ตรวจภายใน คือ การตรวจดูอวัยวะเพศผู้หญิงตั้งแต่ภายนอกถึงภายในตั้งแต่ปากช่องคลอด ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูกและรังไข่ ในบางรายอาจใช้เครื่องมือช่วยในการตรวจเพื่อทำการดูปากมดลูกและตรงช่องคลอดได้ชัดเจนมากขึ้น สูติแพทย์จะใช้หลัก “ดู คลำ รีด ใส่เครื่องมือ กด”
ผู้หญิงสามารถตรวจภายในได้ทุกช่วงอายุ การตรวจภายในจะสามารถช่วยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจหาการติดเชื้อในช่องคลอด ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคอื่นๆ ได้
การตรวจภายในและการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นการตรวจคนละอย่างกันค่ะ หากแต่ว่าสามารถทำพร้อมกันได้ โดยส่วนใหญ่แล้วหากตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแพทย์จะทำการตรวจภายในไปพร้อมกัน ซึ่งคลินิกก็จะมีราคาตรวจภายในผู้หญิงและราคาตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างละเอียด แจ้งไว้สามารถดูก่อนเข้ารับบริการได้ค่ะ
เลือกเนื้อหาที่คุณต้องการ
เพื่อตรวจค้นหาและคัดกรองความผิดปกติ ทั้งที่มีและไม่มีอาการแสดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยร้ายอย่างมะเร็งปากมดลูก เมื่อพบโรคแล้ว จะได้รับการรักษา, ป้องกันการลุกลามของโรคและติดตามอาการอย่างเหมาะสม
ราคาตรวจภายในผู้หญิงและราคาตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างละเอียด
การดู พิจารณาดูอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การคลำ คลำดูอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกได้แก่ แคมใหญ่ และแคมเล็กสองข้าง
รีด รีดดูรูปัสสาวะว่ามีหนองอยู่ภายในหรือไม่
ใส่เครื่องมือ ใส่ Speculum ขนาดพอเหมาะ (รูปร่างคล้ายปากเป็ด) เพื่อตรวจดูช่องคลอดและปากมดลูก
กด ใช้นิ้วสองนิ้ว คือนิ้วชี้และนิ้วกลาง สอดใส่เข้าไปในช่องคลอด อีกมือกดที่หน้าท้องเพื่อตรวจดูอวัยวะสืบพันธุ์ภายในได้แก่ มดลูก ปีกมดลูก รังไข่ และอุ้งเชิงกราน ขั้นตอนในการตรวจทั้งหมดประมาณ 3-5 นาที และไม่เจ็บเลยนะคะ สบายใจได้
ตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ตรวจหาการติดเชื้อในช่องคลอด เช่น การติดเชื้อรา หรือแบคทีเรีย
ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน โรคเริม ดูปากมดลูกก็ได้ หรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) หูดหงอนไก่
ตรวจและหาสาเหตุของภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ตกขาวผิดปกติ เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ ภาวะมดลูกหย่อน อาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือบริเวณหลัง
ตรวจก่อนการคุมกำเนิด เพื่อดูว่าอุปกรณ์ที่จะใช้มีความเหมาะสม เช่น การใส่ห่วงอนามัย
ตรวจเมื่อเริ่มตั้งครรภ์
เราควรเริ่มตรวจภายในเมื่อมีอาการผิดปกติต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตามและร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
เริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 21 ปี หรือมีเพศสัมพันธ์แล้วอย่างน้อย 3 ปี
สามารถหยุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ เมื่ออายุ 65-70 ปี โดยที่ผลการตรวจ
คัดกรองปกติ 3 ครั้ง ใน 10 ปี ก่อนหยุดตรวจ ผู้หญิงที่ผ่าตัดเอามดลูกออกแล้ว ร่วมกับมีผลการตรวจก่อนหน้าปกติ
ผู้หญิงที่เคยตรวจพบความผิดปกติแล้ว ควรตรวจสม่ำเสมอตามแพทย์นัด
ผู้ที่ได้รับ HPV vaccine แล้วยังคงต้องตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับ ผู้ที่ไม่ได้รับ vaccine
