ชนิดของบาดแผลมีมากมายหลายแบบ ลักษณะที่แตกต่างกัน การทำแผล เย็บแผล หรือแม้แต่การพิจารณาวิธีการรักษาก็แตกต่างกันออกไป บาดแผลบางชนิดไม่จำเป็นต้องทำอะไรมาก แต่บาดแผลบางชนิดก็ต้องได้รับการดูแลและรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์เท่านั้น จึงจะส่งผลให้แผลหายได้ และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา
ในบทความนี้อินทัชเมดิแคร์จะพามาเจาะลึกกับบาดแผลแต่ละชนิดว่าจะมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง และบาดแผลแบบไหนที่ต้องไปพบแพทย์ไม่ควรละเลยและปล่อยทิ้งไว้ค่ะ
หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ชนิดของบาดแผล
ก่อนอื่นต้องพาทุกคนมารู้ก่อนว่า บาดแผล (wounds) หมายถึง การบาดเจ็บทุกชนิดที่ก่อให้เกิดการแตกสลายของผิวหนัง หรือเยื่อบุส่วนอื่น ๆ ของร่างกายรวมทั้งการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นแก่เนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนล่างลงไปจากผิวหนัง หรือ เยื่อบุเหล่านี้ผลของบาดแผลที่ควรสนใจเป็นพิเศษคือ เลือดออกและติดเชื้อ
แผลแต่ละชนิดที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่ได้รับการรักษาใดๆ เกิน 6 ชั่วโมง มีโอกาสที่จะติดเชื้อสูงมาก โดยเฉพาะแผลลึก หรือแผลกว้าง ที่มีการทำลายเนื้อเยื่อมีการปนเปื้อนสูง
คือ แผลที่มีการฉีกขาด หรือเกิดการทำลายผิวหนังให้แยกออกจากกัน ซึ่งอาจต้องมีเย็บแผลในบางกรณี โดยสามารถจำแนกชนิดของบาดแผลเปิดได้ดังนี้
แผลถูกแทงจากของมีคม (Penetracting Wound) บาดแผลอาจเรียบคมหรือหยักเป็นรอยได้ เช่น มีดปลายแหลม เหล็กขูดปลายกลวงมีการปนเปื้อนขึ้นกับโลหะมีคม
แผลกระรุ่งกระริ่ง (Lacerated Wound) มีการเสียเนื้อเยื่อรอบๆและมีการปนเปื้อนร่วมด้วย ขึ้นกับสิ่งแวดล้อม
แผลถลอก (Abrasion) มีเนื้อเยื่อชั้นตื้นของผิวหนังหลุดหายไปด้วยบางส่วน เช่น ถูกขีดข่วน ลื่นล้มบนพื้นขรุขระทำให้ผิวหนังถลอก มีเลือดออกเล็กน้อย
แผลถูกทับอย่างรุนแรง (Crush) แผลจากแรงอัดทับทำให้ผิวหนังเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อช้ำ เซลล์ตาย แขนขาที่ถูกอัดทับบวมผิดรูป
แผลสงครามจากถูกยิง ถูกระเบิด เป็นบาดแผลที่รุนแรง มีการเสียเลือด เสียเนื้อเยื่อ โอกาสติดเชื้อและตัดแชนขาสูง
อัลเซอร์ (Ulcer) หมายถึง การสูญเสียผิวหนังและเนื้อเยื่อ ที่อยู่ใต้ผิวหนัง อาจเกิดจากการบาดเจ็บ การติดเชื้ออัลเซอร์เรื้อรัง (Chronic Ulcer) เป็นแผลที่ไม่หาย
ไม่ว่าจะเป็นชนิดของบาดแผลรูปแบบไหน จะแผลเล็กหรือใหญ่ เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้นที่ผิวหนังก็ควรไปพบแพทย์ แม้ว่าบางครั้งจะเป็นแค่แผลถลอกธรรมดา แต่หากไม่ได้รับการดูแลและรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้เกิดการอักเสบ เป็นหนอง แผลไม่หายหรือลุกลามใหญ่โตมากขึ้น และเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งบางกรณีแพทย์จะมีการพิจารณาให้รับการเย็บแผลเพื่อให้แผลสมานไวขึ้น และช่วยลดโอกาสที่แผลจะติดเชื้อ
นอกจากการรักษาแผลให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้ว ผู้ป่วยที่มีบาดแผลทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยัก โดยแพทย์จะดูประวัติการเคยรับวัคซีนร่วมด้วยตามวินิจฉัยของแพทย์