หูดหงอนไก่ คืออะไร?

หูดหงอนไก่คืออะไร

หูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มักเป็นในร่มผ้า อยู่ในจุดที่บอบบางซึ่งอาจสร้างความระคายเคืองได้ และลุกลามไปบริเวณอื่นเป็นรอยโรคที่ใหญ่ขึ้น สตรีที่ตั้งครรภ์แล้วเป็นหูดหงอนไก่สามารถส่งผลกับทารกที่เกิดมาได้โรคนี้เป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่พบมากในหมู่วัยรุ่นเนื่องจากวัยรุ่นในปัจจุบันนิยมมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน โดยที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง

  เมื่อเป็นแล้วมักจะไม่เกิดอาการ บางคนจึงติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้วโดยไม่รู้ตัว และถ้าหากเป็นแล้วไม่รีบรักษาจะลุกลามทำให้ยากต่อการรักษา  

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหูดหงอนไก่

  1. หูดหงอนไก่คืออะไร

  2. สาเหตุที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่

  3. อาการของหูดหงอนไก่

  4. ผลข้างเคียงที่เกิดจากหูดหงอนไก่

  5. แพทย์วินิจฉัยโรคหูดหงอนไก่ได้อย่างไร

  6. ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นหูดหงอนไก่

  7. วิธีการรักษาหูดหงอนไก่

  8. การป้องกันให้ปลอดภัยจากหูดหงอนไก่

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

หูดหงอนไก่คืออะไร

หูดหงอนไก่ (Genital warts, Condyloma acuminata) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อ HPV  มีลักษณะเป็นตุ่มหรือแผ่นนูน นิ่มๆ คล้ายดอกกะหล่ำ สีชมพูหรือสีเดียวกับผิวหนัง ยื่นออกมาบริเวณอวัยวะเพศ หรือบริเวณใกล้เคียง อาจรู้จักในอีกชื่อ คือ หูดอวัยวะเพศ

สนใจรักษาหูดหงอนไก่

สาเหตุที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่

1. เกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus)

เชื้อ HPV คืออะไร

เชื้อ HPV คืออะไร?

  • ไวรัสชนิดนี้ปัจจุบันพบว่ามีมากกว่า 200 สายพันธุ์ และกว่า 40 สายพันธุ์สามารถติดต่อได้ทางการมีเพศสัมพันธ์

  • ร้อยละ 90 ของโรคหูดหงอนไก่ เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็ง อย่างไรก็ตาม เชื้อชนิดนี้มีบางสายพันธุ์ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกได้

เชื้อ HPV ก่อมะเร็ง

HPV แบ่งตามความสามารถในการก่อมะเร็งออกเป็น

  • สายพันธุ์ที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็ง (Oncogenic หรือ high risk HPV types) ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 35, 39, 41-45, 51, 52, 56, 59

  • สายพันธุ์ที่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็ง (Nononcogenic หรือ low risk HPV types) ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 42, 43, 44

2. เชื้อไวรัสติดต่อผ่านทางการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังหรือเยื่อบุที่ติดเชื้อ 

3. เชื้อไวรัสจะเข้าผ่านทางรอยถลอกขนาดเล็ก (microabrasion) จึงมักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยที่ถุงยางไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ทั้งหมด

4. ผู้แพร่เชื้อไม่จำเป็นต้องมีรอยโรค (แต่ในคนที่มีรอยโรคจะมีโอกาสแพร่เชื้อได้มากกว่าเนื่องจากมีปริมาณไวรัสสูงกว่า)

5. ระยะฟักตัวของเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์ถึง 8 เดือน (เฉลี่ย 2.9 เดือน)

อาการของหูดหงอนไก่

อาการของหูดหงอนไก่

  • หูดหงอนไก่เป็นตุ่มหรือแผ่นนูน นิ่มๆ คล้ายดอกกะหล่ำ สีชมพูหรือสีเดียวกับผิวหนัง ยื่นออกมาบริเวณอวัยวะเพศและบริเวณใกล้เคียง

  • ตำแหน่งที่พบบ่อย (อาจพบได้หลายตำแหน่งพร้อมๆกัน) รอบปากช่องคลอด, ใต้หนังหุ้มปลายองคชาติ ,บริเวณลำองคชาติที่ขลิบแล้ว ,ปากมดลูก ,ช่องคลอด ,ท่อปัสสาวะ ,ฝีเย็บ ,รอบทวารหนัก ,รูทวารหนัก ,อัณฑะ

  • ส่วนใหญ่ ไม่มีอาการร่วมอื่นๆ * ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของรอยโรค หากมีขนาดใหญ่มากอาจทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง อุดกลั้นท่อปัสสาวะ หรือช่องคลอดได้ รวมไปถึงอาจทำให้เกิดการแผลและติดเชื้อบริเวณเนื้อเยื่อหูดได้

  ดูตัวอย่างอาการหูดหงอนไก่

ผลข้างเคียงที่เกิดจากหูดหงอนไก่

การกลับมาเป็นหูดหงอนไก่ซ้ำ

ภาวะแทรกซ้อนในโรคหูดหงอนไก่ที่พบได้บ่อย คือ การกลับมาเป็นซ้ำ โดยอาจเกิดจากการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือการมีคู่นอนหลายคน 

มะเร็งปากมดลูก

เสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากธรรมชาติของการติดเชื้อไวรัสมักจะติดพร้อมกันหลายสายพันธุ์ จึงทำให้อาจได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกร่วมด้วยได้