การตรวจภายในนั้น ควรตรวจทุก 1 ปี ส่วนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้น อาจตรวจได้ทุก 3 ปี
ผู้หญิงอายุ 21 ปีขึ้นไป แม้ไม่มีอาการผิดปกติ แนะนำให้ตรวจภายในเป็นการตรวจร่างกายประจำปี คัดกรองมะเร็งปากมดลูก และคัดกรองการติดเชื้อโรค ตั้งแต่เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ และสำหรับผู้หญิงทุกวัย หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีแผล แสบคันอวัยวะสืบพันธ์ุภายนอก มีตกขาวผิดปกติ มีเลือดออกผิดปกติ ควรได้รับการตรวจภายในทันทีโดยไม่ต้องรอให้ครบระยะการตรวจ
สรุปว่า ไม่ว่าจะสาวโสด ไม่โสด หรือไม่เคยโดนสอดใส่ + - อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ควรตรวจภายในทุกปี แม้สาวโสดจะเสี่ยงน้อยต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก แต่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคภายใน เช่น เสี่ยงต่อการเกิดช่องคลอดอักเสบ เชื้อราในช่องคลอด เนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่ ช็อกโกแลตซีสต์ มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งรังไข่ เป็นต้น
มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) หมายถึง ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณมดลูก ช่องคลอด และช่องปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกมักเกิดในหญิงอายุประมาณ 50 ปี อีกทั้งผู้ป่วยจำนวนมากจะเป็นผู้หญิงที่แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งครรภ์เร็ว คลอดบุตรหลายครั้ง และผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HPV แต่ช่วงไม่กี่ปีมานี้ โรคมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มที่จะเกิดกับหญิงที่อายุยังน้อยอีกด้วย
มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย โดยส่วนใหญ่มักมีประวัติการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย (น้อยกว่า 17 ปี) มีคู่นอนหลายคน ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ดังนั้น การตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดการลุกลามของมะเร็งที่ปากมดลูกได้ เพราะเซลล์ปากมดลูกสามารถกลายไปเป็นเซลล์มะเร็ง โดยที่คุณไม่ทราบหรือไม่มีอาการเจ็บป่วยแต่อย่างใด
หากไม่รับการตรวจและทำการรักษาแต่เนิ่นๆ เซลล์นั้นก็จะกลายไปเป็นเซลล์มะเร็งที่รุนแรงและลุกลามไปที่อื่น ทำให้ยากต่อการรักษามากขึ้น
ข้อดีของการตรวจตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ คือ ลดปัญหาสิ่งบดบังเซลล์ ทำให้เห็นตัวอย่างเซลล์ชัดเจนขึ้น ลดอัตราการเกิดผลลบลวงได้ และสามารถนำตัวอย่างเซลล์ไปตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ได้ ไม่ต้องเก็บตัวอย่างซ้ำ
มีอายุมากกว่า 35 ปี มากกว่า 21 ปี ก็ pap ตาม ASCCP 2013 (แต่ 35 ปี ความเสี่ยงก็เยอะกว่า)
มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกตอนที่อายุน้อยมากหรือหลังจากที่มีประจำเดือนได้ไม่นาน
เคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคนหลายคน หรือมีคู่รักที่มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นนอกเหนือจากเรา
เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน
เป็นผู้ที่มีเชื้อ เอช ไอ วี
สูบบุหรี่หรือเคี้ยวยาเส้นเป็นประจำ
เคยไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) แล้วพบว่ามีความผิดปกติเล็กน้อย กรณีนี้ควรไปตรวจซ้ำทุกปีหรือสองปี เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อเยื่อผิดปกตินั้นหยุดการเจริญเติบโตอย่างแน่นอน
ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอด ก่อนไปพบแพทย์ควรทำความสะอาดช่องคลอดให้สะอาด โดยการล้างด้วยสบู่ธรรมดาที่อ่อนโยนต่อผิวบริเวณนั้น และล้างเฉพาะภายนอกเท่านั้น ไม่ต้องสวนล้างเข้าไปภายใน และเช็ดให้แห้งก็เพียงพอแล้ว
ไม่ควรตรวจหากกำลังมีประจำเดือน ควรไปตรวจหลังหมดประจำเดือนแล้วอย่างน้อย ประมาณ 7 วัน แพทย์จะไม่ตรวจภายในช่วงที่มีประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่มดลูกอาจเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด อย่างน้อย 2 วันก่อนตรวจ (ซึ่งตามปกติผู้หญิงก็ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดอยู่แล้ว) เนื่องจากจะทำให้ส่วนที่เป็นสาเหตุของโรคหลุดออกไปได้ อาจวินิจฉัยไม่ได้หรือตรวจไม่พบ
ควรงดมีเพศสัมพันธ์ก่อนตรวจ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนตรวจ อย่างน้อย 2 วัน เพื่อให้การตรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และผลการวินิจฉัยไม่คลาดเคลื่อน
ไม่จำเป็นต้องโกนขน และหายกังวลเรื่องนี้ไปได้เลย เนื่องจากโรคบางอย่างต้องตรวจสอบและวินิจฉัยจากการดูลักษณะขนบริเวณอวัยวะเพศด้วย หากโกนขนออกไปอาจทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคยากขึ้น
สวมใส่ชุดสบายๆ ถอดสะดวก การตรวจภายในจะต้องมีการถอดกางเกง ดังนั้นคุณผู้หญิงควรสวมใส่กางเกงที่หลวมๆ สบายๆ หรือจะเป็นกระโปรงก็ได้ งดใส่กางเกงยีนส์เพราะเป็นปัญหามากเวลาถอดและสวมใส่
ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก่อนตรวจภายใน ควรงดใส่ผ้าอนามัยชนิดสอด, โฟมคุมกำเนิด, เจลลี่ หรือ ครีมหรือยาที่ใช้ทางช่องคลอดอื่นๆ อย่างน้อย 2 วัน ก่อนมาตรวจ เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีประสิทธิภาพไม่คลาดเคลื่อน
เตรียมตอบคำถามแพทย์ ก่อนการตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแต่ละครั้ง ข้อมูลที่แจ้งแพทย์จะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการวินิจฉัยโรค ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะอายแพทย์นะคะ ให้ตอบคำถามตามความเป็นจริงได้เลยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณเองค่ะ
คำถามที่สูตินรีแพทย์มักจะถามก็ได้แก่ มีแฟนไหม เคยมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาเมื่อไร แล้วมาตามปกติหรือผิดปกติไหม ถามเรื่องการคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ การคลอดลูก รวมไปถึงการแท้งลูกด้วยวิธีเตรียมตัวก่อนตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นการเตรียมทั้งร่างกายและจิตใจ จะได้ไม่ต้องกังวลและช่วยลดอาการเขินอายเมื่อเข้าตรวจ เพราะหากเราเตรียมตัวและมีข้อมูลส่วนตัวพร้อม ก็จะทำให้ผลการตรวจออกมามีประสิทธิภาพ ได้ทราบเรื่องสุขภาพด้านนรีเวชของตัวเองแบบไม่คลาดเคลื่อน ด้วยค่ะ
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม คลินิกตรวจภายในมีบริการตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่มีทีมแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญ คอยให้บริการด้านสุขภาพสำหรับสุภาพสตรี ทำการวินิจฉัยและตรวจรักษาด้วยความรวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย สอบถามข้อมูลได้จากที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ หรือค้นหาจาก "คลินิกตรวจภายในใกล้ฉัน" ปัญหาภายในเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม การตรวจภายในไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ควรละทิ้งความอาย แล้วเข้ารับการตรวจเพื่อจะได้รักษาให้ถูกต้อง ถูกโรคมากที่สุด
เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 29/09/2023