ยาเป๊ป ยาต้านเอดส์ฉุกเฉิน ป้องกัน HIV ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา PEP

ยาเป๊ป ยา pep

ยาเป๊ป  (Post-Exposure Prophylaxis) ยาต้านไวรัสเอชไอวีฉุกเฉิน เริ่มยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมงหลังเสี่ยง ซึ่งมีวิธีกินยา การหยุดยา และประสิทธิภาพการป้องกัน เป็นยาต้าน hiv ฉุกเฉิน ที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักกันมากเท่าไรนัก


เนื่องจากเป็นยาที่ต้องทำการสั่งจ่าย
โดยแพทย์และสถานพยาบาลเท่านั้น

ไม่สามารถหาซื้อกินเองได้ 

ดังนั้น ก่อนที่จะได้รับยาต้านเชื้อชนิดนี้ ต้องมีการซักประวัติและตรวจอย่างละเอียดโดยแพทย์ พร้อมทั้งคำแนะนำในการกินยาที่ถูกต้อง เราไปดูกันว่ายาเป๊ป ซื้อที่ไหน ยา pep กินยังไง ผลข้างเคียงเป็นอย่างไร อันตรายหรือไม่ อินทัชเมดิแคร์มีคำตอบให้คุณค่ะ


ยาเป๊ป คืออะไร

ยาเป๊ป (PEP) คืออะไร

เป๊ป หรือ PEP ชื่อย่อมาจาก Post-Exposure Prophylaxis คือ ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) แบบฉุกเฉิน หรือยาต้าน hiv กรณีฉุกเฉินหลังสัมผัสเชื้อ

ที่สำคัญคือต้องกินยาหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส HIV ภายใน 72 ชั่วโมงและกินยาต่อเนื่องนาน 30 วัน 

การสัมผัสเชื้อ HIV ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เนื่องจากเชื้อไวรัส HIV สามารถแบ่งตัวได้เร็วมากภายใน 24-36 ชั่วโมง จึงต้องได้รับยาเร็วที่สุดหลังเกิดเหตุการณ์เสี่ยง และช้าสุดไม่เกินภายใน 72 ชั่วโมง

สูตรยาเป๊ป ที่แนะนำ ประกอบด้วยยา 3 ตัวรวมในเม็ดเดียว ได้แก่ KOCITAF (TAF) 25 mg Emtricicabine (FTC) 200 mg และ dolutegravir (DTG) 50 mg นอกจากนี้ยังมีสูตรยาอื่นๆ อีกซึ่งแพทย์จะปรับยาตามเงื่อนไขของผู้รับบริการแต่ละราย


 

ยา pep ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ได้ดีแค่ไหน

ยาเป๊ปได้รับการยืนยันแล้วว่าสามารถป้องกันการการติดเชื้อได้อย่างน้อย 80%  แต่เนื่องจากยา pep เป็นยาป้องกัน hiv ฉุกเฉินหลังจากเสี่ยงได้รับเชื้อมาแล้ว ประสิทธิภาพของยาจึงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งระยะเวลาเริ่มยายิ่งเริ่มเร็วก็จะป้องกันได้ดีกว่า ลักษณะและระยะเวลาของการได้รับเชื้อ ปริมาณเชื้อในผู้ติดเชื้อหากมีเชื้อมากประสิทธิภาพก็จะน้อยลง เป็นต้น 

 

" ควรกินยาเมื่อฉุกเฉินเท่านั้น
ถ้าเสี่ยงบ่อยแนะนำให้กินยาเพร็พ
(ป้องกันก่อนเสี่ยง)
ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงจะดีกว่า "


  ดูราคา pep คลิกที่นี่ได้เลยค่ะ


กลุ่มเสี่ยงที่ควรใช้ยาเป็ป

กลุ่มเสี่ยงที่ควรใช้ยาเป๊ป

  1. มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย

  2. มีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือออรัลเซ็กส์

  3. ถุงยางแตก ถุงยางรั่ว

  4. สัมผัสเลือดหรือโดนเข็มตำ

  5. มีคู่นอนหลายคน

  6. ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน

  7. โดนข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศ

  8. ได้รับเลือดหรือสารคัดหลั่ง

อ่านเพิ่มเติม : ข้อควรรู้! ใครบ้างควรได้รับยา PEP


การสัมผัสสารคัดหลั่งที่ทำให้ติดเชื้อ

  • เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำคร่ำ และหนอง โดยสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ หรือโดนผิวหนังที่มีแผลเปิด 

