เชื้อราที่เล็บ วิธีป้องกันและรักษา

เชื้อราที่เล็บ วิธีป้องกันและรักษา

เชื้อราที่เล็บ หรือ โรคเชื้อราในเล็บ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยซึ่งส่งผลให้เล็บของคุณหนาขึ้น เปราะ และเปลี่ยนสี แม้ว่าเชื้อราที่เล็บอาจดูเหมือนเป็นปัญหาเล็กน้อย แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้เกิดความไม่สบายและอาการรุนแรงขึ้น บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาเชื้อราที่เล็บอย่างถูกต้อง เพื่อให้คุณสามารถดูแลเล็บของคุณให้มีสุขภาพดีและแข็งแรงได้ตลอดเวลา

หัวข้อน่ารู้เกี่ยวกับเชื้อราที่เล็บ


เชื้อราที่เล็บ คืออะไร

เชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) คือ เชื้อราขนาดเล็ก ส่วนมากเป็นเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) โดยสามารถพบได้ถึง 50% ของผู้สูงอายุ และพบมากในผู้ป่วยเบาหวาน มักพบบ่อยที่บริเวณเล็บเท้ามากกว่าเล็บมือ


เชื้อราที่เล็บเกิดจากอะไร?

สาเหตุที่เล็บติดเชื้อรา 

การที่เล็บติดเชื้อรา สามารถเกิดได้จากการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรงที่เชื้อราชอบอาศัย คือ บริเวณที่ มีความชื้นและมืด เช่น

  • การเดินเท้าเปล่าในที่สาธารณะ เช่น ริมสระว่ายน้ำ, ห้องอาบน้ำรวม หรือการใช้ถุงเท้ารวมกับคนอื่น 

  • ตัวเชื้อรา Dermatophytes ขนาดเล็กนี้ จะเข้าไปในเล็บผ่านทางบาดแผลหรือ ร่องระหว่างเล็บ 

  • เมื่อติดแล้วจะทำให้เล็บอ่อนลง เล็บเปราะและแตกได้ง่าย

วิธีสังเกตอาการของเชื้อราที่เล็บ

อาการของเชื้อราที่เล็บ

อาการของเชื้อราที่บริเวณที่เล็บจะมีตั้งแต่อาการ

  • เล็บหนาตัว/เล็บหนาขึ้น

  • เล็บผิดรูป

  • เล็บเปลี่ยนสี อาจเป็นสีขาว, เหลือง และดำ 

  • เล็บมีกลิ่นเหม็น

  • อาจมีอาการคันบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆ คันรอบเล็บ

  • ส่วนมากเชื้อราที่บริเวณเล็บ มักไม่จะได้ได้ทำให้รู้สึกเจ็บหรือปวด


เล็บสัมผัสถูกความชื้นบ่อย

ปัจจัยเสี่ยง

  • ผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี

  • ผู้ป่วยเบาหวาน (เนื่องจากมักไม่รู้ตัวว่ามีแผลตามเล็บเท้า) 

  • ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV)

  • ผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความอับชื้น เช่น เล็บสัมผัสโดนน้ำบ่อย, ใส่รองเท้าที่อับชื้นเป็นประจำ

  • การสัมผัสถูกเชื้อรา


สงสัยว่าเป็นเชื้อราที่เล็บ พบแพทย์คลิก

อันตรายจากการเป็นเชื้อราที่เล็บ

ผู้ที่มีเชื้อราที่เล็บแล้วไม่รักษา อาจส่งผลให้เล็บผิดรูป, เล็บเปราะแตกง่าย, เล็บมีกลิ่นเหม็น และเล็บหลุดได้ หากเป็นมากอาจรู้สึกเจ็บได้


เชื้อราที่เล็บ ติดต่อกันได้ไหม

สามารถติดต่อกันได้ โดยติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรง กับ ผู้ป่วยที่มีเชื้อรา หรือ สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรงที่เชื้อราชอบอาศัย คือ บริเวณที่ ชื้น และมืด

