หูด เกิดจากสาเหตุอะไร? รักษาแบบไหนได้บ้าง?

หูด

โรคหูด บนผิวหนังไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนักแต่ก็ส่งผลในเรื่องของความเชื่อมั่นหรือหากปล่อยไว้ก็อาจลุกลามจนยากแก่การรักษา เพียงได้ยินชื่อก็คงไม่มีใครอยากจะเป็น เรามาดูกันว่า เป็นหูด เกิดจากสาเหตุอะไรและการรักษาหูดอย่างไรได้บ้าง

หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคหูด

หูดคืออะไร

หูด (Wart) เป็นก้อนเนื้อเล็กๆ มักมีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง ผิวขรุขระ หรือเรียบเนียนขึ้นอยู่กับชนิดของหูด หูดสามารถเกิดขึ้นได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และสามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสโดยตรง 

หูดเกิดจากอะไร

หูด เกิดจากเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) ที่จะไปกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเกิดการหนาและแข็งตัว ทำให้ผิวหนังเกิดเป็นตุ่มหรือติ่งเนื้อขึ้น  สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย โดยที่บางคนอาจจะไม่แสดงอาการ

โรคหูด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในส่วนที่อับชื้นของร่างกาย ติดต่อได้จากการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกัน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย แม้จะไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่ก็อาจส่งผลต่อความมั่นใจและอาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ ตามมาด้วย item-สำคัญ

item-สำคัญ

หูดมีกี่ชนิด

  1. หูดธรรมดา (Common Warts) มักพบที่นิ้วมือ ฝ่ามือ หรือข้อศอก มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง ผิวขรุขระ สีเดียวกับผิวหนัง

  2. หูดฝ่าเท้า (Plantar Warts) พบที่บริเวณฝ่าเท้า อาจมีลักษณะแบนจากแรงกดเวลาเดิน บางครั้งมีจุดดำเล็ก ๆ ซึ่งเป็นเส้นเลือดฝอย

  3. หูดแบน (Flat Warts) มักเกิดบนใบหน้า แขน หรือขา มีลักษณะเป็นตุ่มเรียบ ขนาดเล็ก และสีเดียวกับผิวหนัง

  4. หูดหงอนไก่ (Genital Warts)  เกิดบริเวณอวัยวะเพศหรือรอบทวารหนัก มีลักษณะเป็นตุ่มเนื้อนุ่ม ผิวขรุขระ คล้ายดอกกะหล่ำ ติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์

  5. หูดที่ใต้เล็บหรือรอบเล็บ (Periungual Warts) พบที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้า มักอยู่รอบ ๆ หรือใต้เล็บ อาจทำให้เล็บเสียรูปทรง

  บริเวิณที่เกิดหูด

อาการของโรคหูด

ลักษณะอาการของหูด ที่พบบ่อยคือ มีติ่งนูนยื่นขึ้นมาบนผิวหนัง ขนาดประมาณ 10 มิลลิเมตร สามารถเกิดได้ทั้งแบบผิวเรียบ สีเดียวกับผิวหนัง หรือแบบขรุขระสีดำ อาจเกิดเป็นเม็ดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใบหน้า ลำคอ

ส่วนหูดที่อวัยวะเพศหรือหูดหงอนไก่สามารถพบได้ที่อวัยวะเพศ ขาหนีบ หรือทวารหนัก ซึ่งหากเป็นก้อนใหญ่ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้

การรักษาหูด

การทายารักษาหูด

การใช้ยาทามักเป็นวิธีแรกที่ใช้สำหรับหูดขนาดเล็กหรือไม่รุนแรง โดยทั่วไปใช้ยากัดหูดที่มีกรดซาลิไซลิก (Salicylic acid)

ข้อดี: ทำเองได้ที่บ้าน ราคาถูก
ข้อเสีย: ใช้เวลานาน หูดบางชนิดอาจไม่ตอบสนอง

การจี้หูดด้วยไนโตรเจนเหลว (Cryotherapy)

