อาการไข้หวัดใหญ่ มักจะมีอาการรุนแรงและเป็นยาวนานกว่าไข้หวัดธรรมดา มีอาการหลายอย่างที่คล้ายๆกัน ยากที่จะแยกออกได้หากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ คนส่วนใหญ่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่จะฟื้นตัวได้ภายในเวลาไม่ถึงสองสัปดาห์
แต่อาการจะรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดาและมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น โรคปอดบวม หลอดลมอักเสบ และการติดเชื้อไซนัสหรือหู อาจเกิดขึ้นได้
อาการไข้หวัดใหญ่กับไข้หวัดธรรมดาที่คุณควรรู้
อาการไข้หวัดใหญ่มักมีอุณหภูมิของร่างกายสูงถึง 39 – 40 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่เป็นจะนานและอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่จะระบาดและพบบ่อยช่วงฤดูฝนจนถึงช่วงฤดูหนาว
ส่วนไข้หวัดธรรมดาจะเป็นได้ตลอดทั้งปี เมื่อมีอาการสามารถกินยาตามอาการร่วมกับการดูแลตัวเองพักผ่อนให้เพียงพออาการก็จะดีขึ้น แต่หากเป็นไข้หวัดใหญ่จำเป็นที่จะต้องมาพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไข้หวัดใหญ่
|
การรักษาไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน คือ การให้ยาต้านไข้หวัดใหญ่มียาที่ใช้รักษา ได้แก่ ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) รับประทานวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 5 วัน เพื่อรักษาอาการไข้หวัดใหญ่และช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน และการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
แต่หากมีอาการไข้หวัดใหญ่ไม่มากหรือเป็นไข้หวัดธรรมดา สามารถรักษาตามอาการได้ เช่น ทานยาลดไข้เมื่อมีไข้ หรือถ้ามีน้ำมูก ไอ ให้ใช้ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ และยาละลายเสมหะ ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารอ่อน ๆ พักผ่อนมากๆ
ไข้หวัดกลายพันธุ์ไม่ได้ เพราะไข้หวัดธรรมดากับไข้หวัดใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสคนละชนิดกัน แต่แม้ว่าไข้หวัดไม่สามารถพัฒนาเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ แต่ก็มีไวรัสมากกว่า 200 ชนิด ที่สามารถทำให้เกิดโรคหวัดได้
อาการไข้หวัดใหญ่ มักเกิดภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยกว่า ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือปอด เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอักเสบ จนอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการไข้หวัดธรรมดา เริ่มต้นจากอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม หรือเจ็บคอ มีไข้ต่ำ ๆ หรือไม่มีไข้ก็ได้ ไม่ค่อยปวดกล้ามเนื้อ อาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง หากเป็นไข้หวัดเรื้อรังอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น หูอักเสบ ปอดอักเสบ ไซนัสอักเสบ
บทความที่น่าสนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงวรางคณา วิวัลย์ศิริกุล
แก้ไขล่าสุด : 30/04/2024