หนึ่งในปัญหาที่คนวัยทำงานต้องพบก็คือ ‘โรคจากการทำงาน’ ซึ่งอาจเกิดได้จากทั้งพฤติกรรมของตัวเอง เช่น กินกาแฟ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ รวมไปถึงการกลั้นปัสสาวะอีกด้วย หรือสภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน ก็ส่งผลเสียต่อผู้ปฏิบัติงานได้เช่นกัน วันนี้เราเลยจะพาคุณมารู้จักกับ โรคจากการทำงาน โรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในคนทำงาน และการป้องกันเพื่อไม่ให้เป็นโรคเหล่านี้ จะมีอะไรบ้างไปดูพร้อมๆกันได้เลยค่ะ
หัวข้อน่าสนใจเกี่ยวกับโรคจากการทำงาน
เชื่อว่ามีคนทำงานเป็นโรคภูมิแพ้เยอะมาก และอาจเป็นโรคนี้โดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งโรคภูมิแพ้นั้นก็จะมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็น ภูมิแพ้อาอากาศ ทางเดินหายใจ ผิวหนัง หรือตา ตัวอย่างของการเกิดภูมิแพ้จากการทำงาน เช่น
คนที่ทำงานอยู่ในออฟฟิศ อาจรับภูมิแพ้ได้จากการสูดรับเอาสารโปรตีนเข้าไป เช่น รังแคของผู้อื่น การเหยีบบดิน ซากสัตว์ มูลสัตว์เล็ก แล้วพอเมื่อสิ่งนั้นเกิดการฟุ้งกระจายอาจสูดดมเข้าไปและเกิดเป็นภูมิแพ้ได้
คนเป็นโรคภูมิแพ้ ที่ทำงานในที่ๆมีฝุ่นเยอะ หรือสัมผัสถูกสารบางชนิดที่ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น เฟอร์นิเจอร์ หรือพรม หรือผู้ที่ทำงานกับสัตว์
โรงงานไม้ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ผู้ปฏิบัติงานอาจเกิดอาการแพ้จากไม้บางชนิด รวมไปถึงปัญหากลิ่นสารเคมีจากกาว ทินเนอร์ และสารเคมีอื่นๆที่ทำให้ระคายเคืองผิวและดวงตาได้
ผู้ที่ต้องสวมใส่ถุงมือในขณะทำงานก็มีความเสี่ยงเกิดภูมิแพ้ อาจมีอาการแพ้ถุงมือ แพ้ยางลาเท็กซ์ และเกิดผื่นและอาการคัน
หากใครที่หายจากวัณโรค แต่มีรอยโรคเกิดขึ้นที่บริเวณปอด ซึ่งเกิดได้ในรายที่มีอาการหนัก หรือมีลมรั่วในปอดจากถุงลมแตก มักจะมีอาการเหนื่อยง่ายซึ่งเกิดจากการที่ปอดเป็นพังผืด หากเป็นแล้วจะไม่สามารถทำงานหนักๆได้
พูดถึงโรคยอดฮิตของคนทำงานยังไงก็หนีไม่พ้นโรคกระเพาะ เพราะคนทำงานส่วนมากมักมีพฤติกรรมรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ทั้งในวันทำงานและที่น่าหนักใจที่สุดก็ช่วงวันหยุดเพราะหลายๆคนมักนอนตื่นสายกันในช่วงวันหยุด และส่งผลให้ข้าวเช้ากลายเป็นข้าวเที่ยง และอีกปัจจัยของโรคกระเพาะก็คือความเครียดนี่แหละ
"เพราะฉะนั้นใครที่รู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคกระเพาะควรหลีกเลี่ยงการกินข้าวไม่ตรงเวลาเพราะอาการอาจแย่ลงได้ ซึ่งอาการป่วยเหล่านี้อาจส่งผลต่อประสืทธิภาพการทำงาน และก่ออุบัติเหตุได้"
ผู้ที่ปฏิบัติงานแบบเป็นกะนั้นถือเป็นกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โดยกลไกของร่างกายคนเรานั้นจำเป็นที่จะต้องทำการปรับเปลี่ยนการนอนหลับ หากเราต้องทำงานเป็นกะแน่นอนว่าเวลาการนอนย่อมต้องเปลี่ยนแปลงตามกะและเวลาของการทำงาน ซึ่งกว่าที่ร่างกายจะปรับตัวได้อาจใช้เวลานานถึง 1 สัปดาห์ การปรับเปลี่ยนเวลานี้จะส่งผลต่อร่างกาย ทำให้เรามีอาการอ่อนล้า พักผ่อนไม่เพียงพอ และส่งผลเสียต่อสมาธิ
"การพักผ่อนไม่เพียงพอนี่แหละเป็นตัวที่ก่อให้เกิดความเครียด และนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคหัวใจ"
เนื่องจากส่งผลทำให้หัวใจของเราเต้นแรงขึ้น และความดันโลหิตสูงขึ้น
