โรคเริมเมื่อเป็นแล้ว ถึงจะสามารถหายได้ แต่ก็จะเป็นๆ หายๆ เรื้อรังเรื่อยไป เนื่องจากเชื้อแฝงตัวอยู่ และเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ เริมก็จะกลับมาเป็นอีกตรงตำแหน่งเดิมหรือใกล้เคียงบริเวณที่เคยเป็น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงโรคเริมมีหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งติดต่อจากการสัมผัสและการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงโรคเริม
ปัจจัยเสี่ยงโรคเริมอีกข้อที่เสี่ยงมากคือการมีเพศสัมพันโดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยป้องกันโรค ซึ่งผู้ที่เป็นเริมและคู่นอนที่เป็นเริมบริเวณอวัยวะเพศ ทั้งที่กำลังเป็นหรือเพิ่งหายก็มีโอกาสที่จะแพร่เชื้อได้ทั้งคู่
ดังนั้นจึงไม่ควรละเลยการใช้ถุงยางอนามัย เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการติดต่อและการแพร่เชื้อของโรคเริมแล้ว ยังสามารถป้องกันคุณจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้อีกด้วย
การสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นโรคเริม ซึ่งอาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้ผ่านการสัมผัสกับแผลติดเชื้อผ่านทางรอยถลอกตามผิวหนัง รวมทั้งมือที่สัมผัสแผลติดเชื้อแล้วป้ายเข้าตาก็จะทำให้ติดเชื้อที่ตาได้
การติดเชื้อเริมในเด็กแรกคลอด ในระยะแรกถ้ามารดามีเชื้อเริมอยู่ในช่องคลอด เด็กที่คลอดผ่านทางช่องคลอดมีโอกาสติดเชื้อได้ร้อยละ 40-60 ส่วนใหญ่การติดเชื้อจะเป็นชนิดแพร่กระจายและมีอัตราสูง
แต่การศึกษาในระยะหลังพบว่า โอกาสติดเชื้อในเด็กมีน้อย เนื่องจากทารกมี Neutralising antibody ที่ได้จากมารดาช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ในกรณีที่มารดาเคยติดเชื้อเริมแล้ว
ดังนั้นเมื่อถึงระยะเวลาใกล้คลอด ถ้าแพทย์พบว่ามารดามีแผลเริมที่อวัยวะเพศ ก็จะทำการผ่าตัดให้เด็กคลอดทางหน้าท้อง
ปัจจัยเสี่ยงโรคเริมทุกข้อที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นปัจจัยที่ผู้เป็นเริมควรหลีกเลี่ยงให้ได้เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อโรคต่อกันไปสู่คนรอบข้าง ถึงแม้จะเป็นโรคที่ไม่ได้มีเพียงการติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์อย่างที่คนส่วนใหญ่รับรู้ แต่การสัมผัสผ่านผิวหนังหรือร่างกายภายนอกหรือการใช้สิ่งของร่วมกันก็สามารถนำไปสู่การติดเชื้อหรือทำให้โรคเริมกลับมาเป็นซ้ำได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้อย่างระมัดระวังนะคะ
บทความที่น่าสนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย นายอัชวิน ธรรมสุนทร
แก้ไขล่าสุด : 14/11/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com