เชื้อราในช่องคลอดเป็นโรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องเผชิญ อาจไม่ได้ส่งผลเสียที่ร้ายแรง แต่ก็ก่อให้เกิดความรำคาญเนื่องจากอาการคัน เมื่อต้องพบปะผู้คนจะทำให้เสียบุคลิกภาพ ขาดความมั่นใจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ วันนี้อินทัชเมดิแคร์พามารู้จักสาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องคลอด รวมทั้งวิธีป้องกันและดูแลตัวเองกันค่ะ
เลือกอ่านข้อมุลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเชื้อราในช่องคลอด
เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal candidiasis) มีสาเหตุ จากการติดเชื้อรา ที่มีชื่อว่า "แคดิดา แอลบิแคน" (Candida abicans) พบได้ในบริเวณลำไส้ โดยเฉพาะเพศหญิงที่มีทวารหนักอยู่ใกล้กับช่องคลอด ซึ่งทำให้เชื้อกระจายจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอดได้ง่าย
แต่ช่องคลอดมีภาวะความเป็นกรดทำให้เชื้อราไม่สามารถเติบโตได้ ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ภาวะความเป็นกรดของช่องคลอดลดลง เชื้อราก็จะสามารถเพิ่มจำนวนมากขึ้น และจะแสดงอาการตามมา
โรคเชื้อราในช่องคลอดไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะถึงแม้ว่าจะไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เลยก็สามารถติดเชื้อได้อยู่ดีเพราะเชื้อราสามารถเกิดขึ้นได้เองเช่นกัน
คุณผู้หญิงเมื่อเป็นเชื้อราในช่องคลอดไม่ต้องวิตกกังวลมากจนเกินไป เพราะอาการนี้ถือเป็นโรคทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ในผู้หญิง ไม่ได้มีอันตรายจนกลายเป็นโรคร้ายแรง แต่จะก่อให้เกิดอาการรำคาญ เพราะคันมาก
ส่วนใหญ่มักจะคันจนนอนไม่ได้ เกาจนเป็นแผล เป็นอุปสรรคเมื่อมีเพศสัมพันธ์เนื่องจากอาการคัน
การรักษาโดยใช้ยาตามวินิจฉัยของแพทย์ทำให้อาการสามารถหายได้ แต่ผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองให้ได้ ไม่ปล่อยปะละเลยความสะอาด ไม่เช่นนั้นอาการคันจากเชื้อราในช่องคลอดก็จะกลับมาอีกได้
วิธีรักษาเชื้อราในช่องคลอดมีทั้งการใช้ยาเหน็บช่องคลอด เมื่อมีอาการคันและเจ็บปวด ควรใช้ยาฆ่าเชื้อรา ชนิดครีมทาบริเวณรอบๆช่องคลอดและทวารหนัก แต่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนเท่านั้น ไม่ควรซื้อยาใช้เอง เพราะอาจใช้ยามากเกินขนาด หรือได้รับการรักษาที่ไม่ครบถ้วน ทำให้เชื้อราหยุดยั้งไปชั่วขณะแต่ไม่ถูกทำลายหมด ซึ่งจะทำให้เกิดการดื้อยาขึ้น การรักษาก็จะยากขึ้นไปอีก
การรักษาเชื้อราในช่องคลอดนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการไปพบแพทย์ เพราะอาการคล้ายกับปัญหาสุขภาพทางเพศอื่นๆ เช่น การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ หรือช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งโรคเหล่านี้มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน
ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม งดการสวนล้างช่องคลอด ทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า หรือสบู่อ่อนๆ ล้างภายนอกเท่านั้นก็เพียงพอ
สวมใส่กางเกงชั้นใน กางเกงที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป ถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อไม่ให้เกิดการอับชื้น
ทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรกินเกินขนาด
เมื่อเป็นประจำเดือนควรเปลี่ยนแผ่นอนามัยบ่อยๆ อย่าปล่อยให้มักหมม
หลีกเลี่ยงอาหารที่เชื้อราชอบ เช่น น้ำตาล แป้งขัดขาวต่างๆ น้ำผลไม้ อาหารแรรูปต่างๆ นมวัวที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ รวมไปถึงแอลกอฮอล์
รับประทานผักใบเขียว เช่น ผักเคล กวางตุ้ง คะน้า ผักขม น้ำตาลต่ำ แมกนีเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง วิตามินซีสูง ทำให้ช่องคลอดเป็นด่าง