  • ส่วนน้ำมูก น้ำลาย น้ำตา เหงื่อ เสมหะ อาเจียน อุจจาระและปัสสาวะ หากไม่ปนเปื้อนเลือดไม่สามารถทำให้ติดเชื้อได้


ผลข้างเคียงยา pep

ผลข้างเคียงยา pep

pep หรือยาป้องกัน hiv ฉุกเฉินมีความปลอดภัยมากหากผู้รับบริการกินยาอย่างถูกต้องและอยู่ในการดูแลของแพทย์ ผลข้างเคียงของยาเป๊ปรุ่นใหม่ไม่รุนแรงเท่ายาในอดีตแล้ว อาการข้างเคียงที่พบได้ เช่น

  • คลื่นไส้

  • อ่อนเพลีย

  • เวียนศีรษะ

  • ถ่ายเหลว

อาการข้างเคียงต่างๆ มักจะเป็นเพียงช่วงแรกของการทานยาและอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง แต่หากอาการรุนแรงมากสามารถแจ้งแพทย์ผู้ดูแลเพื่อให้การรักษาและตรวจเพิ่มเติม

หมายเหตุ : กินยาเพียง 30 วัน จึงไม่ต้องกังวลถึงผลข้างเคียงระยะยาว


"คนไข้ที่มีผลข้างเคียงพบค่อนข้างน้อยค่ะ ส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้ในช่วงแรกๆ หลังทานยาไม่เกิน 7 วัน
หลังจากนั้นก็ไม่มีอาการผิดปกติอะไรค่ะ"
 - แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์  แพทย์ประจำอินทัชเมดิแคร์คลินิก -

 

สนใจ ยาเป๊ป

ก่อนเริ่มกินยา PEP ต้องทำอย่างไร

ข้อควรรู้ก่อนเริ่มกิน ยา pep ยาป้องกันเอดส์ ฉุกเฉิน ผู้รับบริการต้องทำการปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามประวัติ โรคประจำตัว และข้อมูลอื่นๆ และต้องทำการตรวจเลือด HIV เพื่อหาเชื้อไวรัส HIV , ค่าไตและค่าตับ ก่อนกินยาทุกราย และตรวจการตั้งครรภ์ในรายที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้

แนะนำตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆร่วมด้วยเพื่อรักษา เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และตับอักเสบชี ซิฟิลิส หนองใน


กินยาเป๊ปต้องกินอย่างไร กินนานแค่ไหน

เริ่มกิน 1 เม็ดเร็วที่สุดหลังสัมผัสเชื้อ (1-2 ชั่วโมง) ช้าสุดไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังเสี่ยง และกินต่อเนื่องวันละ 1 เม็ดใกล้เคียงเวลาเดิมเป็นเวลา 30 วัน หรือ 4 สัปดาห์

กินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เพียงแต่ต้องเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน


  ดูราคาเป๊ปคลิกที่นี่ได้เลยค่ะ

ระหว่างกินยา PEP ต้องทำอย่างไร

ในระหว่างกิน pep ผู้รับบริการควรงดบริจาคเลือด และใส่ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง หากเกิดความเสี่ยงขึ้นระหว่างทานยาให้ทานยาต่อเนื่องไปก่อนแล้วแจ้งแพทย์ เพื่อปรับเพิ่มระยะเวลากินให้นานขึ้นในบางราย

แนะนำให้สังเกตอาการของการติดเชื้อระยะแรก เช่น ไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ผื่นขึ้น อ่อนเพลียน้ำหนักลด เป็นต้น การติดเชื้อระยะแรกอาจจะยังตรวจไม่พบเชื้อได้ หากมีอาการต้องแจ้งแพทย์เสมอเพื่อวางแผนการติดตามให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล

