มะเร็งปากมดลูก ความเจ็บปวดที่ผู้หญิงทั่วโลกต้องเผชิญมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก ในกลุ่มของมะเร็ง และก่ออันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รักษา ในบทความนี้อินทัชเมดิแคร์เลยจะพาสาวๆทุกคน มารู้จัก "มะเร็งปากมดลูก" ให้มากขึ้น โรคนี้คืออะไร เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง การรักษา และวิธีการป้องกันอย่าง การฉีดวัคซีน HPV หรือ การตรวจคัดกรองโรค ช่วยป้องกันได้หรือไม่
รายละเอียดเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมด
มะเร็งปากมดลูกมีต้นตอมาจากการติดเชื้อ Human Papilloma Virus (HPV ,ไวรัสเอชพีวี) โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้จะติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุในอวัยวะสืบพันธุ์ จึงทำให้เชื้อไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ที่ปากมดลูก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ของปากมดลูก จนกลายเป็นเนื้อเยื่อหรือเซลล์อักเสบเรื้อรังและเป็นมะเร็งในที่สุด
อาการเหล่านี้บอกถึงความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์
เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ สวนล้างช่องคลอด หรือตรวจภายใน
เลือดที่ไม่ใช่เลือดจากรอบประจำเดือน ออกทางช่องคลอด
เลือดออกทางช่องคลอด (วัยทอง) หลังจากหมดประจำเดือนไปนานแล้ว
ตกขาวมากขึ้น ตกขาวมีกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน
ปวดท้องน้อย ปวดหน่วงท้องน้อยโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออุ้งเชิงกราน
เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
พบแผลหรือก้อนที่บริเวณปากมดลูก
มีงานวิจัยที่ระบุว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเลยนั้นเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าคนที่ออกกำลังกายถึง 2.5 เท่าเลย เพราะเมื่อร่างกายไม่แข็งแรงก็มีต้องมีโอกาสป่วยได้ง่ายกว่า ซึ่งการไม่ออกกำลังกายเลยนั้นสัมพันธ์ถึงการนอนหลับด้วย อาจทำให้หลับยากหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
การพักผ่อนน้อยจะมีผลต่อการฟื้นตัว |
การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เช่น
การสวมถุงยางอนามัย
การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ
ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
การสูบบุหรี่ สามารถทำให้การเกิดรอยโรคของมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้น และยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งที่ปากมดลูก รวมถึงความเสี่ยงมะเร็งชนิดอื่นๆด้วย เช่น มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ และมะเร็งชนิดอื่นๆอีกมากมาย และทำให้ร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกันต่ำลง
เอกสารอ้างอิง
ผศ. นพ.ภุชงค์ ลิขิตธนสมบัติ, มะเร็งปากมดลูก
American Society for Colposcopy and Cervical Pathology, Smoking and Cervical Cancer
Global partners cheer progress towards eliminating cervical cancer and underline challenges, World Heath Organization
บทความที่น่าสนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย อินเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 26/06/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com