โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในวัยทำงาน โดยโรคนี้มักมาพร้อมกับอาการปวดท้องบ่อย หรือมีอาการคลื่นไส้ และท้องอืด มาทำความเข้าใจ และรู้จักโรคกระเพาะอาหารเพื่อช่วยควบคุมและป้องกันตัวเองให้ห่างไกลโรคกระเพาะ ผ่านบทความนี้ได้เลย
หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคกระเพาะ
แนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร
แพทย์จะมีการใช้ยาในรักษา โดยต้องรับประทานยาอย่างถูกวิธี และสม่ำเสมอ ติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์
หากผู้ป่วยอาการไม่ทุเลาลง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจต้องทำการผ่าตัดโดยการส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัย และรักษา
เริ่มกินอาหารเหลวก่อน เช่น ซุปใส จากนั้นเปลี่ยนเป็นข้าวต้ม และอาหารปกติ ตามลำดับ
ดื่มน้ำมากๆ
งดอาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และน้ำอัดลมทุกชนิด
กินยาตามอาการ เช่น ยาพาราเซตามอล และยาลดกรด/เคลือบกระเพาะ
ประคบอุ่นใต้ลิ้นปี่ ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ หากไม่ทุเลา ปวดท้องรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แนะนำไปประเมินอาการที่โรงพยาบาล
แต่หากเป็นการปวดท้อง เนื่องจากการกินยาพิษหรือสารพิษ แนะนำไปโรงพยาบาลทันที
สรุป
การทำความเข้าใจสาเหตุและอาการของโรคกระเพาะอาหาร เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและรักษา โรคนี้อาจต้องการการดูแลและการรักษาที่เฉพาะเจาะจง เช่น การเปลี่ยนแปลงอาหาร การใช้ยารักษา หรือการปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง
ส่วนใครที่มีอาการเข้าข่ายว่าเป็น เช่น ปวดท้องใต้ลิ้นปี่, ปวดท้องบ่อย/ปวดถี่ จุกเสียด และแน่นท้อง การพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย จะช่วยให้สามารถรักษาได้อย่างถูกวิธี และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมา หากสนใจพบแพทย์สามารถสอบถามเพิ่มเติ่มผ่านทาง Line Offiacial อินทัชเมดิแคร์ หรือติดต่อสายด่วยของเราได้เลย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงสุพรรษา เหนียวบุบผา
แก้ไขล่าสุด : 23/08/2024
อนุญาติให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com