ยารักษาหอบหืด มีกี่ประเภทและใช้ตอนไหน?

ยารักษาหอบหืด มีกี่ประเภทและใช้ตอนไหน

วิธีการใช้ 'ยารักษาหอบหืด' อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเข้าใจเกี่ยวกับยาที่ใช้ในการควบคุมและบรรเทาอาการหอบหืดนั้นมีการใช้งานในบริบทที่แตกต่างกัน ไม่ได้มีแค่การใช้ยาพ่นหอบหืด อย่างที่หลายคนเข้าใจ บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับยาหอบหืดว่ามีกี่ประเภท วิธีการใช้ที่ถูกต้อง และข้อควรระวัง เพื่อให้คุณสามารถจัดการกับอาการหอบหืดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย

หัวข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับการใช้ยารักษาหอบหืด


ยารักษาหอบหืด สำคัญต่อการรักษาอย่างไร?

ยารักษาหอบหืด สำคัญต่อการรักษาอย่างไร?

ยารักษาหอบหืดมีความจำเป็น เนื่องจากโรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้เยื่อบุและผนังหลอดลมตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ


หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
การใช้ยารักษาหอบหืดเป็น
หนึ่งในกระบวนการรักษาที่สำคัญ 

หากขาดความสม่ำเสมอ และความเข้าใจในการใช้ยาก็อาจทำให้การดำเนินของโรคไม่หาย หรือเป็นมากขึ้นได้


รู้จักหอบหืดให้มากขึ้นอ่านบทความ : โรคหอบหืด รู้เท่าทันอาการ ลดความเสี่ยงให้ชีวิต


ประเภทของยารักษาหอบหืด

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหอบหืด มี 2 ประเภท ได้แก่

ยาควบคุมอาการ (Controller)

ยาควบคุมอาการ (Controller)

เป็นยารักษาหอบหืดที่ใช้ในการรักษาระยะยาว ต้องใช้อย่างสม่ำเสมอ แม้จะไม่มีอาการ เช่น ยาพ่นที่มีองค์ประกอบเป็นสเตียรอยด์ (ใช้เป็นยาควบคุมอาการหลัก มีประสิทธิภาพสูงสุด) โดยอาจให้ร่วมยาอื่นๆ เช่น

  • ยาต้านการอักเสบ Leukotriene

  • ยากลุ่ม Methylxanthines

  • ยาพ่นชนิด Long acting beta-2 agonists

ยาบรรเทาอาการ (Reliever)

ยาบรรเทาอาการ (Reliever)

เป็นยารักษาหอบหืดสำหรับใช้เพื่อช่วยลดการตีบตัวของหลอดลมในระหว่างที่มีอาการหอบหืดเฉียบพลัน จึงควรใช้เฉพาะเมื่อมีอาการเท่านั้น ตัวอย่างเช่น

  • ยาพ่นชนิดสูดพ่นในระยะสั้น Short acting beta-2 agonists เช่น Salbutamol, Terbutaline และ Fenoterol

  • ยากลุ่มยาต้านโคลิเนอร์จิค (Anticholinergic drugs)

ยาทั้งสองชนิดมักใช้ร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคหอบหืด ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาจ่ายยาตามความเหมาะสมของอาการของคนไข้ตามบุคคล


พบแพทย์ใกล้ฉันคลิก

เปรียบเทียบยาพ่น Berodual กับ Ventolin

Ventolin

Ventolin เป็นชื่อการค้าของตัวยา Salbutamol (ชนิดยา short acting beta 2 agonist) มีฤทธ์ในการลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม เริ่มออกฤทธิ์ใน 5 นาที และออกฤทธิ์นาน 3-6 ชั่วโมง

Berodual

Berodual เป็นยาผสมกับระหว่าง Ipratropium bromide (Anticholinergic) และ Fenoterol (short acting beta 2 agonist ) โดย Fenoterol เป็นยากลุ่มเดียวกับ Salbutamol ออกฤทธิ์คล้ายกัน ในขณะที่ Ipratropium bromide ออกฤทธิ์นานประมาณ 6-8 ชั่วโมง


