Last updated: 11 ก.ย. 2567 | 15526 จำนวนผู้เข้าชม |
การทำงานในที่อับอากาศ (Confined space) มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุและการป่วยจากภาวะอับอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน เรามาทำความรู้จักกับอันตรายจากที่อับอากาศและโรคจากภาวะอับอากาศที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานนี้กัน
หัวข้อที่ควรรู้เรื่องอันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ
สถานที่อับอากาศส่วนใหญ่มีปริมาณออกซิเจนน้อย ทำให้ขาดอากาศหายใจและหมดสติในระยะเวลาอันสั้นได้ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความพร้อม เพื่อจะทนต่อสภาวะแวดล้อมได้
การเกิดไฟไหม้ เช่น แก๊สระเบิด (Combustible Gas) เนื่องจากสถานที่ปฏิบัติงานบางแห่งเป็นท่อส่งแก๊สหรือถังเก็บก๊าซ สามารถทำให้เกิดพิษและอันตรายต่อชีวิต ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดประกายไฟ หรือ ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
ฝุ่นละอองเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เมื่อต้องทำงานในพื้นที่อับอากาศต้องสวมหน้ากากป้องการสูดฝุ่นละออง และหลีกเลี่ยงการถอดหน้ากากในพื้นที่เสี่ยง
สถานที่ปฏิบัติงานบางแห่งเป็นท่อส่งแก๊สหรือถังเก็บก๊าซ รวมถึงบางแห่งเกิดก๊าซจากการสะสมสิ่งปฏิกูล ทำให้เกิดการสะสมของสารเคมีอันตรายหรือก๊าซพิษได้ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจนซัลไฟด์ สามารถทำให้เกิดพิษและอันตรายต่อชีวิต ดังนั้นต้องสวมหน้ากากทุกครั้ง และ ตรวจสอบหน้ากากว่าต้องแนบสนิทกับใบหน้าทุกครั้งเมื่อต้องปฏิบัติงาน
พื้นที่อับอากาศบางแห่งอยู่สูงหรือลึกกว่าพื้นดิน ทำให้อุณหภูมิผิดปกติ อาจเกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นและอุณหภูมิสูง อาจทำให้เกิดโรคติดเชื้อได้ง่าย
การได้ยินของผู้ปฏิบัติงานจะลดลงเมื่อใส่ชุดป้องกันเพื่อความปลอดภัย อีกทั้งในสถานที่อับอากาศส่วนใหญ่จะมีเสียงก้อง ทำให้ประสิทธิภาพการได้ยินลดลงอย่างมาก มีโอกาสไม่ได้ยินเสียงเตือนของเพื่อนร่วมงานและผู้ช่วยเหลือ รวมถึงเสียงสัญญาณเตือนภัยหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น
การทำงานในพื้นที่แคบและจำกัดการเคลื่อนไหว เพิ่มความเสี่ยงต่อการมองเห็นเสี่ยงต่อการทำงานผิดพลาด หรือเกิดอุบัติเหตุจากการชน การล้ม หรือการกระแทก และการมองเห็นที่ไม่ชัดเจนเป็นอุปสรรคต่อการหนีออกจากพื้นที่ได้ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
การที่ต้องทำงานกับสภาวะแวดล้อมหรือสภาพการณ์ที่มีความร้อนเป็นระยะเวลานานๆ ร่างกายอาจตอบสนองหรือโต้ตอบด้วยการเกิดความเครียดหรือความกดดันของหัวใจ หรืออ่อนเพลีย อาจหมดสติและเสียชีวิตได้
เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศมีโอกาสสัมผัสสารพิษ หรือ แมลงหรือสัตว์พิษบางชนิด ดังนั้น การสวมชุดอับอากาศที่ปลอดภัยได้มาตรฐานเป็นสิ่งที่จำเป็น
การสูดดมอากาศที่มีสารพิษหรือฝุ่นละอองในที่อับอากาศ หรือพื้นที่มีสภาวะออกซิเจนต่ํา มีการใช้สารเคมีที่กระตุ้นภาวะหอบหืดอยู่ในที่อับอากาศนั้น ส่งผลให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืดและปอดบวม โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
เกิดจากการขาดออกซิเจนเป็นโรคจากภาวะอับอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ
การทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูงและการสะสมของเชื้อโรค จากแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา ซึ่งในพื้นที่อับชื้นอากาศไม่ถ่ายเทจะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคติดเชื้อทางผิวหนัง เช่น หูอักเสบ ตาอักเสบ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง เช่น ปอดอักเสบ คออักเสบ
กลุ่มคนที่ทำงานพื้นที่อับอากาศมักจะต้องปกฺบัติงานด้วยการใช้กำลังกายอย่างมาก รวมทั้งต้องแบกรับน้ำหนักของอุปกรณ์การทำงานและอุปกรณ์ความปลอดภัยด้วย เมื่อทํางานเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้พักอาจทําให้เกิดความเหนื่อยล้า สมาธิในการทํางานลดลง มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ หากไม่ไหวไม่ควรฝืนร่างกาย ควรแจ้งผู้ช่วยเหลือหรือผู้ควบคุมงานเพื่อออกมาพักภายนอกที่อับอากาศ
ใช้เครื่องป้องกันหรืออุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น หน้ากากกรองอากาศและถุงมือ เพื่อป้องกันการสัมผัสสารพิษและเชื้อโรค
ควรงดสูบบุหรี่ตั้งแต่เช้าของวันที่จะเข้าไปทํางานหรืองดอย่างน้อยเป็นเวลาครึ่งวัน เพราะการสูบบุหรี่ทำให้ปอดรับออกซิเจนได้ลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจน อาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว คลื่นไส้ หรืออ่อนเพลียได้ด้วย
|
เนื่องจากพื้นที่อับอากาศมักมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน การมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมจะช่วยให้สามารถเคลื่อนไหวในพื้นที่จำกัดได้อย่างคล่องแคล่ว ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหรือติดอยู่ในพื้นที่แคบ ช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น ทำให้สามารถหายใจได้สะดวกในที่ที่มีอากาศจำกัด
ส่วนน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายเมื่อทำงาน
ควรมีการฝึกอบรมการทำงานในที่อับอากาศและการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เข้าใจวิธีการปฏิบัติงานตามแผนการทำงานที่ผู้ควบคุมงานกำหนดไว้ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยต้องมีการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อประเมินอันตราย ทั้งก่อนเข้าไปและตรวจเป็นระยะ ตลอดเวลาที่มีผู้ปฏิบัติงาน
ผู้ปฏิบัติงานไม่ว่าเพศชายหรือหญิงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าพื้นที่อับอากาศ ตามข้อกำหนดและมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กรและกฎหมาย เพื่อดูสภาพร่างกายที่พร้อมและปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
|
คุณจะเห็นได้ว่าการทำงานในพื้นที่อับอากาศนั้น ผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากภาวะอับอากาศหลายประเภท ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและกระทบกับสุขภาพในขณะนั้นหรือส่งผลในระยะยาวได้
ดังนั้น ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานในพื้นที่อับอากาศ เป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยง ลดอันตรายจากที่อับอากาศ ของผู้ปฏิบัติงานและโรคที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่อับอากาศได้ ซึ่งควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
บทความที่น่าสนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย : อัชวิน ธรรมสุนทร
อนุญาติให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com
22 มี.ค. 2565
15 ก.พ. 2565
14 มี.ค. 2565
3 พ.ค. 2565