เรื่องน่ารู้ PCOS กับ การตั้งครรภ์ อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาดบ่อยๆ จะเป็นอันตรายไหม หนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการนี้คือ PCOS หรือ Polycystic ovary syndrome แล้วถ้าหาก PCOS ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ จะส่งผลให้การตั้งครรภ์ยากขึ้นหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบค่ะ
หัวข้อพบบ่อยเกี่ยวกับ PCOS กับ การตั้งครรภ์
Polycystic ovary syndrome (PCOS) เป็นโรคทางต่อมไร้ท่อที่พบมากที่สุดในสตรีวัยเจริญพันธุ์ โดยสามารถพบได้ 10% เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะไข่ไม่ตก โดยอาการแสดง ได้แก่ ประจำเดือนมาผิดห่างหรือขาดประจำเดือน มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก และภาวะมีบุตรยาก รวมถึงทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์เช่น เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง เป็นต้น
และอาจมีอาการซึ่งเกิดจากภาวะฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น ขนดก มีสิว ผิวมัน และศีรษะล้านแบบเพศชาย รวมทั้งระบบเมตาบอลิสม ได้แก่ ภาวะอ้วนลงพุง เสี่ยงต่อภาวะไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูง (Metabolic syndrome) นอกจากนยังมีผลระยะยาว ได้แก่ เพิ่มความเสี่ยงของเบาหวานชนิดที่ 2 ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ภาพอัลตร้าซาวด์ของรังไข่ จะพบถุงน้ำในรังไข่สองข้างจำนวนมาก
หากอยากทราบว่าไข่จะตกตามปกติไหม ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจกันก่อนว่าภาวะ ถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS เกิดจากพยาธิสภาพ (Disease) ของหลายอวัยวะร่วมกัน ความปกติหลักที่พบมักเกิดในสมองส่วน Hypothalamus ซึ่งเป็นผลให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้าหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ ระดับฮอร์โมน Follicle Stimulating Hormone (FSH) และ Luteinizing Hormone (LH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตกไข่มีระดับที่ผิดปกติไป
"ทำให้การกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนของรังไข่ ซึ่งได้แก่ เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ผิดปกติไป"
และรังไข่มีการสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายมากขึ้น ผู้ป่วยจึงมีอาการแสดงของภาวะฮอร์โมนเพศชายสูง เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะฮอร์โมนเพศชายสูงทำให้การเจริญเติบโตของถุงไข่ (Follicle) หยุดชะงักไม่สามารถเติบโตจนถึงระยะตกไข่ได้ ทำให้ไม่มีการตกไข่ตามรอบปกติ
หากใครที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่แล้วตั้งครรภ์ สามารถก่อให้เกิดอันตรายทั้งตัวของคุณแม่ และทารกในครรภ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นอาการแทรกซ้อน การแท้งลูก การคลอดก่อนกำหนด หรือในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดอาจทำให้เสียชีวิตได้
อ่านเพิ่มเติม: ถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS ที่มักมากับโรคอ้วน สิวเยอะ ฮอร์โมนเพศชายสูง ประจำเดือนผิดปกติ
ผู้ที่เป็นภาวะนี้ สามารถตั้งครรภ์โดยธรรมชาติได้ แต่จะยากกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะ PCOS และมีโอกาสแท้งมากกว่า โดยหากผู้ที่มีภาวะ PCOS มีอายุมากขึ้น โอกาสการตั้งครรภโดยธรรมชาติจะลดลง มีการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS ที่อายุ 27-30 ปี มีโอกาสมีภาวะมีบุตรยากประมาณ 10-20% หากอายุเพิ่มขึ้นเป็น 40 ปีจะมีโอกาสมีบุตรยากประมาณ 45%