หลังกินยา pep ครบ 30 วันแล้ว ต้องทำอย่างไร

แพทย์จะมีการนัดตรวจติดตามหลังกินยาเป๊ป  ที่ 1 และ 3 เดือนหลังกินยา เพื่อตรวจ HIV ให้มั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อ และติดตามอาการข้างเคียงที่เกิดได้จากการกินยา

ซึ่งการนัดตรวจหลังกินยามีความสำคัญอย่างมาก ผู้รับบริการควรมาติดตามผลเลือดอย่างสม่ำเสมอ และประเมินความเสี่ยงต่อ หากยังมีแนวโน้มมีพฤติกรรมเสี่ยง แพทย์จะแนะนำให้ผู้รับบริการกินยาเพร็พต่อเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ดียิ่งขึ้น



คำถามที่พบบ่อย
เกี่ยวกับ PEP

ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรกินยาเป๊ปได้หรือไม่

หญิงตั้งครรภ์สามารถกินเป๊ปได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และตัวยาไม่มีผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง


สัมผัสเชื้อมาเกิน 72 ชั่วโมง กินยา pep ได้หรือไม่

สามารถกินได้ แต่ผู้รับบริการต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนเพื่อวางแผนแนวทางการกินยาร่วมกัน และแพทย์จะพิจารณาการกินเป็นรายๆไป


กินยาเป๊ปบ่อยๆ อันตรายหรือไม่

กินยาเป๊ปบ่อยๆ อันตรายหรือไม่

กินยาเป๊ปบ่อยไม่มีความอันตราย แต่เป็นการแสดงถึงแนวโน้มว่าคนไข้มีความเสี่ยงสูง จึงแนะนำให้ทานยาเพร็พจะป้องกันได้ดีกว่า


หยุดกิน pep ก่อน 30 วันได้หรือไม่

สามารถหยุดได้ กรณีที่มั่นใจว่าคู่นอนตรวจไม่พบการติดเชื้อ HIV และไม่มีความเสี่ยงเพิ่มอีก ทั้งตัวผู้รับบริการและคู่นอน


แต่ต้องรับการปรึกษาจากแพทย์
ก่อนหยุดยาทุกครั้ง
และ
แนะนำให้กินครบ 30 วัน
จะปลอดภัยกว่า 


ช่วงอายุที่สามารถรับยาเป๊ปได้

สามารถรับยาได้ทุกช่วงอายุ โดยวัยรุ่นที่มีอายุ 15-18 ปี และน้ำหนักมากกว่า 35 กิโลกรัม สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาเป๊ปได้ หากอายุน้อยกว่า 15 ปี หรือมีน้ำหนักน้อยกว่า 35 กิโลกรัม แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรับสูตรยาให้เหมาะสม


สามารถรับยาเป๊ปได้ที่ไหนบ้าง

ยาเป๊ป เป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้น จึงสามารถติดต่อรับได้ที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาล และคลินิกที่มียาบริการหลังการเสี่ยงติดเชื้อให้เร็วที่สุด


กินยา pep มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม

สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ควรป้องกันอย่างเคร่งครัดโดยใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง กินยาให้ตรงเวลา  เพราะการกินยาไม่ครบหรือผิดเวลา อาจทำให้ยาไม่ได้ผล

หากเป็นไปได้ควรงดมีเพศสัมพันธ์ เพราะระหว่างกินยา PEP ยังไม่สามารถยืนยันได้ 100% ว่าจะป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้สำเร็จ


เป๊ป เป็นยาป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี

PEP เป็นยาป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี HIV แบบฉุกเฉิน หลังได้รับเชื้อหรือหลังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ต้องรีบกินยาภายใน 72 ชั่วโมง และต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 30 วัน

ป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 80% หากต้องการรับยา pep สามารถติดต่อได้ที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล

แนะนำว่าควรติดต่อรับยาให้เร็วที่สุดเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวี 


สนใจ ยาเป๊ป

เอกสารอ้างอิง


บทความที่น่าสนใจ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
 
 แก้ไขล่าสุด : 21/11/2024
  อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com

free web counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้