Last updated: 11 ก.ย. 2567 | 9704 จำนวนผู้เข้าชม |
งานในที่อับอากาศเป็นงานที่มีความเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาพแวดล้อมในที่อับอากาศมีลักษณะเฉพาะที่เป็นอันตรายหลายประการ
เช่น ระดับออกซิเจนใน อากาศที่ต่ำหรือสูงเกินกว่าภาวะปกติ ช่องทางที่ยากแก่การเข้าออกของคนทำงาน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็เข้าไปช่วยเหลือได้ยาก ทำให้การเข้าไปทำงานจะต้องใช้ความระมัดระวังและอยู่ภายใต้การดูแลตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเครีงครัด
|
เรื่องที่ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศควรรู้
ตรวจสุขภาพทํางานในที่อับอากาศ คือ การตรวจสุขภาพสำหรับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่อับอากาศเพื่อใบรับรองแพทย์อับอากาศ ทั้งการทำงานแบบประจำและชั่วคราว เพื่อให้ทราบถึงความสมบูรณ์แข็งแรงทางร่างกายและความพร้อมของจิตใจในการทำงาน ส่งผลเรื่องความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและประสิทธิภาพของการงานออกมาเหมาะสมตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะของงานในแต่ละสาขาอาชีพนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งอันตรายต่าง ๆ ระหว่างการทำงานสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาหากขาดการป้องกันที่ดีพอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากหน้างาน หรือแม้กระทั่งปัญหาสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเอง จึงทำให้ทุกอาชีพควรต้องมีการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ยิ่งถ้าหากเป็นคนต้องทำงานในสถานที่อับอากาศ พื้นที่จำกัด คับแคบ หรือสภาพอากาศไม่เป็นใจ
ตามกฎกระทรวงแรงงาน นิยามคำว่า สถานที่อับอากาศ (Confined Space) หมายถึง สถานที่ที่มีทางเข้าออกจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศในการทำงานที่เป็นอันตรายกับร่างกาย เช่น ท่อ, เตา, ถังไซโล, อุโมงค์, หลุม, บ่อ, ห้องใต้ดิน, ห้องนิรภัย, หรืออื่นใดก็ตามที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ เป็นแหล่งสะสมของสารพิษ สารไวไฟที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องสูดดมเข้าไป
ส่วนคำว่าสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศอันตราย หมายถึง มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่า 23.5 โดยปริมาตร หรือมีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟและระเบิดได้มากกว่าปริมาณที่กำหนด ทั้งนี้นายจ้างจะต้องทำการตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศให้กับลูกจ้างที่ทำงานด้านนี้ทุกคนก่อนเริ่มงาน คล้ายเป็นการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเพื่อยืนยันว่าพนักงานไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจหรืออื่นใดก็ตามที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเมื่อมีการทำงานในสถานที่อับอากาศ
พื้นที่อับอากาศที่เสี่ยงต่อผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ อุโมงค์ ถ้ำ บ่อพักน้ำเสีย บ่อเก็บก๊าซชีวภาพ บ่อฝึกงานเชื่อมใต้น้ำ บ่อบาดาล หลุม ห้องหรือสถานีใต้ดิน ห้องนิรภัย โรงไฟฟ้า ถังน้ำมัน ถังหมัก ถังไซโล ท่อ เตา ภาชนะ รวมไปถึงห้องเก็บปลาใต้ท้องเรือและโรงเห็ด เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น ส่วนใหญ่มักทำให้ผู้ปฏิบัติงานเสียชีวิตมากกว่าเจ็บป่วย
อย่างเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2550 สำนักระบาดวิทยารายงานการเสียชีวิตและเจ็บป่วยจากการทำงานในที่อับอากาศ เพิ่มอีก 2 เหตุการณ์ ที่จังหวัดภูเก็ตและสตูล ผู้ประสบเหตุเป็นชาวประมงที่เข้าไปชนปลาในห้องใต้ท้องเรือ รวมเป็นจำนวน 16 ราย เสียชีวิต 6 ราย และเจ็บป่วย 10 ราย
ข้อมูลจาก : มูลนิธิสัมมาอาชีวะ. แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2561. (แสงโฉม เกิดคล้าย. โรคพิษจากก๊าซและการขาดอากาศหายใจ - สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2550.นนทบุรี: สำนักระบาตวิทยา กรมควบคุบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2550.)
ที่อับอากาศเป็นที่มีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจากข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมที่มีอากาศถ่ายเทน้อย ทำให้เกิดอันตรายต่างๆ เช่น ขาดออกซิเจน, การสะสมของก๊าซพิษ, การขาดแสงสว่าง, อุณหภูมิสูง, และความเสี่ยงจากการติดเชื้อหรือสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวที่จำกัดยังเพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม : อันตรายจากที่อับอากาศและโรคจากภาวะอับอากาศ
โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและหลอดเลือดหัวใจ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคหัวใจโต
โรคถุงลมโป่งพอง
โรคหอบหืด
โรคปอด
โรคลมชัก
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
โรคเกี่ยวกับข้ออักเสบ
ความผิดปกติของกระดูกและข้อ
โรคกลัวที่แคบ
โรคทางจิตเวช
โรคเบาหวาน
ภาวะเลือดออกง่าย
โรคไส้เลื่อน
ตั้งครรภ์อยู่หรือไม่
ครั้งสุดท้ายที่เป็นประจำเดือน
ดัชนีมวลกาย
ความดันโลหิต
อัตราเร็วชีพจร
การมองเห็นระยะไกล
การได้ยินเสียงพูด
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เอ็กซ์เรย์ทรวงอก
ตรวจสมรรถภาพของปอด
ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
ตรวจการตั้งครรภ์
ตรวจสุขภาพทํางานที่อับอากาศหรือตรวจประเมินสุขภาพอย่างน้อยทุก 1 ปี แต่หากเป็นผู้ที่แพทย์เห็นว่ามีความเสี่ยงสูง และอาการของโรคอาจเปลี่ยนแปลงแย่ลงได้เมื่อเวลาผ่านไป อาจแนะนําให้คนทํางานนั้นมาตรวจประเมินสุขภาพถี่บ่อยขึ้น เพื่อความปลอดภัยต่อตัวคนทํางานผู้นั้นเองได้
|
บทความที่น่าสนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย : นายอัชวิน ธรรมสุนทร
อนุญาติให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com
14 มี.ค. 2565
3 พ.ค. 2565
22 มี.ค. 2565
6 พ.ค. 2565