตามการฝังยาคุมอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคนเสมอไป โดยเฉพาะหากผู้ที่เข้ารับบริการมีภาวะปัญหาด้านสุขภาพเหล่านี้
ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีภาวะมีลิ่มเลือดในหลอดเลือด รวมไปจนถึงผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants)
ผู้ที่มีประวัติของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
มีภาวะเลือดออกจากช่องคลอดหรืออวัยวะอื่นๆ ในร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
ผู้ที่มีโรคตับ มีภาวะตับทำงานบกพร่อง ตับอักเสบ มีเนื้องอกหรือมะเร็งตับ
ผู้ที่อยู่ในระหว่างการรักษาโรคประจำตัวและต้องใช้ยาเพื่อรักษาโรค ซึ่งตัวยาที่ใช้อาจทำให้ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลดลง เช่น ยาสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์ ยารักษาโรคลมชัก ยาปฏิชีวนะบางประเภท ฯลฯ
อาจมีผู้เข้ารับบริการบางกลุ่มที่เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาภายหลังจากการฝังยาคุม เช่น ภาวะซึมเศร้า ความดันโลหิตสูง อาการปวดศีรษะหรือโรคไมเกรน ภาวะโรคหัวใจขาดเลือด ฯลฯ แพทย์จะแนะนำให้ถอดยาฝังคุมกำเนิดออกก่อนกำหนด
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงอรอุมา เพียรผล
แก้ไขล่าสุด : 28/02/2024