การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ มีส่วนสำคัญในการช่วยวินิจฉัยโรค ร่วมกับการซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count, CBC) เป็นหนึ่งในการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น เพื่อสนับสนุนการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคและเป็นการตรวจเลือดที่จัดอยู่ในการตรวจสุขภาพประจำปี
"ซึ่งหากตรวจพบความผิดปกติ ก็สามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาต่อไป"
ข้อมูลที่ควรรู้
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood cell count หรือ CBC) นั้น โดยส่วนประกอบหลักของเม็ดเลือด คือ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งแบ่งย่อยรายละเอียดได้ ดังนี้
เม็ดเลือดแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
ระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นการตรวจหาความเข้มข้นของระดับฮีโมโกลบินในเลือด
ปริมาตรเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit) เป็นการตรวจปริมาตรของเซลล์เม็ดเลือดแดงในเลือด
ปริมาณเม็ดเลือดแดง (Red blood cell) เป็นปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือด
ดัชนีเม็ดเลือดแดง (Red blood cell indices) เป็นการตรวจขนาดและปริมาณของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ได้แก่
ปริมาตรของเม็ดเลือดแดง (mean corpuscular volume) เป็นปริมาตรหรือขนาดของเม็ดเลือดแดง
ปริมาณฮีโมโกลิบินในเม็ดเลือดแดง (mean corpuscular hemoglobin) เป็นปริมาณของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์
ความเข้นข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (mean corpuscular hemoglobin concentration) เป็นความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์
เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณมากที่สุดของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด ทำหน้าที่เพื่อตอบสนองต่อภาวะการอักเสบและติดเชื้อเฉียบพลัน โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งร่างกายสามารถตอบสนองโดยการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและจับกินเชื้อโรคโดยตรงได้
เป็นเม็ดเลือดขาวขนาดเล็ก ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานต่อทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย หากมีปริมาณสูงขึ้นจะอยู่ในภาวะการติดเชื้อไวรัส และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด
เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพในการจับกินเชื้อโรคได้สูงกว่านิวโทรฟิลด์ มักมีปริมาณเพิ่มขึ้นตอบสนองต่อภาวะติดเชื้อไวรัส วัณโรค หรือเชื้อรา รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด
เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณน้อยในกระแสเลือด ทำหน้าที่ในการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอม ปริมาณสูงขึ้นพบได้ในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือหอบหืด แพ้ยา หรือมีพยาธิในร่างกาย
เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณน้อยมากในเลือด ทำหน้าที่สร้างสารป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว และรวมทั้งหลั่งสารที่ช่วยในการขยายของหลอดเลือด
เกล็ดมีหน้าที่ป้องกันเลือดออกจากหลอดเลือด ช่วยในการหยุดไหลของเลือดเมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยและเพื่อให้ทราบปัญหาสุขภาพ เช่น
ตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อของร่างกาย ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยรายนั้นได้รับเชื้อบางอย่างเข้าสู่ร่างกาย
ตรวจเพื่อบ่งชี้การอักเสบของร่างกายได้ และเพื่อสังเกตและติดตามถึงผลการรักษาโรค โดยเฉพาะโรคโลหิตจาง, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว, สภาวะเลือดหยุดไหลยากเมื่อเกิดบาดแผล หรือโรคอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อจำนวนเม็ดเลือดได้
การเก็บตัวอย่างเลือด ทำได้โดยการเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำบริเวณข้อพับแขน ปริมาณประมาณ 2.5 - 3 มิลลิลิตร และเก็บเลือดใส่หลอดที่บรรจุสารกันเลือดแข็งที่เรียกว่า อีดีทีเอ (EDTA) เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดที่จะนำไปแปลผล
ผู้รับการตรวจสุขภาพควรเตรียมข้อมูลสุขภาพที่จำเป็นที่ต้องแจ้งแพทย์ โดยแพทย์จะสอบถามข้อมูลดังต่อไปนี้คือ
ประวัติเกี่ยวกับโรคประจำตัว
ประวัติยาที่ทานอยู่เป็นประจำ
ประวัติการรักษาหรือเคยได้รับการฉายแสงมาก่อน
ประวัติทางอาหารและโภชนาการ
ประวัติการสูญเสียเลือดเรื้อรัง เช่น การมีประจำเดือนมามากผิดปกติ, ประวัติถ่ายเป็นเลือดหรือสีดำ, อาเจียนเป็นเลือด เป็นต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงสุพิชชา บึงจันทร์
แก้ไขล่าสุด : 18/06/2024
อนุญาติให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com