เป็นยากลุ่ม Aromatase inhibitor ที่สามารถกระตุ้นการตกไข่และการเติบโตของถุงไข่ได้ เป็นยาตัวแรกที่ใช้ในการกระตุ้นไข่ในผู้ที่มีบุตรยากจากภาวะ ถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS โดยผลข้างเคียงของยา Letrozole เช่น รู้สึกร้อนๆหนาวๆ ปวดกล้ามเนื้อ รู้สึกเพลีย นอนไม่หลับ
เป็นยากลุ่ม Selective estrogen receptor modulator (SERM) ใช้เพื่อกระตุ้นการตกไข่ โดยหากไข่ตกหลายใบอาจเกิดเป็นครรภ์แฝดได้ 5-7% หากใช้ยาตัวนี้ไปในระยะเวลานานมีโอกาสเพื่อความเสี่ยงในการเป็นเนื้องอกที่รังไข่
เป็นยาสำหรับรักษาโรคเบาหวานที่ช่วยลดการดื้อฮอร์โมนอินซูลินของร่างกาย จะพิจารณาให้ในผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 25 Kg/M2 โดย Metformin จะช่วยลดฮอร์โมนเพศชายในเลือด ลดโอกาสเกิดMetabolic syndrome และโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามการใช้ยา Metformin ในผู้ป่วยถุงน้ำรังไข่หลายใบ ไม่ได้ช่วยป้องกันโอกาสการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และไม่ได้ช่วยลดโอกาสการแท้ง
"โดยส่วนตัว หมอขอแนะนำว่าให้ใช้ยา Cyclophene Citrate คู่กับ Metformin จะให้ผลดีกว่าการเลือกใช้เพียงตัวใดตัวหนึ่ง"
กลไกของวิธีนี้ยังไม่ทราบชัดเจน แต่คาดว่าการผ่าตัดนำถุงไข่ที่ไม่เจริญเต็มที่ออกจากรังไข่จะช่วยลดระดับฮอร์โมนเพศชายในเลือด ทำให้เกิดการตกไข่ ใช้เมื่อการใช้ยาไม่ได้ผล วิธีนี้ลดโอกาสการตั้งครรภ์แฝด แต่เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงจากการดมยาสลบและการผ่าตัด
มักใช้หากการใช้ยาไม่ได้ผล เป็นการไข่และอสุจิมาผสมในหลอดทดลอง สามารถลดโอกาสตั้งครรภ์แฝด แต่มีราคาที่สูง
จากบทความนี้ หลายๆคนคงพอทราบกันแล้วว่า PCOS กับ การตั้งครรภ์ สัมพันธ์กันยังไง Polycystic ovary syndrome (PCOS) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะไข่ไม่ตก ทำให้ประจำเดือนมาผิด ห่าง หรือขาดประจำเดือน มีลูกยาก ทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งโพรงมดลูก อีกทั้งยังสัมพันธ์กับ Metabolic syndrome ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานและภาวะอ้วนลงพุง ผู้ที่มีภาวะ PCOS สามารถตั้งครรภ์โดยธรรมชาติได้ แต่ยากกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะ PCOS และมีโอกาสแท้งมากกว่า
แนวทางการรักษาเพื่อให้ไข่ตก หรือรักษาภาวะมีบุตรยากสามารถรักษาโดยใช้ยาที่กระตุ้นการตกไข่ เช่น Letrozole, Cyclophene Citrate, ฮอร์โมน Gonadotrophins หากการใช้ยาไม่ได้ผล อาจพิจารณาทำเด็กหลอดแก้ว IVF หรือ ICSI รวมทั้งการผ่าตัดถุงน้ำรังไข่และการผ่าตัดโรคอ้วนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาภาวะ PCOS ด้วย
|
บทความที่น่าสนใจ
เอกสารอ้างอิง
Pregnancy-related outcomes for women with polycystic ovary syndrome, Rose McDonnell and Roger J Hart
Effects of metformin on early pregnancy loss in the polycystic ovary syndrome. Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism, Daniela J Jakubowicz, Maria J Iuorno, Salomon Jakubowicz, Katherine A Roberts, John E Nestler
International Evidence-based Guideline for the assessment and management of polycystic ovary syndrome 2023, Helena Teede
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงนารดา พิรัชวิสุทธิ์, แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 19/04/2024