ยาเป๊ป (Post-Exposure Prophylaxis) ยาต้านไวรัสเอชไอวีฉุกเฉิน เริ่มยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมงหลังเสี่ยง ซึ่งมีวิธีกินยา การหยุดยา และประสิทธิภาพการป้องกัน เป็นยาต้าน hiv ฉุกเฉิน ที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักกันมากเท่าไรนัก
|
ดังนั้น ก่อนที่จะได้รับยาต้านเชื้อชนิดนี้ ต้องมีการซักประวัติและตรวจอย่างละเอียดโดยแพทย์ พร้อมทั้งคำแนะนำในการกินยาที่ถูกต้อง เราไปดูกันว่ายาเป๊ป ซื้อที่ไหน ยา pep กินยังไง ผลข้างเคียงเป็นอย่างไร อันตรายหรือไม่ อินทัชเมดิแคร์มีคำตอบให้คุณค่ะ
สูตรยาเป๊ป ที่แนะนำ ประกอบด้วยยา 3 ตัวรวมในเม็ดเดียว ได้แก่ KOCITAF (TAF) 25 mg Emtricicabine (FTC) 200 mg และ dolutegravir (DTG) 50 mg นอกจากนี้ยังมีสูตรยาอื่นๆ อีกซึ่งแพทย์จะปรับยาตามเงื่อนไขของผู้รับบริการแต่ละราย
ยาเป๊ปได้รับการยืนยันแล้วว่าสามารถป้องกันการการติดเชื้อได้อย่างน้อย 80% แต่เนื่องจากยา pep เป็นยาป้องกัน hiv ฉุกเฉินหลังจากเสี่ยงได้รับเชื้อมาแล้ว ประสิทธิภาพของยาจึงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งระยะเวลาเริ่มยายิ่งเริ่มเร็วก็จะป้องกันได้ดีกว่า ลักษณะและระยะเวลาของการได้รับเชื้อ ปริมาณเชื้อในผู้ติดเชื้อหากมีเชื้อมากประสิทธิภาพก็จะน้อยลง เป็นต้น
ถ้าเสี่ยงบ่อยแนะนำให้กินยาเพร็พ (ป้องกันก่อนเสี่ยง) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงจะดีกว่า " |
ดูราคา pep คลิกที่นี่ได้เลยค่ะ
|
เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำคร่ำ และหนอง โดยสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ หรือโดนผิวหนังที่มีแผลเปิด
ส่วนน้ำมูก น้ำลาย น้ำตา เหงื่อ เสมหะ อาเจียน อุจจาระและปัสสาวะ หากไม่ปนเปื้อนเลือดไม่สามารถทำให้ติดเชื้อได้
ข้อควรรู้ก่อนเริ่มกิน ยา pep ยาป้องกันเอดส์ ฉุกเฉิน ผู้รับบริการต้องทำการปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามประวัติ โรคประจำตัว และข้อมูลอื่นๆ และต้องทำการตรวจเลือด HIV เพื่อหาเชื้อไวรัส HIV , ค่าไตและค่าตับ ก่อนกินยาทุกราย และตรวจการตั้งครรภ์ในรายที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้
แนะนำตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆร่วมด้วยเพื่อรักษา เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และตับอักเสบชี ซิฟิลิส หนองใน
เริ่มกิน 1 เม็ดเร็วที่สุดหลังสัมผัสเชื้อ (1-2 ชั่วโมง) ช้าสุดไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังเสี่ยง และกินต่อเนื่องวันละ 1 เม็ดใกล้เคียงเวลาเดิมเป็นเวลา 30 วัน หรือ 4 สัปดาห์
กินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เพียงแต่ต้องเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน
หญิงตั้งครรภ์สามารถกินเป๊ปได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และตัวยาไม่มีผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง
สามารถกินได้ แต่ผู้รับบริการต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนเพื่อวางแผนแนวทางการกินยาร่วมกัน และแพทย์จะพิจารณาการกินเป็นรายๆไป
สามารถรับยาได้ทุกช่วงอายุ โดยวัยรุ่นที่มีอายุ 15-18 ปี และน้ำหนักมากกว่า 35 กิโลกรัม สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาเป๊ปได้ หากอายุน้อยกว่า 15 ปี หรือมีน้ำหนักน้อยกว่า 35 กิโลกรัม แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรับสูตรยาให้เหมาะสม
ยาเป๊ป เป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้น จึงสามารถติดต่อรับได้ที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาล และคลินิกที่มียาบริการหลังการเสี่ยงติดเชื้อให้เร็วที่สุด
สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ควรป้องกันอย่างเคร่งครัดโดยใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง กินยาให้ตรงเวลา เพราะการกินยาไม่ครบหรือผิดเวลา อาจทำให้ยาไม่ได้ผล
หากเป็นไปได้ควรงดมีเพศสัมพันธ์ เพราะระหว่างกินยา PEP ยังไม่สามารถยืนยันได้ 100% ว่าจะป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้สำเร็จ
เอกสารอ้างอิง
Centers for Disease C, Prevention.Updated guidelines for antiretroviral postexposure prophylaxis after sexual, injection drug use, or other nonoccupational exposure to HIV—United States, 2016
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการตรวจวินิจฉัย รักษา และป้องกัน การติดเชื้อ HIV ประเทศไทย ปี 2564/2565
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
บทความที่น่าสนใจ
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
แก้ไขล่าสุด : 21/11/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com