ดังนั้น ความแตกต่างของยาทั้งสองชนิดนี้

คือ Berodual ออกฤทธิ์ขยายหลอดลม
ได้ยาวนานกว่า ยา Ventolin เล็กน้อย


ยาแต่ละชนิดควรใช้เมื่อใด

ยาแต่ละชนิดควรใช้เมื่อใด ทั้งยา Berodual กับ Ventolin ควรใช้เป็นยาบรรเทาอาการขณะมีอาการกำเริบเฉียบพลันเท่านั้น แต่หากมีอาการกำเริบบ่อยต้องใช้ยากลุ่มนี้สูดพ่นทุกวันหรือแทบทุกวัน ควรได้รับยากลุ่มควบคุมอาการร่วมด้วย


ผลข้างเคียงและข้อควรระวังในการใช้

  • อาจพบอาการกล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย  ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ได้

  • อาจทำให้ระดับโพแทสเซียม (Potassium) ในเลือดต่ำลงได้

  • ควรระวังในหญิงมีครรภ์และให้นมบุตร

  • ควรระวังการใช้ยา Berodual ในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต หรือ ผู้ป่วยโรคต้อหินแบบ narrow-angle

คำแนะนำ: หากใครที่มีโรคประจำตัว หรือกำลังใช้ยาอื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนที่จะเริ่มใช้ยารักษาหอบหืด


ตรวจและรักษาหอบหืด คลิก

แนวทางใช้ยารักษาหอบหืดอย่างปลอดภัย

วิธีใช้ยา

แนวทางใช้ยาอย่างปลอดภัย

ควรใช้ยาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และใช้ยาให้ถูกวัตถุประสงค์ตามชนิดของยา เช่น

  • ยาสำหรับควบคุมอาการ ให้ใช้สม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง ไม่ใช่ใช้แต่ตอนมีอาการกำเริบ

  • หลังใช้ยาพ่นที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ ให้กลั้วคอด้วยน้ำเปล่าทุกครั้ง

ยาพ่นหอบหืดซื้อใช้เองได้ไหม

ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง หากยังไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหอบหืดจากแพทย์ นอกจากนี้ควรไปตามนัดแพทย์ทุกครั้ง เนื่องจากแพทย์จะต้องมีการประเมินการใช้ยาและปรับยาตามความเหมาะสม

ความถี่ในการใช้ยา

ยารักษาหอบหืดนั้นมีหลายชนิด ความถี่ในการใช้ยาแต่ละตัวจึงมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคด้วย อาการของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้นควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษาอาการ เพื่อความปลอดภัย

สามารถหยุดยาเองได้หรือไม่

ไม่ควรหยุดยาเองแม้ไม่มีอาการกำเริบ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาปรับลดขนาดยาให้ตามความเหมาะสม

การใช้ยาสามารถทำให้รักษาหายขาดหรือไม่

โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง บางรายสามารถหายไปได้เอง บางรายสามารถกลับมาเป็นได้อีก บางรายก็หายขาดไม่เป็นอีกเลย ส่วนบางรายก็เป็นต่อเนื่องไปตลอด การใช้ยาจะช่วยลดความถี่ ควบคุมอาการ บรรเทาอาการ และป้องกันอาการกำเริบได้ค่ะ


ตรวจและรักษาหอบหืด คลิก

อาการแบบไหนควรใช้ยารักษาหอบหืด

ให้สังเกตอาการ หากมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นหอบหืด เช่น ไอเรื้อรัง หายใจมีเสียงวี้ด เหนื่อยหอบ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และวินิจฉัยว่าเป็นโรคหอบหืดหรือไม่

หากพบว่าเป็นโรคหอบหืดแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาแนวทางการรักษาและจ่ายยารักษาหอบหืดตามความเหมาะสม หากสงสัยว่าเป็นไม่ควรซื้อยามาใช้เองเพราะอาจเกิดอันตรายได้

บทสรุป

ยารักษาโรคหอบหืด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ยาควบคุมและยาบรรเทาอาการ ยาควบคุมใช้เพื่อป้องกันการเกิดอาการหอบหืดในระยะยาว ในขณะที่ยาบรรเทาอาการใช้ในกรณีฉุกเฉินเมื่อมีอาการหอบหืดกำเริบขึ้น การใช้ยาทั้งสองประเภทควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาและลดความเสี่ยงของอาการที่รุนแรง

"ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสภาพการใช้งานยารักษาโรคหอบหืดอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยไม่ควรเปลี่ยนแปลงการใช้ยาหรือหยุดยาเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอาการหอบหืดที่ควบคุมได้ยาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว "


บทความที่น่าสนใจ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงวรางคณา วิวัลย์ศิริกุล
  แก้ไขล่าสุด : 17/08/2024
  อนุญาติให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com

free counter

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้