Last updated: 18 ก.ย. 2567 | 34147 จำนวนผู้เข้าชม |
การมี ‘ตกขาว’ เป็นเรื่องที่ผู้หญิงทุกคนต้องเจอ โดยเฉพาะในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งหากเป็นแล้วไม่ได้มีอาการผิดปกติก็ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายแต่อย่างใด แต่หากใครที่มีอาการที่แปลกไปอาจหมายถึงอาการป่วย ซึ่งอาจต้องทำการตรวจภายในหรือพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี
ในบทความนี้เราจะพาสาวๆ มาทำความเข้าใจให้มากขึ้น ทั้งอาการที่ปกติและผิดปกติ เพราะอาจหมายถึงปัญหาสุขภาพได้นะคะ
เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับตกขาว
ตกขาว คือ ของเหลวชนิดหนึ่งที่ไหลออกมาจากบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง มีลักษณะเป็นของเหลวใสๆ แต่ไม่ใช่เลือดหรือหนอง ส่วนใหญ่มักจะเป็นมูกสีขาว หรือขาวขุ่นคล้ายกับแป้งเปียก มีจำนวนไม่มาก
และทำหน้าที่ช่วยในการหล่อลื่น ทำให้ผิวในส่วนนั้นเกิดความชุ่มชื้น ไม่แห้งจนทำให้เกิดการระคายเคือง มักไหลออกมาช่วงเดือนของรอบประจำเดือน เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ตกขาวปกติ และตกขาวผิดปกติ
|
ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ (อายุตั้งแต่ 15 ถึง 49 ปี) ได้มากกว่าช่วงวัยอื่น เพราะเป็นวัยที่มีการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงมากกว่าทุกช่วงวัย
ตกขาว เกิดจากการรวมตัวกันของสารคัดหลั่งที่มาจากบริเวณช่องคลอด ปากมดลูก รวมไปถึงอวัยวะข้างเคียงบริเวณปากช่องคลอด ซึ่งปกติจะมีความแตกต่างกันออกไปตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ได้ถึงความผิดปกติของร่างกายได้ด้วย
ลักษณะตกขาวปกติ จะเป็นมูกใส ไม่มีสี ในช่วงก่อนหรือหลังมีประจำเดือนอาจจะมีสีขาวขุ่นคล้ายแป้งเปียก ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในแต่ละรอบเดือน มีกลิ่นได้เล็กน้อยตามลักษณะกลิ่นตัวของแต่ละคน
|
ถ้าหากตกขาวมีลักษณะผิดแปลกไปจากนี้และมีอาการคันหรืออาการแสบร่วมด้วย ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าอาจมีอาการผิดปกติภายในเกิดขึ้นได้ "
หากพบว่ามีลักษณะอาการที่เปลี่ยนไปจากเดิม อาจหมายความว่าคุณมีอาการของตกขาวผิดปกติ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากความเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
ถ้าหากมีอาการที่มากกว่าปกติที่เคยเป็น ก็ให้สงสัยเอาไว้ก่อนเลยว่าเป็นอาการของตกขาวผิดปกติ
ถ้าหากลักษณะของตกขาวเปลี่ยนแปลงไป อย่างเช่น มีลักษณะขุ่นมากขึ้น หรืออาจข้นเหมือนแป้งเปียกหรือคราบนม มีฟอง รวมไปถึงมีลักษณะเป็นตะกอนขาวคล้ายก้อนแป้ง ก็ถือว่าเป็นอาการตกขาวผิดปกติ
มีสีผิดปกติไปจากเดิม อย่างเช่น มีสีเหลือง สีเขียว สีขาวข้น ส่วนใหญ่ก็จะเกิดการติดเชื้อภายใน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดมาได้จากทั้งคู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย การใช้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องคลอด เป็นต้น ในขณะที่สีน้ำตาลก็จะเกิดจากการที่ผนังมดลูกลอกตัวช้าหลังมีประจำเดือน จึงทำให้กลายเป็นสีน้ำตาลนั่นเอง
ความผิดปกติสามารถบ่งชี้ได้จากกลิ่น ซึ่งเป็นได้ทั้งตกขาวมีกลิ่นเหม็นซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ และไม่มีกลิ่นที่เกิดจากเชื้อราในช่องคลอด
มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ต้องได้รับการตรวจว่าเป็นแบคทีเรียชนิดใด หากเป็นแบคทีเรียจากการติดต่อด้วยการมีเพศสัมพันธ์ แพทย์จะทำการรักษา โดยต้องให้ยาคู่นอนด้วย
มักเกิดหลังการมีประจำเดือน หรือมีการติดเชื้อที่บริเวณปากมดลูก
พร้อมกับมีอาการเจ็บ ปวด คัน เจ็บขณะปัสสาวะ หรือขณะมีเพศสัมพันธ์ มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อที่ติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ หรืออาจเกิดได้จากพยาธิ
พร้อมมีอาการคัน สามารถเกิดได้จากติดเชื้อแบคทีเรีย จากโรคหนองใน การติดเชื้อรา รวมไปถึงเชื้อไวรัส
มักพบในผู้หญิงที่เพิ่งผ่านการคลอดลูกและเกิดได้จากจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก
มีอาการปัสสาวะขัด เกิดได้จากการติดเชื้อราในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
มีเลือดปน มีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน เจ็บปวดปัสสาวะ หรือขณะมีเพศสัมพันธ์ ต้องได้รับการตรวจอย่างละเอียด เพราะมีโอกาสเกิดจากการเป็นมะเร็งเยื่อบุมดลูก เนื้องอกหรือมะเร็งปากมดลูกได้
เป็นแป้ง ซึ่งมักจะมีอาการคัน แสบร้อนบริเวณช่องคลอดร่วมด้วย โดยส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อรา การรักษาต้องรักษาคู่นอนด้วย
คันและแสบขัดขณะปัสสาวะ อาจเกิดได้จากการติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์
มีอาการคัน เจ็บ แสบ มีแผลหรือตุ่ม
ตกขาวมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
มีเยอะกว่าปกติ หรือมีลักษณะจับตัวกันเป็นก้อน
มีสีที่แปลกไปจากเดิม
มีเลือดปน ซึ่งไม่ใช่เลือดจากประจำเดือน
มีอาการปวดท้องน้อย หรือมีไข้ร่วมด้วย
|
ซึ่งอาการผิดปกติอาจเป็นได้หลายสาเหตุ เช่น เชื้อราในช่องคลอด มะเร็งปกมดลูก การติดเชื้อแบคทีเรีย รวมไปถึงอาการที่เกิดจากกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
การเป็นตกขาวไม่ใช่เรื่องน่าอายเพราะผู้หญิงทุกคนต่างก็เป็นกัน ดังนั้นการทำความสะอาดในจุดซ่อนเร้นจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ แต่หากมีอาการตกขาวผิดปกติ อย่าเก็บไว้ในใจคนเดียวเพราะอาจเป็นสัญญาณบอกถึงโรคภายในได้ ควรที่จะปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาตกขาวที่ผิดปกติได้อย่างถูกวิธีค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย นายอัชวิน ธรรมสุนทร
แก้ไขล่าสุด : 17/07/2024
อนุญาติให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com
3 พ.ค. 2565
22 มี.ค. 2565
6 พ.ค. 2565
14 มี.ค. 2565