ชนิดของบาดแผลมีกี่ชนิด? เป็นแผลอย่าปล่อยไว้! แผลแบบไหนบ้างต้องไปหาหมอ

ชนิดของบาดแผลมีกี่ชนิด? เป็นแผลอย่าปล่อยไว้! แผลแบบไหนต้องไปหาหมอ

ชนิดของบาดแผลมีมากมายหลายแบบ ลักษณะที่แตกต่างกัน การทำแผล เย็บแผล หรือแม้แต่การพิจารณาวิธีการรักษาก็แตกต่างกันออกไป บาดแผลบางชนิดไม่จำเป็นต้องทำอะไรมาก แต่บาดแผลบางชนิดก็ต้องได้รับการดูแลและรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์เท่านั้น จึงจะส่งผลให้แผลหายได้ และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา 

ในบทความนี้อินทัชเมดิแคร์จะพามาเจาะลึกกับบาดแผลแต่ละชนิดว่าจะมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง และบาดแผลแบบไหนที่ต้องไปพบแพทย์ไม่ควรละเลยและปล่อยทิ้งไว้ค่ะ

หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ชนิดของบาดแผล


ชนิดของบาดแผลสกปรกที่บริเวณมือ

บาดแผล หมายถึงอะไร

ก่อนอื่นต้องพาทุกคนมารู้ก่อนว่า บาดแผล (wounds) หมายถึง การบาดเจ็บทุกชนิดที่ก่อให้เกิดการแตกสลายของผิวหนัง หรือเยื่อบุส่วนอื่น ๆ ของร่างกายรวมทั้งการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นแก่เนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนล่างลงไปจากผิวหนัง หรือ เยื่อบุเหล่านี้ผลของบาดแผลที่ควรสนใจเป็นพิเศษคือ เลือดออกและติดเชื้อ


รับบริการทำแผล เย็บแผล

ชนิดของบาดแผลที่แบ่งตามความสะอาดของบาดแผล

ชนิดของบาดแผลสะอาด ที่ได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว

1. แผลสะอาด (clean wound)

แผลสะอาด คือ แผลที่ไม่มีการปนเปื้อน หรือเป็นแผลที่เคยปนเปื้อนเชื้อแต่ได้รับการดูแลจนบาดแผลสะอาดไม่มีการติดเชื้อแล้ว เช่น แผลจากการลงมีดผ่าตัด มีโอกาสติดเชื้อต่ำมาก ประมาณร้อยละ 1 ถึง 2 แผลเจาะหลัง แผลให้น้ำเกลือ ส่วนมากเป็นแผลปิด ยกเว้นแผลผ่าตัดในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ

ชนิดของแผลที่สามารถเกิดการปนเปื้อนได้

2. แผลสะอาดแต่มีการปนเปื้อน (clean-contaminated wound)

แผลสะอาดแต่มีการปนเปื้อน หมายถึง แผลสะอาดจากการผ่าตัด แต่มีการใส่วัสดุทางการแพทย์ที่เป็นสิ่ง แปลกปลอมเข้าร่างกาย เช่น โลหะดามกระดูกวาล์วหัวใจ มีโอกาสติดเชื้อร้อยละ 6 ถึง 9

ชนิดของบาดแผลปนเปื้อน ที่ได้มาาจากการโดนน้ำร้อนลวก

3. แผลปนเปื้อน (contaminated wound)

แผลปนเปื้อน เกิดจากการบาดเจ็บมีรอยปริแตกของชั้นผิวหนัง มีการปนเปื้อน ถือว่าเป็นแผลที่ไม่สะอาด เช่น แผลถลอก แผลไฟไหม้ แผลน้ำร้อนลวก แผลถูกรังสี แผลถูกกรด - ด่าง ไฟฟ้าช็อต หรือแผลผ่าตัดที่มี การปนเปื้อนชื้อในระหว่างการผ่าตัด แผลชนิดนี้จะมีอาการการอักเสบ คือ ปวด บวม แดง ร้อน มีโอกาสติดเชื้อร้อยละ 13 ถึง 20

ชนิดของบาดแผลที่ติดเชื้อ หรือแผลสกปรก

4. แผลติดเชื้อหรือแผลสกปรก (infected wound/ dirty wound)

ชนิดของบาดแผลชนิดนี้จัดเป็นแผลที่มีการปนเปื้อนสูงจนเกิดการติดเชื้อ โดยลักษณะของแผลชิดนี้มักจะเป็นแผลที่มีหนอง มีเศษดินหรือเศษทรายในแผล รวมทั้งแผลที่ตกน้ำสกปรก มีโอกาสติดเชื้อสูงปริมาณร้อยละ 40

