หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเบิกค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรสิทธิประกันสังคม สถานที่ยื่นเรื่องเบิกประกันสังคมกรณีฝากครรภ์และกรณีคลอดบุตร ในบทความนี้จะไขข้อสงสัยให้คุณพ่อคุณแม่ว่าต้องเตรียมเอกสารอย่างไรบ้าง รวมทั้งตัวอย่างหนังสือรับรองกรณีไม่มีทะเบียนสมรส ,แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน เพื่อยื่นเอกสารกับสำนักงานประกันสังคม
เบิกประกันสังคม กรณีฝากครรภ์
เอกสารเบิกกรณีฝากครรภ์
-
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม สปส.2-01
-
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางกรณีต่างชาติ
-
ใบเสร็จรับเงินการเข้ารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์
-
ใบรับรองแพทย์ หรืออนุโลมให้ใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กประจำตัวหญิงตั้งครรภ์ ที่มีชื่อแม่ผู้ตั้งครรภ์และรายละเอียดการบันทึกตามแต่ละช่วงอายุครรภ์แทนได้
-
ถ้าคุณพ่อมาเบิก ให้นำสำเนาทะเบียนสมรส หรือหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสมาด้วย แต่ถ้าคุณแม่มาเบิกต้องใส่เลขบัตรประชาชนของคุณพ่อเพื่อป้องกันการใช้สิทธิซ้ำ
-
สำเนาหน้าบัญชีธนาคารที่ต้องการให้โอนเงิน
ฝากครรภ์แต่ละครั้งเบิกได้เท่าไร
เมื่อคุณแม่ได้ฝากท้องกับคลินิกสูตินรีเวชแล้วให้ขอใบเสร็จพร้อมใบรับรองแพทย์ เพื่อนำมาใช้เบิกกับสำนักงานประกันสังคมมีรายละเอียดดังนี้
-
ฝากครรภ์ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ (3 เดือน) จ่ายตามจริงสูงสุด 500 บาท
-
ฝากครรภ์ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ระหว่าง 12- 20 สัปดาห์ (3-5 เดือน) จ่ายตามจริงสูงสุด 300 บาท
-
ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายตามจริงสูงสุด 300 บาท
-
ฝากครรภ์ครั้งที่ 4 อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายตามจริงสูงสุด 200 บาท
-
ฝากครรภ์ครั้งที่ 5 อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายตามจริงสูงสุด 200 บาท
หมายเหตุ
-
การเบิกฝากครรภ์ ประกันสังคมจะให้ฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายมาใช้สิทธิ์ก็ได้แต่ต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 5 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนเดือนที่ใช้สิทธิ
-
ยื่นภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการทางการแพทย์จากคลินิกสูตินรีเวช
-
สามารถยื่นเป็นครั้งต่อครั้ง หรือยื่นครั้งเดียวพร้อมตอนคลอดบุตรก็ได้
-
ยื่นส่งด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ไปยังพื้นที่ประกันสังคมได้ทุกแห่ง ยกเว้นสำนักงานใหญ่ประกันสังคม
เบิกประกันสังคม กรณีคลอดบุตร
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
-
จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร
-
จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน(ได้เฉพาะฝ่ายหญิง ได้แค่ 2 ครั้ง)
-
กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง (เบิกได้ทั้งหญิงและชาย ไม่จำกัดจำนวนบุตร)
พิจารณาสั่งจ่ายค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร
เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ดังนี้
-
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
-
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
-
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
-
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
-
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
-
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
-
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
-
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
-
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร
-
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ ดูตัวอย่างเอกสารคลิกที่นี่
-
สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางกรณีต่างชาติ
-
สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
-
สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส ดูตัวอย่างเอกสารคลิกที่นี่
-
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก
หมายเหตุ
หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
สถานที่ยื่นเรื่อง
สถานที่ยื่นเรื่องเบิกค่า ฝากครรภ์ ประกันสังคม คลอดบุตร ประกันสังคม ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม
หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
บทความที่น่าสนใจ
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 26/10/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com