หลังจากการเย็บแผลแล้ว แน่นอนว่าก็ต้องมาถึงการตัดไหม ซึ่งแพทย์จะแจ้งเวลากำหนดการตัดไหมให้ผู้ป่วยทราบหลังจากเย็บแผลเสร็จแล้วแต่กรณีไป หรือบริเวณที่ทำการเย็บแผลไว้ เพราะบางจุดจะใช้เวลาให้แผลปิดสมานกันดีไม่เท่ากัน เมื่อต้องมาตัดไหม หลายคนอาจจะสงสัยว่าเวลาตัดไหมเจ็บไหม หรือและขั้นตอนในการตัดไหมจะเป็นอย่างไร อินทัชเมดิแคร์มีคำตอบไปดูกันเลย
โดยทั่วไปผู้ป่วยจะรู้สึกตึงแผลเล็กน้อยขณะมีการตัดไหม ขั้นตอนมีดังนี้
แกะผ้าก๊อซที่ปิดแผลอย่างระมัดระวัง
ก่อนการตัดไหม ให้ทำแผลแห้งโดยการเช็ดด้วยสำลีชุปแอลกอฮอล์จนสะอาด
แพทย์หรือพยาบาล ใช้เครื่องมือหนีบบริเวณใต้ปมของไหม แล้วยกขึ้นเล็กน้อย
จากนั้นใช้มีดปลายแหลมหรือกรรไกรตัดไหมส่วนที่ชิดผิวหนัง ใต้ปมที่ผูกไว้ แล้วค่อยๆ ดึงไหมออกเบาๆ
หากขอบแผลแยกให้หยุด และปิดด้วยวัสดุที่ช่วยดึงรั้งขอบแผล
หลังตัดไหมทำความสะอาดด้วยสำลีชุปแอลกอฮอล์อีกครั้ง
ปิดทับด้วยผ้าก๊อซบางๆ และระวังอย่างให้แผลสกปรก
หากไม่ตัดไหม ไหมที่ตกค้างอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานๆ สามารถทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค และเกิดการอักเสบติดเชื้อได้
นอกไปจากนั้น ไหมถือเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย ไหมเย็บจะไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายของเรา ทำให้มีปฏิกิริยากับไหมเย็บที่ตกค้างอยู่ และเกิดการอักเสบเรื้อรัง ปวด หรือมีอาการคันได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อ
โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะแจ้งหลังจากเย็บแผลเสร็จว่าแผลที่เย็บจะต้องตัดไหมหรือไม่ แผลที่เย็บด้วยไหมชนิดไม่ละลายจะต้องตัดไหม
แผลที่ไม่ต้องตัดไหม จะเป็นแผลที่เย็บด้วยไหมละลาย ยกเว้นว่า แผลนั้นๆมีการอักเสบหรือติดเชื้อก่อน แพทย์อาจจำเป็นต้องตัดไหมบางส่วนออกเพื่อระบายการอักเสบและติดเชื้อดังกล่าว