  แผลแต่ละชนิดที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่ได้รับการรักษาใดๆ เกิน 6 ชั่วโมง มีโอกาสที่จะติดเชื้อสูงมาก โดยเฉพาะแผลลึก หรือแผลกว้าง ที่มีการทำลายเนื้อเยื่อมีการปนเปื้อนสูง  


ชนิดของบาดแผลที่แบ่งตามลักษณะการทำลายของผิวหนัง

1. แผลปิด (closed wound)

คือ บาดแผลที่ผิวหนังหรือเยื่อบุไม่ฉีกขาดออกจากกัน แต่เนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ผิวหนังได้รับบาดเจ็บ มักเกิดจากของไม่มีคม

ชนิดของแผลที่มีการฟกช้ำ

แผลฟกช้ำจากการกระแทก (Contusion) มีรอยช้ำ จ้ำเลือดรอบแผล เส้นเลือดแตก เลือดออกแทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อ อาจรวมเป็นก้อนเลือด

บาดแผลกระทบกระเทือนที่อันตรายต่อระบบประสาท

แผลกระทบกระเทือน (concussion) กระทบกระเทือนของระบบประสาท

ชนิดของบาดแผลแตกหรือฉีดขาด

แผลแตก (rupture) เป็นการแตก ฉีกขาดของอวัยวะภายในร่างกาย

ชนิดของบาดแผลที่ได้รับมาจากการผ่าตัด

แผลผ่าตัด (surgical incision) ขอบแผลเรียบ กล้ามเนื้อและผิวหนังถูกเย็บปิด


รับบริการทำแผล เย็บแผล

 


2. แผลเปิด (opened wound)

คือ แผลที่มีการฉีกขาด หรือเกิดการทำลายผิวหนังให้แยกออกจากกัน ซึ่งอาจต้องมีเย็บแผลในบางกรณี โดยสามารถจำแนกชนิดของบาดแผลเปิดได้ดังนี้

ชนิดของบาดแผลเปิด
  • แผลถูกแทงจากของมีคม (Penetracting Wound) บาดแผลอาจเรียบคมหรือหยักเป็นรอยได้ เช่น มีดปลายแหลม เหล็กขูดปลายกลวงมีการปนเปื้อนขึ้นกับโลหะมีคม 

  • แผลกระรุ่งกระริ่ง (Lacerated Wound) มีการเสียเนื้อเยื่อรอบๆและมีการปนเปื้อนร่วมด้วย ขึ้นกับสิ่งแวดล้อม

  • แผลถลอก (Abrasion) มีเนื้อเยื่อชั้นตื้นของผิวหนังหลุดหายไปด้วยบางส่วน เช่น ถูกขีดข่วน ลื่นล้มบนพื้นขรุขระทำให้ผิวหนังถลอก มีเลือดออกเล็กน้อย

  • แผลถูกทับอย่างรุนแรง (Crush) แผลจากแรงอัดทับทำให้ผิวหนังเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อช้ำ เซลล์ตาย แขนขาที่ถูกอัดทับบวมผิดรูป

  • แผลสงครามจากถูกยิง ถูกระเบิด เป็นบาดแผลที่รุนแรง มีการเสียเลือด เสียเนื้อเยื่อ โอกาสติดเชื้อและตัดแชนขาสูง

  • อัลเซอร์ (Ulcer) หมายถึง การสูญเสียผิวหนังและเนื้อเยื่อ ที่อยู่ใต้ผิวหนัง อาจเกิดจากการบาดเจ็บ การติดเชื้ออัลเซอร์เรื้อรัง (Chronic Ulcer) เป็นแผลที่ไม่หาย

บาดแผลแบบไหนที่ต้องไปพบแพทย์

ไม่ว่าจะเป็นชนิดของบาดแผลรูปแบบไหน จะแผลเล็กหรือใหญ่ เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้นที่ผิวหนังก็ควรไปพบแพทย์ แม้ว่าบางครั้งจะเป็นแค่แผลถลอกธรรมดา แต่หากไม่ได้รับการดูแลและรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้เกิดการอักเสบ เป็นหนอง แผลไม่หายหรือลุกลามใหญ่โตมากขึ้น และเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งบางกรณีแพทย์จะมีการพิจารณาให้รับการเย็บแผลเพื่อให้แผลสมานไวขึ้น และช่วยลดโอกาสที่แผลจะติดเชื้อ

นอกจากการรักษาแผลให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้ว ผู้ป่วยที่มีบาดแผลทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยัก โดยแพทย์จะดูประวัติการเคยรับวัคซีนร่วมด้วยตามวินิจฉัยของแพทย์


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
 แก้ไขล่าสุด : 28/11/2023

free hit counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้