ปลายประสาทอักเสบ อาการที่บ่งบอก การรักษา และป้องกัน

ปลายประสาทอักเสบ อาการที่บ่งบอก การรักษา และป้องกัน

ปลายประสาทอักเสบ ชามือชาเท้า เจ็บแปล๊บๆตามร่างกาย เกิดจากสาเหตุใด รู้จักปลายประสาทอักเสบโรคที่ดูเหมือนจะไม่อันตรายแต่ลดทอนคุณภาพการใช้ชีวิต อาจทำให้ใช้ชีวิตได้ไม่ดีเหมือเดิม โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ส่วนใครที่ยังไม่เป็นก็มาดูวิธีป้องกันได้ในบทความนี้เลย

หัวข้อเกี่ยวกับปลายประสาทอักเสบ  


ปลายประสาทอักเสบสาเหตุเกิดจากอะไร

ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) คือ ภาวะที่เส้นประสาทส่วนปลาย โดยส่วนใหญ่มักเป็นปลายมือ ปลายเท้า หรือบริเวณใบหน้า มีการอักเสบจากสาเหตุต่างๆ และมีผลข้างเคียงจากการอักเสบทำให้เกิดอาการปวด หรือ ชา ได้ 

สาเหตุของปลายประสาทอักเสบที่พบบ่อยได้แก่

กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอักเสบ

  • ภาวะเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี

  • โรคปลายประสาทอักเสบบางชนิดที่เป็นขึ้นมาได้เอง หรือเป็นหลังการติดเชื้อบางชนิด เช่น เชื้องูสวัด (Postherpetic Neuralgia) 

  • โรคที่เกิดการกดทับเส้นประสาท เช่น กระดูกสันหลังบริเวณคอ เอว หลังกดทับเส้นประสาท หรือเส้นเอ็นอักเสบกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ 

  • กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอักเสบ

ผู้มีภาวะขาดวิตามินบี 1

  • อาจพบหลังการบาดเจ็บต่อระบบประสาทจากอุบัติเหตุ หรือหลังการผ่าตัด 

  • นอกจากนี้ยังอาจพบร่วมกับโรคเรื้อรังอื่นที่มีผลต่อระบบประสาทเช่น โรคเส้นเลือดสมอง หรือมะเร็ง 

  • ภาวะขาดวิตามินบี 1 (Vitamin B1), วิตามินบี 6 (Vitamin B) และวิตามินบี 12 (Vitamin B12) ซึ่งมีความสำคัญต่อเส้นประสาท เป็นต้น


อาการของปลายประสาทอักเสบ

ผู้ป่วยมักมีอาการปวดและชา โดยอาการปวดสามารถมีได้หลากหลายรูปแบบ เช่น

  • ปวดเจ็บแปล๊บๆตามร่างกายเหมือนไฟช๊อต 

  • ปวดแสบร้อน

  • ปวดเย็นเหมือนถูกน้ําแข็ง รู้สึกยิบๆ ซ่าๆ

  • ปวดแปลบปลาบคล้ายเข็มตํา

  • คัน  หรือความรู้สึกสัมผัสผิดปกติ 

โดยความรู้สึกที่ผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเอง หรือเกิดภายหลังการกระตุ้นก็ได้ มีหลายระดับความรุนแรง และความถี่ในการปวด ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเล็กน้อย ไม่เป็นตลอดเวลา จนสามารถเป็นถึงอาการปวดมาก และเป็นตลอดเวลาได้

 

"ภาวะปวดจากปลายประสาทอักเสบ
เป็นความปวดแบบเรื้อรังที่มีผลกระทบ
ต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย อาจส่งผลทำให้
เกิดอาการ นอนไม่หลับ สูญเสียสมาธิ
ซึมเศร้า กังวล เบื่ออาหาร "


ปัจจัยเสี่ยงปลายประสาทอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการปลายประสาทอักเสบ คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือภาวะข้างต้นที่เป็นสาเหตุ (สาเหตุของปลายประสาทอักเสบที่พบบ่อย) , อายุเยอะ มีผลต่อบาดเจ็บต่อเส้นประสาทได้ง่ายขึ้นและฟื้นตัวได้ช้ากว่าผู้ป่วยอายุน้อย


ปลายประสาทอักเสบอันตรายแค่ไหน

ปลายประสาทอักเสบมีระดับความปวดและอาการได้หลายระดับ และเป็นโรคที่มีอาการเรื้อรัง จะมีความอันตรายต่อคุณภาพการใช้ชีวิต ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรงและมีอาการตลอดเวลา อาจส่งผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ, สูญเสียสมาธิ, ซึมเศร้า, กังวล และเบื่ออาหาร

พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์คลิก

การวินิจฉัย

เบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัยจากการซักประวัติ อาการ โรคประจำตัวและสาเหตุที่เกี่ยวข้อง และจะทำการตรวจร่างกายโดยเฉพาะการตรวจระบบประสาท การรับความรู้สึกของผู้ป่วย และตรวจตามระบบจากสาเหตุที่น่าจะเกี่ยวข้อง จึงจะสามารถวินิจฉัยอาการปลายประสาทอักเสบได้

อาจมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือตรวจทางรังสีเพิ่มเติม (เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ , ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ) ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุที่ซับซ้อนหรือสาเหตุไม่ชัดเจน 


วิธีการรักษา

ในการรักษาปลายประสาทสามารถแบ่งเป็นการรักษาได้สองกลุ่มใหญ่ๆ คือ รักษาเพื่อบรรเทาอาการ และรักษาตามสาเหตุของปลายประสาทอักเสบในผู้ป่วยแต่ละราย

ยาต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

การรักษาเพื่อบรรเทาอาการ

การรักษาเพื่อบรรเทาอาการ ยาสามารถสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้นและมีการปรับยาตามอาการในผู้ป่วยแต่ละรายต่างกัน

  • ยาแก้ปวด กลุ่ม NSAIDs หรือ Opioid

  • ยาบรรเทาปวดจากอาการปวดของเส้นประสาท กลุ่ม TCAs และ Calcium channel blocker 

  • ยาเฉพาะที่ เช่น แผ่นแปะ หรือยาชาทาแก้ปวด

  • การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู เช่น เครื่องกระตุ้นเส้นประสาท , ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาทผ่านทางผิวหนัง , การทำกายภาพบำบัด

พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์คลิก

การรักษาตามสาเหตุ

การรักษาตามสาเหตุของปลายประสาทอักเสบในผู้ป่วยแต่ละราย

การรักษาโดยกายภาพบำบัด ในโรคที่เกิดการกดทับเส้นประสาท

  • บางภาวะ หากรักษาที่สาเหตุอาจทำให้อาการปลายประสาทอักเสบดีขึ้นได้อย่างชัดเจน เช่น โรคที่เกิดการกดทับเส้นประสาท รักษาด้วยการผ่าตัดหรือกายภาพ , โรคปลายประสาทอักเสบบางชนิดที่เป็นขึ้นมาได้เอง หรือเป็นหลังการติดเชื้อบางชนิด เช่น เชื้องูสวัด (Postherpetic Neuralgia) เป็นต้น

ควบคุมการบริโภคน้ำตาล

  • บางภาวะอาจช่วยทำให้แค่อาการปลายประสาทอักเสบนั้นไม่รุนแรงขึ้น เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นมานาน เส้นประสาทส่วนปลายมีความเสียหายเป็นระยะเวลานาน เช่น ภาวะเบาหวานที่คุมได้ไม่ดี การควบคุมน้ำตาลอาจไม่ช่วยให้อาการปลายประสาทอักเสบดีขึ้นชัดเจนมากนักแต่ช่วยให้อาการปลายประสาทอักเสบนั้นไม่รุนแรงขึ้น หรือภาวะโรคเส้นเลือดสมอง เป็นต้น

พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์คลิก

การป้องกัน

  1. รับประทานที่อาหารที่มีประโยชน์ มีวิตามิน และสารอาหารครบถ้วน 

  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและระบบประสาท รวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน

  3. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆจนมากเกินไป  จนสามารถทำให้เกิดโรคกลุ่มการกดทับเส้นประสาทได้ เช่น ยกของหนักบ่อยเป็นเวลานาน ยืนหรือเดินนาน ใช้ข้อมือข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป เป็นต้น หากมีความจำเป็นต้องทำ แนะนำให้เปลี่ยนท่าทางบ่อยๆและยืดเหยียดร่างกายร่วมด้วย

  4. ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน แนะนำคุมระดับน้ำตาลด้วยการคุมอาหาร และรักษาด้วยยา ให้ระดับน้ำตาลอยู่ในระดับที่ดีอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ยังไม่มีอาการปลายประสาทอักเสบ เพราะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการปลายประสาทอักเสบได้

  5. ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคปลายประสาทอักเสบที่เป็นขึ้นมาได้เอง หรือเป็นหลังการติดเชื้อบางชนิด เช่น เชื้องูสวัด นั้น แนะนำให้มาพบแพทย์โดยเร็วตั้งแต่เริ่มมีอาการระยะแรก เนื่องจากการให้ยารักษาเฉพาะยางตัวจะให้ผลได้ดีกว่าในผู้ป่วยที่เริ่มยาได้เร็ว


คำถามที่พบบ่อย

โดยปกติผู้ป่วยต้องรักษากี่เดือน

ตอบ: ขึ้นกับสาเหตุที่ผู้ป่วยแต่ละราย แต่โดยทั่วไปแล้วโรคปลายประสาทอักเสบเป็นโรคที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาค่อนข้างนาน มักเริ่มต้นอย่างน้อยที่ 2 สัปดาห์ จนถึงหลักปี 

 

เป็นแล้วสามารถหายเองได้หรือไม่

ตอบ: หากสาเหตุและอาการที่เป็นนั้นไม่รุนแรง คือ อาการปวดเป็นไม่มาก ไมได้เป็นตลอดเวลา และนานๆเป็นที ผู้ป่วยบางรายสามารถหายเองได้

 

เป็นปลายประสาทอักเสบ นวดได้ไหม

ตอบ: สามารถนวดได้ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและการกระตุ้นเส้นประสาท แต่อาจมีข้อควรระวังในผู้ป่วยบางรายที่ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนเพราะการนวดอาจทำให้เกิดอันตรายหรือผลข้างเคียงอย่างอื่นได้ เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว, โรคเส้นเลือดสมอง, โรคเบาหวาน, ภาวะที่มีบาดแผลหรือผื่นบริเวณที่จะนวด, ภาวะกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท และมะเร็ง

เป็นปลายประสาทอักเสบในผู้สูงอายุความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น

หากเป็นในผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นไหม?

ตอบ: มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เนื่องจากการฟื้นฟูของเส้นประสาทในผู้สูงอายุจะฟื้นฟูได้ช้ากว่าผู้อายุน้อย และมีความเสื่อมของเส้นประสาทตามวัยร่วมด้วย

 

ยารักษาอาการปลายประสาทอักเสบช่วยในเรื่องใด

ตอบ: หลักๆจะช่วยเรื่องลดอาการปวด และความรู้สึกผิดปกติที่เกิดจากการทำงานของเส้นประสาทที่ผิดปกติไป

 พบแพทย์ ที่อินทัชเมดิแคร์คลิก

กินอะไรบํารุงและลดอาการชามือชาเท้าได้

ตอบ: รับประทานที่อาหารที่มีประโยชน์  มีวิตามิน และสารอาหารครบถ้วน และสามารถเสริมด้วยวิตามินบีรวม เพื่อช่วยบำรุงการทำงานของระบบเส้นประสาท

 

มีวิธีช่วยลดอาการปวดหรือไม่?

ตอบ: ผู้ป่วยสามารถแช่น้ำอุ่นเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้ เปลี่ยนท่าทางบ่อยๆและยืดเหยียดร่างกาย การทำกายภาพบำบัดด้วยท่าที่ถูกต้องกับตัวโรคสามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ และการรับประทานยาแก้ปวดที่ถูกต้อง สามารถช่วยลดอาการปวดได้ดี แนะนำปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

 


สรุป

ปลายประสาทอักเสบ เป็นภาวะที่เกิดบริเวณเส้นประสาทส่วนปลาย ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการชามือชาเท้า เจ็บแปล๊บๆ และมีอาการอื่นๆ ที่รบกวนชีวิตประจำวัน สาเหตุของโรคนี้สามารถเกิดจากหลายปัจจัย เช่น โรคเบาหวาน การติดเชื้อ หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

การเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันความเสียหายที่รุนแรงมากขึ้น การรักษาจะมีแบบเพื่อบรรเทาอาการ และรักษาตามสาเหตุ การดูแลตัวเองให้ดีและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจะช่วยป้องกันตัวเราเองจากการเป็นปลายประสาทอักเสบได้


เอกสารอ้างอิง

  • คําแนะนําเวชปฏิบัติในภาวะปวดเหตุพยาธิสภาพประสาท ปี 2563 (Clinical Guidance for Neuropathic Pain) สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
  แก้ไขล่าสุด : 15/07/2024
  อนุญาติให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com

hit counter

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้