ข้อควรรู้! ใครบ้างควรได้รับยา PEP

ใครบ้างควรได้รับยา PEP

ในบทความนี้จะพามาดูว่าใครบ้างควรได้รับยา pep หรือยาต้านไวรัสฉุกเฉิน ซึ่งได้แก่ ผู้ที่ไม่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี HIV ผู้ที่ไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อหรือไม่ รวมถึงผู้ที่ได้รับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี HIV ดังนี้

มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็น HIV หรือไม่ทราบว่าเป็น HIV

การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็น hiv หรือกรณีที่ไม่ทราบว่าอีกฝ่ายเป็น hiv หรือไม่ มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักและทางช่องคลอด ทั้งเป็นฝ่ายรับและฝ่ายรุก โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยหรือถุงยางอนามัยแตก ถุงยางหลุด ถือว่ามีความเสี่ยงสูง จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดและรับยา pep


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ : 
ยาเป๊ป ต้านเอดส์ฉุกเฉิน ป้องกัน HIV


ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้อื่น

เป็นความเสี่ยงที่มักพบในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด โดยการใช้เข็มฉีดยาอันเดิมที่ไม่ได้มีการทำความสะอาดที่ถูกวิธีและไม่ได้เตรียมเข็มใหม่ไว้ก่อน ขี้เกียจหาเข็มมาเพิ่ม จึงเกิดการใช้อุปกรณ์การฉีดยาร่วมกันโดยคิดว่าเป็นเรื่องปกติ คนกลุ่มนี้ควรต้องได้รับยา pep


สัมผัสสารคัดหลั่งที่ทำให้ติดเชื้อได้

สัมผัสสารคัดหลั่งที่ทำให้ติดเชื้อได้

การสัมผัสสารคัดหลังต่างๆ ผ่านทางผิวหนังรวมทั้งสัมผัสเลือดที่มีโอกาสถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีสูง เช่น ถูกเข็มต่ำ, ผ่านทางเยื่อบุ เช่น กระเซ็นเข้าตา ปาก หรือผ่านผิวหนังที่ไม่ปกติ เช่น มีบาดแผล รอยแตก มีผื่น เป็นต้น 


มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย

ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเลย โดยเฉพาะทางทวารหนัก แม้จะเป็นฝ่ายรับหรือฝ่ายรุก กรณีไม่ป้องกันดังที่กล่าวมานี้จัดว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเอชไอวีค่ะ


ถูกล่วงละเมิดทางเพศ

ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกข่มขืนทั้งทางทวารหนักและทางช่องคลอดถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเอชไอวี

ความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีโดยประมาณตามลักษณะของการสัมผัส

ลักษณะการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
/ความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี
ต่อ 10,000 ครั้งต่อการสัมผัส
ทางทวารหนักโดยเป็นฝ่ายรับ / 138 ครั้ง
ทางทวารหนักโดยเป็นฝ่ายรุก / 11 ครั้ง
ทางช่องคลอดโดยเป็นฝ่ายรับ / 8 ครั้ง
ทางช่องคลอดโดยเป็นฝ่ายรุก / 4 ครั้ง
ทางปากโดยเป็นฝ่ายรับหรือรุก / ต่ำมาก

เอกสารอ้างอิง : แนวปฏิบัติในการให้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในเด็กและวัยรุ่นที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


บุคลากรทางการแพทย์

บุคลากรทางการแพทย์

แพทย์ พยาบาล หรือผู้ที่ทำงานด้านการแพทย์ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยตรง ถือว่ามีความเสี่ยงสูง

  1. สัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง บริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลอักเสบ จำนวนมาก ระยะเวลานาน หรือถูกเข็มตันที่สัมผัสเลือดสารคัดหลั่งแทงทะลุผิวหนัง และผู้ป่วยมีเลือดบวกและติดเชื้อเอดส์ระยะรุนแรง 

  2. ถูกของมีคม เช่น เข็มกลวงที่สัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งแทงทะลุผิวหนังลึกเข็มที่ใช้แทงเส้นเลือดแดงหรือเส้นเลือดดำผู้ป่วยมาก่อน และผู้ป่วยมีเลือดบวกหรือติดเชื้อเอดส์ทุกระยะ


    อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับระยะของเอดส์ : อาการติดเชื้อ HIV 3 ระยะ อาการเริ่มต้นจนถึงระยะสุดท้าย

มีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือออรัลเซ็กส์

การมีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือเรียกว่าการทำออรัลเซ็กส์ (Oral Sex) ทั้งคู่รักชายชาย คู่รักผู้หญิงกับผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปากกับอวัยวะเพศชายหรืออวัยวะเพศหญิงที่มีบาดแผล มีหนองหรือมีเลือดไหล โดยที่ไม่ได้มีการป้องกัน ซึ่งการให้ยาเป็บก็จะพิจารณาเป็นกรณีไปว่ามีองค์ประกอบอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงหรือไม่


ถุงยางแตก ถุงยางรั่ว

ถุงยางแตก ถุงยางรั่ว

ใช้ถุงยางอนามัยแล้วถุงยางแตก หลุด รั่ว ฉีกขาด ขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นถุงยางของผู้ชาย ถุงยางสำหรับผู้หญิง ถุงยางนิ้วที่นิยมมากในคู่รักหญิงหญิง ถุงยางลิ้น 

กรณีควรรีบไปพบแพทย์ภายใน 72 ชั่วโมง หรือหากมาเร็วก็จะยิ่งดี ไม่ต้องลังเล เพราะการได้รับ pep เร็วก็จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันสูง


มีคู่นอนหลายคน

เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ มีความสัมพันธ์แบบ one night stand หรือการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ โดยไม่มีการป้องกัน และได้รับสารคัดหลั่งจากผู้ที่สงสัยว่ามีเชื้อ HIV


ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน

การใช้อุปกรณ์เซ็กส์ทอยร่วมกัน ก็คือมีการนำเซ็กส์ทอยสอดใส่อวัยวะเพศของอีกฝ่าย แล้วนำมาสอดใส่อวัยวะเพศของตนเองโดยที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนถุงยางอนามัย


รับยา PEP ยาต้านเอดส์ฉุกเฉิน


"หากไม่มั่นใจว่าการสัมผัสนั้น
ทำให้ติดเชื้อได้หรือไม่
สามารถปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด"

ถ้าคุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี HIV ควรติดต่อตรวจ HIV และรับยา PEP ยาต้านเอดส์ฉุกเฉิน ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้ฉัน

และกินยาภายใน 72 ชั่วโมงหลังสัมผัสเชื้อ เพื่อให้ยาเป๊ปมีประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด

พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์


บทความที่น่าสนใจ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

   Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
  แก้ไขล่าสุด : 22/11/2024
  อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com 

website counter code
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้