รวมวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้

รวมวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้

การจะมีลูกสักคนพ่อแม่ย่อมคาดหวังให้เขาเกิดมาแข็งแรงสมบูรณ์มากที่สุด หนึ่งในการตรวจระหว่างตั้งครรภ์ที่ได้รับความนิยมนั่นคือ “ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมซึ่งปัจจุบันวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ก็มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น ตรวจ NIPT  ตรวจ Quad Test เป็นต้น

"ดังนั้นพ่อแม่ที่เตรียมพร้อมสำหรับการสร้างครอบครัวให้สมบูรณ์แบบจึงควรศึกษาวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทั้งหมดเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง"

วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

 

วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม


NIPT (Noninvasive Prenatal Testing)

NIPT (Noninvasive Prenatal Testing) คือ วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมเพื่อเช็กความผิดปกติของโครโมโซมและประเมินว่าทารกในครรภ์นั้นมีโอกาสที่จะเกิดโรคดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติอื่น ๆ หรือไม่ เช่น การเช็กโครโมโซมคู่ 13, 18, 21 และยังสามารถเช็กความผิดปกติของโครโมโซมเพศ (Sex Chromosome Abnormalities) ได้ด้วย

"NIPT ถือเป็นวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่มีความแม่นยำสูงมากระดับ 99%"

วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม NIPT กับ Nifty ต่างกันอย่างไร?

NIPT กับ Nifty ต่างกันอย่างไร?

วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทั้งแบบ NIPT กับ Nifty จริงๆแล้วคือหลักการเดียวกันทั้งหมด เช่น ต้องการตรวจ NIPT หรือตรวจนิฟตี้ก็ใช้การเจาะเลือดจากแม่ที่กำลังตั้งครรภ์แล้วนำไปผ่านกระบวนการทางแลป

ซึ่งเหตุผลที่เรียกชื่อต่างกันเพราะเป็นการนำส่งตรวจในแลปที่มีชื่อแบรนด์ที่แตกต่างกันเท่านั้นเอง เช่น Thai NIPT (ไทย), NIFTY (ฮ่องกง), NGD NIPS (ไทย), NICE (เกาหลีและอเมริกา), Panorama (ไทยและอเมริกา), MomGuard (เกาหลี), G-NIPT (เกาหลี) เป็นต้น


สนใจ ตรวจดาวน์ซินโดรม

ตรวจ NIPT ตอนกี่สัปดาห์ได้บ้าง?

สามารถตรวจ NIPT ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ (ช่วง 10-16 สัปดาห์แรกสำคัญมาก) และสามารถตรวจได้จนถึงช่วงใกล้คลอด


อินทัชเมดิแคร์ให้บริการตรวจ NIPT




FTS (First Trimester Screening)

นี่คืออีกวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในช่วงแรกประมาณ 10–13 สัปดาห์แรก ของการตั้งครรภ์ อัตราความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 82-87%

วิธีตรวจดาวน์ซินโดรม First Trimester Screening ในไตรมาสต์ที่ 1

First Trimester Screening คืออะไร?

First Trimester Screening หรือ FTS คือ วิธีคัดกรองดาวน์ซินโดรมช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยการตรวจคัดกรองวิธีนี้จำเป็นต้องใช้เลือดของคุณแม่และการอัลตร้าซาวน์ เพื่อทำการตรวจสารชีวเคมีทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ 

  1. Free Beta Human Chorionic Gonadotropin (Free Beta hCG) หาก hCG ในเลือดคุณแม่สูงกว่าปกติ 2 เท่า ลูกก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรม

  2. Pregnancy Associated Plasma Protein-A (PAPP-A) เป็นสารเคมีที่ถูกสร้างขึ้นจากรก ยิ่งมีอายุครรภ์มากค่าดังกล่าวจะสูงขึ้น แต่ถ้ามีค่าต่ำลูกก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรม ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้คุณแม่ควรรับการตรวจให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งอายุครรภ์เยอะ ความแม่นยำก็จะยิ่งลดลง


Quad Test (Second Trimester Screening)

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่ขอแนะนำ คือ ตรวจ Quad Test (Second Trimester Screening) ตรวจในช่วงไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ประมาณ 15-20 สัปดาห์)

 

"โดยจะนำตัวอย่างเลือดของคุณแม่
ไปตรวจสารชีวเคมี ได้แก่ inhibin A
ร่วมกับ AFP, hCG และ uE3
แล้วรายงานผลเป็นระดับความเสี่ยง"

วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม Quad Test ความแม่นยำแค่ไหน?

การตรวจ Quad Test ระดับความแม่นยำจะอยู่ประมาณ 70-80% 

ตรวจ Quad Test รู้เพศไหม?

วิธีคัดกรองดาวน์ซินโดรมแบบ Quad Test ไม่สามารถรู้เพศได้


อินทัชเมดิแคร์ให้บริการตรวจ Quad Test



Nuchal Translucency

Nuchal Translucency นั้นเป็นวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมอีกรูปแบบที่ถูกพูดถึงกันพอสมควร ซึ่งคนส่วนมากจะคุ้นกันในชื่อ NT ซึ่งวิธีการตรวจนี้ถือว่ามีลักษณะการตรวจที่น่าสนใจมากทีเดียว

วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วย Nuchal Translucency

Nuchal Translucency คืออะไร?

Nuchal Translucency คือ น้ำใส ๆ ที่มีการสะสมบริเวณท้ายทอย (ด้านหลังคอ) ของทารก (Nuchal fold ) ซึ่งแพทย์จะสามารถตรวจระดับความหนาของผิวบริเวณคอทารกได้จากน้ำใสๆดังกล่าว วิธีนี้จะนิยมตรวจช่วงอายุครรภ์ประมาณ 11-14 สัปดาห์ ซึ่งความยาวของตัวทารกมักจะอยู่ที่ราว 48-84 มิลลิเมตร

ทั้งนี้ผลการตรวจได้ข้อสรุปว่าทารกประมาณ 1 ใน 3 ที่มีค่า NT หนากว่าปกติ มักเสี่ยงต่อโครโมโซมผิดปกติ อัตราความแม่นยำของวิธีดังกล่าวประมาณ 64-70% ส่วนมากมักนิยมใช้กับการตรวจดาวน์ซินโดรมในลูกแฝด

ค่า NT ปกติ คือเท่าไหร่?

ค่า NT ปกติจะต้องมีค่าไม่เกิน 2.5 มิลลิเมตร


Triple Marker (AFP, Free B HCG, uE3)

วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม อีกหนึ่งวิธีคือ การตรวจแบบ Triple Marker คือ การตรวจสารชีวเคมีและฮอร์โมนในเลือดคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สอง 3 ชนิด ได้แก่ alpha-fetoprotein (AFP) , HCG และ unconjugated estriol (uE)


บทความที่น่าสนใจ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
  แก้ไขล่าสุด : 19/01/2024

website counter


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้