เมื่อพูดถึงโรคไทรอยด์หลายคนก็จะเกิดคำถามเกี่ยวกับโรคไทรอยด์ขึ้นมาว่า มันคืออะไร เป็นแล้วอันตรายไหม โรคไทรอยด์ ห้ามกินอะไร พบได้บ่อยมากเป็นคำถามโรคไทรอยด์ยอดฮิตเลยก็ว่าได้ วันนี้อินทัชเมดิแคร์จึงมาพร้อมคำตอบโรคไทรอยด์ที่จะไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ
คำถาม-คำตอบที่พบบ่อยเกี่ยวกับไทรอยด์
คำตอบ : โรคไทรอยด์เป็นพิษ หากอยู่ในช่วงที่ยังมีอาการหรือพึ่งเริ่มรักษา แนะนำงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น , แอลกอฮอล์ และยาเสพติด
เนื่องจากจะส่งทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และทำให้อาการใจสั่นของไทรอยด์เป็นพิษนั้นแย่ลงและอาจเกิดภาวะหัวใจวายได้แต่หากไม่มีอาการและรักษาจนระดับไทรอยด์ปกติแล้วสามารถทานได้แต่ต้องทานด้วยความระมัดระวัง
นอกจากนี้ ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ ต้องระมัดระวังในการทานอาหารเสริมในกลุ่มอาหารเสริมช่วยลดน้ำหนัก ซึ่งอาจมีการแอบใส่ฮอร์โมนไทรอยด์เข้ามาและทำให้ผู้ป่วยนั้นอาการแย่ลงและไม่ตอบสนองต่อการรักษา
ส่วนอาหารธรรมชาติทั่วไปที่อาจส่งผลให้ฮอร์โมนไทรอยด์สูงนั้น เช่น กะหล่ำปลีดิบ ไม่จำเป็นต้องงดรับประทาน เนื่องจากมีผลเพิ่มฮอร์โมนไทรอยด์ค่อนข้างน้อยมาก
อ่านเพิ่มเติม การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคไทรอยด์ตามคำแนะนำของแพทย์
คำตอบ : ขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุจากภูมิแพ้ตนเอง หรือโรคเกรฟ (Graves’ disease) ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยวิธีการทานยา,กลืนแร่ หรือผ่าตัด เพียงแต่ใช้ระยะค่อนข้างนานและขึ้นกับคนไข้ในแต่ละราย
ส่วนสาเหตุอื่นๆ นั้นพบได้น้อย เช่น ก้อนในไทรอยด์ หรือ มะเร็งไทรอยด์ ซึ่งระยะเวลาและการรักษาหายนั้นแตกต่างกันไป ให้สอบถามแพทย์เจ้าของไข้จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากกว่า
คำตอบ : ไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่สามารถทำให้อันตรายถึงเสียชีวิตได้ หากตรวจพบช้าและไม่ได้รับการรักษาจนโรคดำเนินไปถึงภาวะไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤต (Thyroid storm) เนื่องจากไทรอยด์เป็นพิษส่งผลต่อระบบร่างกายทุกระบบ เช่น หัวใจวาย ตับวาย ไตวาย ไม่รู้สึกตัว เป็นต้น
แต่ถ้าหากคนไข้ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ที่เริ่มมีอาการและได้รับการรักษาเร็วและถูกต้อง มักจะไม่มีอันตราย และตอบสนองต่อการรักษาได้ดี จนสามารถหายขาดและใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไปได้
คำตอบ : ผักที่มีธาตุเหล็ก เช่น ผักโขม แครอท ฟักทอง ผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แครอท ถั่วเลนทิล ถั่วขาว ผักวิตามีนบี ธัญพืชต่าง ๆ ถั่วลันเตา
คำตอบ : ผู้ป่วยขาดไอโอดีน/ไทรอยด์ต่ำ ห้ามกินผักดังนี้ ผักกาดขาว บรอกโคลี คะน้า และหัวไชเท้า ถั่วเหลือง
ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ ต้องระมัดระวังในการทานอาหารที่มีสารไอโอดีน ซีลีเนียมและสังกะสีสูง เช่น เห็ด จมูกข้าวสาลี รำข้าว หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ บรอกโคลี ข้าวกล้อง
โรคไทรอยด์ในเด็กมีสาเหตุคล้ายในผู้ใหญ่ แต่การรักษาโรคไทรอยด์ในเด็กมีความยุ่งยากมากกว่า เช่น ไม่สามารถรับไอโอดีน รังสีเพราะกังวลผลข้างเคียงโดยเฉพาะในเด็กเล็ก การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ในเด็กทำได้ยากกว่าเพราะขนาดต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็ก
ไทรอยด์มีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายและรุนแรงที่สุด คือ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤต (Thyroid storm) เป็นภาวะที่เจอได้ไม่บ่อยแต่อัตราการเสียชีวิตสูง มักพบได้คนไข้ที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษแต่ไม่ได้รับการรักษา คนไข้จะมีอาการใจสั่นรุนแรง ซึมไม่รู้สึกตัว และมีไข้สูง
ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ของไทรอยด์นั้นสามารถพบได้ทุกระบบของร่างกาย ได้แก่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง กระดูกบาง ตาโปน ประจำเดือนมาผิดปกติและมีบุตรยาก เป็นต้น
รวมถึงไทรอยด์ในหญิงตั้งครรภ์ก็มีอาการแทรกซ้อนจากไทรอยด์เป็นพิษเช่นกัน
ทั้งนี้การเกิดภาวะแทรกซ้อนมักจะสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ผู้ป่วยเป็นโรคและระยะเวลาที่ได้รับการรักษา หากเป็นมาไม่นานและได้รับการรักษาเร็วโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนก็จะน้อยลง
บทความที่น่าสนใจ
การปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด! เมื่อเป็นโรคไทรอยด์ตามคำแนะนำของแพทย์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์ , แพทย์หญิงวรางคณา วิวัลย์ศิริกุล
แก้ไขล่าสุด : 24/08/2023