อาการปัสสาวะ (อาการฉี่) แบบนี้เป็นโรคอะไร

อาการปัสสาวะ (อาการฉี่) แบบนี้เป็นโรคอะไร

อาการปัสสาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกได้ว่าตอนนี้เราเป็นโรคอะไรอยู่ เมื่อสังเกตเห็นก็สามารถรู้ตัวได้ทันและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที ในบทความนี้อินทัชเมดิแคร์พามาเช็คว่า อาการฉี่ผิดปกติที่คุณเป็นอยู่บ่งบ่อกถึงโรคอะไรได้บ้าง

อาการปัสสาวะแบบนี้เป็นโรคอะไร


ฉี่ไม่สุดหรือปัสสาวะไม่สุด

ฉี่ไม่สุดหรือปัสสาวะไม่สุด

อาการปัสสาวะไม่สุดเกิดจากร่างกายไม่สามารถขับปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะจนหมดได้ จึงทำให้ความรู้สึกของผู้ป่วยหลังปัสสาวะยังรู้สึกว่ามีปัสสาวะเหลือค้างอยู่

อาการนี้มักมีสาเหตุได้จากการอุดกั้นหรือมีอะไรผิดปกติมาเบียดทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ เช่น ในผู้ชาย มักเกิดจากโรคต่อมลูกหมากโต หรือในผู้หญิง อาจเกิดจากมดลูกโตผิดปกติหรือก้อนเนื้องอกในมดลูกได้

พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์

และอาจมีสาเหตุได้จากตัวกระเพาะปัสสาวะเอง เช่น ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อสอบถามอาการร่วมอื่นๆร่วมกับตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม


ฉี่แล้วปวดหน่วง ปวดท้องน้อย ฉี่แล้วเจ็บจี๊ด

หากปัสสาวะแล้วมีอาการปวดหน่วงท้องน้อย มักมีสาเหตุจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ  ซึ่งมักมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะกะปริบกะปรอย หรือปัสสาวะมีเลือดปนร่วมด้วย และสามารถพบในเคสนิ่วทางเดินปัสสาวะได้


ฉี่แล้วแสบ ปัสสาวะแสบขัด

ฉี่แล้วแสบ ปัสสาวะแสบขัด

อาการปัสสาวะแสบขัด มักพบในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย , โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งมักมีอาการปวดหน่วง หรือเห็นก้อนกรวดปนมาในปัสสาวะ , ในผู้ชายหากมีอาการปัสสาวะแสบขัด อาจเกิดจากติดเชื้อในท่อปัสสาวะได้   หากมีประวัติเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจต้องระมัดระวังการติดเชื้อกลุ่มโรคหนองใน  ซึ่งมักจะมีอาการหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะร่วมด้วย

หากมีแผลบริเวณอวัยวะเพศหรือบริเวณท่อเปิดปัสสาวะ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะแสบขัดได้


  หากมีอาการปัสสาวะผิดปกติ อยากปรึกษาแพทย์สอบถามได้เลยค่ะ

ฉี่เป็นเลือด

อาการปัสสาวะเป็นเลือด เกิดได้จากหลายสาเหตุตามลักษณะของปัสสาวะ หากปัสสาวะเป็นเลือดสีแดงสด หรือมีก้อนเลือดปนออกมา หรือสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ ไม่มีอาการเจ็บ อาจเกิดจากมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ หรือโรคไตบางชนิด เป็นภาวะรุนแรง จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมโดยเร็ว หากมีอาการปวดบั้นเอวร่วมด้วย อาจเกิดจากภาวะนิ่วในท่อปัสสาวะได้

บางรายอาจตรวจพบว่าปัสสาวะมีเลือดปน จากการส่งห้องตรวจ เป็นเลือดที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า อาจมีสาเหตุจากก้อนนิ่ว โรคไตบางชนิดหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้

หากปัสสาวะเป็นเลือดปริมาณเล็กน้อย หรือปนมากับปัสสาวะช่วงท้าย อาจเกิดได้จากโรคต่อมลูกหมาก นิ่วในทางเดินปัสสาวะ รอยโรคบริเวณท่อปัสสาวะ หรือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้  ซึ่งแต่ละโรคสามารถแยกกันได้ด้วยอาการร่วม การตรวจร่างกายโดยแพทย์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม


ฉี่เป็นฟอง หรือปัสสาวะเป็นฟอง

ฉี่เป็นฟอง หรือปัสสาวะเป็นฟอง

อาการปัสสาวะเป็นฟอง จะมีลักษณะคล้ายมีฟองสบู่ปริมาณเยอะผิดปกติในปัสสาวะ ราดน้ำหรือตั้งทิ้งไว้ฟองก็ไม่หายไป บ่งบอกถึงว่ามีโปรตีนที่ผิดปกติรั่วออกมาในปัสสาวะ เป็นความผิดปกติของไต ที่ไม่สามารถกรองโปรตีนเก็บไว้ได้ ผู้ป่วยมักมีอาการร่วมอื่นๆที่แสดงถึงไตผิดปกติร่วมด้วย เช่น ตัวบวมตาบวม ปัสสาวะออกน้อย เป็นต้น

ทั้งนี้ สาเหตุของโรคไตนั้นมีหลายสาเหตุ เช่น พบในผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีอาการแทรกซ้อนไตวายร่วมด้วย ผู้ที่ทานยาหรืออาหารเสริมที่มีผลต่อไต โรคภูมิแพ้ตนเองบางชนิด และยังสามารถพบในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีครรภ์เป็นพิษได้ เป็นต้น

ในผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะเป็นฟอง หรือสงสัยว่าปัสสาวะเป็นฟองนั้นผิดปกติหรือไม่ จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจปัสสาวะและค่าไตเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุ


พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์

ฉี่กะปริบกะปรอย

อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย หากเริ่มมีอาการไม่นานไม่เกิน 2 สัปดาห์  มักมีสาเหตุจาก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ  ซึ่งมักมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปวดท้องน้อย หรือปัสสาวะมีเลือดปนร่วมด้วย

ฉี่กะปริบกะปรอย

แต่ถ้าหากมีอาการเรื้อรัง เป็นๆหายๆ และอาการมากขึ้นเรื่อยๆ ร่วมกับอาการการอุดกั้นอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะลำเล็กลง

มักมีสาเหตุจากการกดเบียดในกระเพาะปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต เนื้องอกมดลูก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น หรืออาจเกิดจากในผู้ป่วยโรคไตที่มีปริมาณปัสสาวะน้อยได้


พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์

แหล่งอ้างอิง

  • Common urological problem for medical student จัดทำโดย สมาคมศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะแห่งประเทศไทย ปี 2558


 

บทความที่น่าสนใจ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
  แก้ไขล่าสุด : 14/11/2023

website hit counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้