การวินิจฉัย

แพทย์สามารถวินิจฉัยว่าเป็นเชื้อราที่เล็บหรือไม่ ได้ผ่านจากการเช็กดูที่ลักษณะของเล็บ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของ เล็บหนาตัว, เล็บเปลี่ยนสี, และผิดรูป และอาจมีการตรวจด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการอย่าง การขูดเศษเนื้อเยื่อใต้เล็บไปตรวจสอบชนิดของเชื้อรา ผ่านทางกล้องจุลทรรศ์


การรักษา

รักษาด้วยยาชนิดทา

สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาชนิดทา เช่น ครีม, ขี้ผึ้ง หรือน้ำยาเคลือบเล็บป้องกันเชื้อรา 

รักษาด้วยยาชนิดรับประทาน

1. เทอร์บินาฟีน (Turbinafine) เป็นตัวยาที่นิยมใช้ มีประสิทธิภาพสูง ผลข้างเคียงน้อย

  • สำหรับเล็บมือ ระยะเวลาการใช้ยา 6 สัปดาห์

  • สำหรับเล็บเท้า ระยะเวลาการใช้ยา 12 สัปดาห์

2.ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพดี แต่อาจมีผลข้างเคียงของตัวยา เช่น ปวดท้อง หรือคลื่นไส้

3. ฟลูโคนาโซล (FLuconazole) มักใช้รักษาในกรณีเชื้อรารุกลาม อาจมีผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว หรือคลื่นไส้

ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาถอดเล็บ ในผู้ป่วยบางรายขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง


อ่านเพิ่มเติม : ถอดเล็บ อย่างปลอดภัย ที่คลินิกใกล้ฉัน

ถอดเล็บโดยแพทย์ คลิกเลย
การดูแลเล็บมือและเท้าที่มีเชื้อรา

การดูแลเล็บมือและเท้าที่มีเชื้อรา

  • ระมัดระวังเรื่องความชื้นของเท้าหลังอาบน้ำ 

  • สวมรองเท้าแตะ เวลาอยู่/ใช้พื้นที่ส่วนรวม 

  • ในเคสของผู้ป่วยเบาหวาน ควรคุมระดับน้ำตาลให้ดี

  • รับประทานทานยาอย่างสม่ำเสมอ  เนื่องจาก มีโอกาสพลาด/ลืมทานเพราะยาเชื้อรากินติดต่อเป็นระยะเวลานานเสื่ยงต่อการลืมทาน

วิธีดูแลเล็บ ให้มีสุขภาพดี


วิธีป้องกันโรคเชื้อราที่เล็บ

  • สวมรองเท้าแตะในพื้นที่ส่วนรวม 

  • ดูแลโรคประจำตัว คุมอาหาร ทานยา ในเคสเบาหวาน

  • สวมรองเท้าขนาดพอดี 

  • เช็ดเท้าให้แห้งหลังอาบน้ำ

  • ทาครีมบำรุงเท้า  เนื่องจากเมื่อเท้าแห้งแตก เชื้อราจะเข้าสู่ผิวทางรอยแตกได้ 


บทสรุป

เชื้อราที่เล็บ เป็นเรื่องที่สามารถพบได้ทั่วไป และพบมากในคนสูงอายุและมีโรคร่วม สามารถสังเกตุอาการของเล็บติดเชื้อราได้เบื้องต้น เช่น เล็บเปลี่ยนสีเป็น ขาว เหลือง ดำ, เล็บหนาขึ้น, เล็บเปราะลง และเล็บมีกลิ่นเหม็น เป็นต้น หากพบอาการเหล่านี้ควรมาพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี

ส่วนการรักษาจะเป็นการใช้ยา หรือบางกรณีแพทย์จะพิจารณาถอดเล็บ เราสามารถป้องกันได้โดยการงดใช้ของส่วนรวม, รักษาสุขภาพเล็บ, ดูแลเรื่องความชื้น ให้ดี เป็นต้น


บทความที่น่าสนใจ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย นายแพทย์พันไมล์ เปรมัษเฐียร
  แก้ไขล่าสุด : 19/08/2024
 อนุญาติให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com

free website counter code

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้