โรคอ้วน โรคจากการทำงานพี่พบบ่อยในชาวออฟฟิศเนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานาน แถมบางคนกว่าจะเลิกงานและกลับถึงบ้านดึกก็เกิดอาการขี้เกียจ พอกินข้าว อาบน้ำเรียบร้อยก็พร้อมนอน และไม่ได้ออกกำลังกาย เมื่อเกิดพฤติกรรมเหล่านี้ซ้ำซากก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมคนทำงานบางคนถึงกลายเป็นโรคอ้วนนั่นเอง
โรคนี้ถือว่าอันตรายเพราะผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการออกมา จึงมักถูกเรียกว่าภัยเงียบอยู่บ่อยๆ ซึ่งบางครั้งอาจตรวจพบโรคตอนที่มีอาการหนักมากแล้ว โดยโรคความดันโลหิตสูงจากการทำงาน มักมีบ่อเกิดมาจากความเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน อย่างการทำงานเป็นกะ ภาระงานที่หนักเกินไป การทำงานในที่เสียงดังๆ พฤติกรรมของผู้ป่วยเองก็มีส่วน เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสารเคมีบางตัวที่ก่อให้ความดันโลหิตสูงซึ่งก็คือพวกโลหะหนักๆ ได้แก่ เบอริลเลียม, ตะกั่ว และตัวทำละลาย
"โรคนี้มักพบในผู้ที่อายุ 45 ปีขึ้นไป ใครที่อายุเริ่มขึ้นเลขสี่ต้องเริ่มระวังแล้ว หากใครที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรใครสักคนที่ทราบว่าเป็น เพื่อค่อยช่วยระวังและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเพิ่มเติมของโรค"
มีโรคอ้วนแล้วจะไม่มีเบาหวานได้ยังไง เพราะพฤติการของคนทำงานในยุคนี้นั้นใช้ชีวิตเหมือนกันอาศัยอยู่ในร้านกาแฟและของหวาน แถมยังมีพฤติกรรมกินติดหวานอีก ซึ่งยิ่งหากใครที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพฯด้วยแล้ว ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันเลยว่าร้านอาหารในกรุงเทพฯนั้นทำอาหารรสชาติติดหวาน แม้ว่าเราจะไม่ได้ชอบรับประทานอาหารหวานๆ ก็เสี่ยงเป็นเบาหวานหากรับประทานเข้าไปทุกวัน เนื่องจากบริเวณโดยรอบที่ทำงานมีร้านอาหารอยู่ไม่มากนัก
คนทำงานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปควรระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะใครที่ พ่อแม่พี่น้องเป็นเบาหวาน ควรไปตรวจคัดกรองเบาหวานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร และทั้งนี้สถานที่ทำงานก็ควรจัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีพนักงานอยู่สม่ำเสมอ และพยายามควบคุมอาหารการจำหน่ายอาหารภายในองค์กร
โรคจากการทำงานสามารถป้องกันได้ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งตัวผู้ปฏิบัติงานเอง และองค์กรผู้ว่าจ้าง เพื่อช่วยกันสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม
การจัดอบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพให้แก่พนักงาน
จัดสรรอุปกรณ์การทำงานให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
การจัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีพนักงาน ปีละ 1 ครั้ง
การให้พนักงานตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่าทางผู้สมัครงานสามารถทำงานในตำแหน่งดังกล่าวได้จริง และยังช่วยป้องกันความเสี่ยงให้ผู้ร่วมงานคนอื่น หากผู้สมัครป่วยเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้
บทความที่น่าสนใจ
เอกสารอ้างอิง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 13/02/2024