เป็นหูดหงอนไก่ขณะตั้งครรภ์

สตรีมีครรภ์ สามารถส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีหูดหงอนไก่เกิดขึ้นบริเวณลำคอ และกล่องเสียง จนไปขัดขวางทางเดินหายใจได้ ทำให้ต้องทำการผ่าตัดออก

สนใจรักษาหูดหงอนไก่

แพทย์วินิจฉัยโรคหูดหงอนไก่ได้อย่างไร

  • หูดหงอนไก่สามารถวินิจฉัยได้ทันทีจากลักษณะรอยโรค 

  • การตรวจยืนยันโดยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาจะพิจารณาทำในรายที่รอยโรคมีลักษณะที่ไม่จำเพาะต่อหูด เช่น มีสีเข้มผิดปกติ, แข็ง, ติดแน่นกับเนื้อเยื่อด้านล่าง, ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามมาตรฐาน ต้องการแยกจากแผลมะเร็งอื่นๆ

ข้อปฏิบัติเมื่อเป็นหูดหงอนไก่

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นหูดหงอนไก่

  • แจ้งให้คู่นอนทราบเพื่อตรวจสังเกตอาการจากการได้รับเชื้อ HPV *ทั้งนี้คู่นอนอาจไม่มีรอยโรค หรืออาการใดๆก็ได้

  • ผู้ป่วยและคู่นอน ควรตรวจคัดกรองการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ร่วมด้วย

  • พบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาหูดหงอนไก่ ตามความเหมาะสม

  • ดูแลตนเองเมื่อเป็นหูดหงอนไก่ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคให้กับผู้อื่น

สนใจรักษาหูดหงอนไก่

วิธีการรักษาหูดหงอนไก่

  • ในรายที่มีรอยโรคขนาดเล็กหรือไม่มีอาการ อาจพิจารณาตรวจติดตาม หากยังไม่หายภายใน 1 ปี จึงเริ่มการรักษา

  • การรักษามีทั้งการรักษาด้วยยาและการรักษาด้วยการผ่าตัด 

  • อัตราการหายของหูด 35-100% ภายใน 3-15 สัปดาห์ 

  • ผู้ป่วยประมาณ 20-30% จะกลับเป็นซ้ำ (ในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งใหม่) ภายใน 2-3 สัปดาห์ 

  • การรักษาหูดอวัยวะเพศไม่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในอนาคต ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการรักษา ตรวจติดตามและเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ อาจจะต้องใช้เวลานาน

  • การเลือกวิธีการรักษา ขึ้นกับขนาด จำนวน ตำแหน่งของรอยโรค และผลข้างเคียงของการรักษา

รักษาหูดหงอนไก่โดยการใช้ยาทา

ผู้ป่วยใช้ยาทาเอง

เช่น ยา Podyphylline, Imiquimod มีข้อดี คือ มีความเป็นส่วนตัว ผู้ป่วยสามารถนำยากลับไปทาเองที่บ้าน และกลับมาตรวจติดตามหลังการรักษา 2-3 สัปดาห์ ข้อเสียคือ มักเกิดการระคายเคือง และแสบ แดง บริเวณที่ทา รวมไปถึงได้ผลค่อนข้างน้อยกว่าการรักษาแบบอื่นๆ

สนใจเข้ารับบริการคลิกที่นี่

รักษาหูดหงอนไก่โดยแพทย์

การรักษาโดยแพทย์

  • การใช้กรด 80-90% Trichloroacetic acid (TCA) จี้บริเวณรอยโรค

  • จี้ไฟฟ้า

  • จี้เย็นด้วยไนโตรเจนเหลว

  • การรักษาด้วยการจี้/ผ่าตัด มีโอกาสสำเร็จมากกว่า แต่อัตราการกลับมาเป็นซ้ำ พอๆกัน โดยมีผลข้างเคียงที่พึงระวัง ได้แก่ สีผิวเข้มขึ้นหรือจางลงอย่างถาวร หรือมีแผลเป็นยุบหรือนูน บริเวณรอยโรคได้

การป้องกันโรคหูดหงอนไก่

การป้องกันให้ปลอดภัยจากหูดหงอนไก่

  • การมีคู่นอนคนเดียว หรือให้น้อยที่สุด

  • ถุงยางอนามัยไม่สามารถยับยั้งการแพร่เชื้อ HPV ได้ทั้งหมด เพราะเชื้อสามารถกระจายอยู่ได้ทั่วไป บริเวณฝีเย็บ หัวหน่าว รอบทวารหนักเป็นต้น (ทั้งนี้การสวมใส่ถุงยางอนามัยช่วยลดโอกาสการติดต่อได้มากกว่าการไม่สวมใส่ นอกจากนั้นยังช่วยลดการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้แก่ เชื้อ HIV หนองในแท้ หนองในเทียม และโรคเริม ได้อีกด้วย)

  • การขลิบอวัยวะเพศชาย (Male circumcision) ช่วยลดโอกาสการสะสมของเชื้อ HPV ได้

ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อ HPV
  • การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV (HPV vaccine)

1. การฉีดวัคซีนจะต้องฉีด 3 เข็ม และควรฉีดก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์ สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9-26 ปี

2. ฉีดได้ทั้งเพศชาย และหญิง

3. ห้ามฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์

เอกสารอ้างอิง

  • หูดอวัยวะเพศ (Anogenital wart), พญ. ปวีณา พังสุวรรณ, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • หูดหงอนไก่...ไม่ถึงตายแต่ทำลายความมั่นใจ, อ.พญ.เจนจิต  ฉายะจินดา, ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


บทความที่น่าสนใจ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย นายแพทย์จิตรทิวัส อำนวยผล
  แก้ไขล่าสุด : 19/09/2023

free stat counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้