การวินิจฉัยและวิธีรักษาโรคหนองใน

การวินิจฉัยและวิธีรักษาโรคหนองใน

วิธีรักษาหนองใน มีทั้งแบบรักษาด้วยการกินยาและฉีดยา ซึ่งต้องรับการตรวจวินิจฉัยโรคจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผลดีต่อผู้ป่วยมากกว่าการซื้อยากินเอง บางคนปล่อยไว้นานไม่มารักษาทำให้อาการหนองในหนักขึ้น 

อินทัชเมดิแคร์ขอแนะนำการรักษาหนองใน และการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจรักษาที่คลินิก พร้อมทั้งวิธีการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

เรื่องน่ารู้การวินิจฉัยและวิธีรักษาหนองใน

การตรวจวินิจฉัยโรคหนองใน

การตรวจวินิจฉัยโรคหนองใน

ในกรณีที่มีปัสสาวะแสบขัด สามารถตรวจวินิจฉัยโรคหนองในโดยการเก็บตัวอย่างปัสสาวะส่งเพาะเชื้อ แต่หากมีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือมีอาการแสดงบริเวณช่องปากหรือลำคอ อาจเก็บตัวอย่างจากลำคอ

หากมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหรือมีอาการแสดงบริเวณทวารหนักอาจเก็บตัวอย่างจากทวารหนัก 

หากมีอาการหนองในแสดงบริเวณอวัยวะเพศ อาจเก็บตัวอย่างจากปลายองคชาต หรือบริเวณปากมดลูก โดยการตรวจภายใน


รับบริการที่อินทัชเมดิแคร์คิลินิก

วิธีรักษาหนองใน

วิธีรักษาหนองใน คือการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์จะให้ยาปฎิชีวนะเป็นหลัก ซึ่งจะพิจารณาว่าควรได้รับในรูปแบบฉีดหรือรับประทาน ความร่วมมือในการใช้ยาและการลดความเสี่ยงระหว่างการรักษาถือเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาหนองใน

 

ปัจจุบันโรคหนองใน
มีอุบัติการณ์ดื้อยาสูงขึ้นต่อเนื่อง 
หลังจากได้รับการรักษาครบแล้ว
หากพบว่ายังคงมีอาการแสดงอยู่
ควรกลับไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม


การเตรียมตัวก่อนมารักษาหนองใน

การเตรียมตัวก่อนมารักษาหนองใน

การเตรียมตัวสำหรับผู้หญิง

  • งดใช้ยา สวนล้างช่องคลอดหรือสอดยาทางช่องคลอดก่อนตรวจ 

  • แนะนำมาตรวจช่วงที่ไม่มีประจำเดือน แต่ถ้าหากมีประจำเดือนควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อน

  • สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย แนะนำให้ใส่กระโปรง และไม่ควรนุ่งกางเกงที่รัดจนเกินไป

  • ควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องตรวจ

การเตรียมตัวสำหรับผู้ชาย

  • งดใช้ยา หรือป้ายยาบริเวณอวัยวะเพศก่อนตรวจ 

  • สวมใส่กางเกงที่สบายและสามารถถอดได้ง่าย


การปฏิบัติเมื่อเป็นหนองใน และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

การปฏิบัติเมื่อเป็นหนองใน และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

  1. งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาหายทั้งผู้ป่วยและคู่นอน และภายในช่วงเวลา 7 วัน หลังจากที่ให้การรักษาจนหายดีแล้วถ้าจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัย

  2. รับประทานยาหรือรับการรักษาหนองใน จนครบตามแผนการรักษาของแพทย์

  3. ดูแลความสะอาดร่างกาย และความสะอาดของเสื้อผ้าชุดชั้นใน ไม่ใส่ซ้ำ ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น

  4. ดูแลความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งหลังขับถ่ายโดยล้างจากด้านหน้าไปด้านหลัง แล้วซับให้แห้งด้วยผ้าหรือทิชชูที่สะอาด

  5. มารับการตรวจรักษากับแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

  6. ถ้ามีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์ เช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือมีหนองไหลจากอวัยวะเพศ

  7. ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง

  8. หากคู่นอนมีอาการน่าสงสัยควรแนะนำพามาพบแพทย์และรักษาคู่นอนที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ด้วยกันภายในช่วง 60 วัน ก่อนวินิจฉัยโรคหนองใน


วินิจฉัยโรคและการรักษาโรคหนองใน

ไม่ว่าจะเป็นการวินิจฉัยโรคและการรักษาโรคหนองในมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ามาตรวจรักษากับแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาหรือรับยาที่ถูกต้องครบถ้วน รวมไปถึงการติดตามอาการอย่างต่อเนื่องหลังพบแพทย์เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสุงสุด

ในการรักษาตัวคนไข้เองก็ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วย เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรคหนองใน 


รับบริการที่อินทัชเมดิแคร์คิลินิก

บทความที่น่าสนใจ


อ้างอิงข้อมูล

  • แนวทางการดูแลรักษาโรคหนองในเฉพาะที่, เวชบันทึกศิริราช

  • แนวทางการดูแลรักษาโรคหนองใน พ.ศ. 2562, กรมควบคุมโรค

  • โรคหนองใน 2556, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

  • Gonorrhea – CDC Basic Fact Sheet 


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงเรณุกา ไหมสุทธิสกุล
  แก้ไขล่าสุด : 17/04/2024

free website counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้