เป็นการใช้ ไนโตรเจนเหลวที่มีอุณหภูมิ -196°C จี้ลงบนหูดเพื่อทำให้เซลล์ผิวหนังตายและหลุดออกไป
ใช้สำหรับหูดทั่วไป หูดฝ่าเท้า และหูดที่รักษาด้วยยาทาแล้วไม่หาย ต้องทำซ้ำทุก 1-2 สัปดาห์ จนกว่าหูดจะหายไป

 ข้อดี: ทำได้เร็ว แผลเล็ก
ข้อเสีย: อาจรู้สึกเจ็บขณะทำ และต้องทำซ้ำหลายครั้ง

การจี้หูดด้วยไฟฟ้า (Electrocautery)

เป็นการใช้ กระแสไฟฟ้าความร้อน จี้ที่ตัวหูดเพื่อทำลายเนื้อเยื่อหูดให้หลุดออก มักใช้สำหรับหูดที่มีขนาดใหญ่หรือหูดที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีอื่น ทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่เพื่อลดความเจ็บปวด
 ข้อดี: กำจัดหูดได้เร็วในครั้งเดียว
 ข้อเสีย: อาจเกิดแผลเป็น และอาจต้องพักฟื้น

การผ่าตัดเอาหูดออก (Surgical Excision)

เป็นการใช้มีดผ่าตัดหรือเครื่องมือพิเศษ ตัดเอาหูดออกโดยตรง มักใช้กับหูดขนาดใหญ่ หรือหูดที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่หาย ใช้สำหรับหูดฝังลึกหรือหูดที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ หรือยาชาเฉพาะจุด
ข้อดี: กำจัดหูดได้ในครั้งเดียว
ข้อเสีย: มีโอกาสเกิดแผลเป็น และหูดอาจกลับมาเป็นใหม่

การรักษาหูด

หูดอันตรายไหม

หูดส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายและมักหายไปเองได้ภายใน 6 เดือน – 2 ปี แต่บางกรณีหูดอาจเป็นปัญหาได้ เช่น

  • หูดที่เจ็บหรือโตเร็ว โดยเฉพาะหูดฝ่าเท้าหรือหูดรอบเล็บ อาจทำให้เดินลำบากหรือเจ็บมาก

  • หูดหงอนไก่ (ที่อวัยวะเพศ) เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง ที่อาจเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งอวัยวะเพศ หรือมะเร็งทวารหนัก

  • หูดที่แพร่กระจายเร็ว หากมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิ หูดอาจลุกลามเร็วขึ้นและรักษายาก

หูดที่อวัยวะเพศหรือ หูดที่โตเร็วควรได้รับการรักษาทันที ที่คลินิกจี้หูด
สนใจทักแชท

ความสำคัญของการรักษาหูด

ป้องกันการแพร่กระจายเพราะหูดสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรง ลดอาการเจ็บปวดและความรำคาญ รวมทั้งป้องกันแผลเป็นจากการเกา หากปล่อยให้หูดโต อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นถาวรเมื่อรักษาหาย

และลดความเสี่ยงของมะเร็ง (กรณีหูดหงอนไก่) HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูงอาจเพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งอวัยวะเพศ หรือมะเร็งทวารหนัก item-สำคัญ

การดูแลตัวเองและป้องกันการเกิดหูด

 การดูแลตัวเองเมื่อมีหูด

  • ห้ามแกะ เกา หรือใช้ของมีคมตัดหูด เพราะอาจทำให้เชื้อแพร่กระจาย

  • ล้างมือให้สะอาดหลังสัมผัสหูด

  • ใช้พลาสเตอร์ปิดหูด เพื่อลดการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย

  • หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าในที่สาธารณะ เช่น ห้องน้ำรวม สระว่ายน้ำ

 การป้องกันการเกิดหูด

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับหูดของผู้อื่น

  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว กรรไกรตัดเล็บ

  • สวมรองเท้าในที่สาธารณะ เช่น ห้องน้ำหรือโรงยิม

  • ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ HPV ที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ 

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน HPV เพื่อลดความเสี่ยงของหูดหงอนไก่และมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับ HPV

บทความที่น่าสนใจ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

 Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

    

 @qns9056c

 อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

แก้ไขล่าสุด : 30/01/2025

อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com